ไทยคม ไม่รอ กสทช.เปิดประมูลวงโครจร ดิ้นสู้ หารายได้ใหม่

ไทยคม

ไทยคมเปิดกลยุทธ์ปี 64 เร่งโตรอบทิศ หาโซลูชั่น บริการใหม่ๆ เติมรายได้ ไม่รอ กสทช. เปิดประมูลวงจรโคจร

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 นายปฐมภพ สุวรรณศิริ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยคม จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ทิศทางธุรกิจปี2564 แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การสร้างการเติบโตให้แก่ธุรกิจเดิม ซึ่งเป็นธุรกิจหลัก โดยมุ่งเน้นการสร้างดาวเทียมดวงใหม่ ด้วยการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ดาวเทียมไทยคม 4 ที่จะหมดอายุสัมปทานลงเดือนกันยายนนี้ ซึ่ง บริษัทอยู่ระหว่างรอดูสถานการณ์อยู่ว่า รัฐบาลจะตัดสินใจให้หน่วยงานไหนเป็นผู้บริหารจัดการไทยคม 4ต่อ โดยหลังหมดสัมปทานบริษัทก็เตรียมเข้าไปร่วมกับหน่วยงานที่ดูแลดาวเทียมไทยคม 4 เพื่อเข้าดูแลดาวเทียมไทยคม 4 ต่อ ซึ่งก็จะเป็นตามขั้นตอนของหน่วยงานราชการ

“การประมูลวงโครจรใหม่ อยู่ระหว่างรอสัญญาณจากทาง กสทช. ซึ่งไทยคมจะเข้าร่วมประมูล โดยจะร่วมกับพาร์ทเนอร์ แต่จะไม่ทำประมูลคนเดียว เพื่อลดความเสี่ยง เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว ซึ่งแนวทางนี้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น”

ในส่วนของกระแสธุรกิจดาวเทียมวงโคจรต่ำ (LEO) ซึ่งปัจจุบันมีโครงการระดับโลก 3-4 โครงการ แต่ที่เป็นกระแส คือ โครงการ สตาร์ลิงค์ (Starlink) ของสเปซเอ็กซ์ ซึ่งขณะนี้ สตาร์ลิงค์ ได้ยิงดาวเทียมโคจรต่ำไปแล้ว 40,000 ดวง และเปิดให้บริการเพียง 30 ประเทศทั่วโลก คือ อเมริกาบางส่วน อังกฤษ และเตรียมจะเปิดตัวบริการใน แม็กซิโก เร็วๆนี้

“สตาร์ลิงค์ มองโอกาสจากตลาดทั่วโลก ให้บริการในลักษณะโกลบอลเซอร์วิส วางราคาเดียวเหมือนกันทั่วโลก อยู่ที่ 99 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อเดือน เจาะกลุ่มผู้บริโภค ขณะที่ไทยคมเจาะกลุ่มลูกค้าองค์กร หน่วยงานราชการ ซึ่งอยู่คนละตลาดกัน

Advertisment

อย่างไรก็ตามไทยคมกับ สตาร์ลิงค์ก็รู้จักกัน เพราะวงการดาวเทียมไม่ได้ใหญ่ ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่ได้มีการเจรจากับทางสตาร์ลิงค์เชิงธุรกิจ ซึ่งไทยคมเปิดกว้างที่จะเป็นพาร์ทเนอร์กับผู้ให้บริการดาวเทียมวงโครจรต่ำทุกราย เพราะเชื่อมั่นในศักยภาพที่มีในตลาดภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้”

นายปฐมภพ ย้ำว่า นโยบายการตลาดปัจจุบัน ของ สตาร์ลิงค์ ต่างจากไทยคม โดยจะโฟกัสการให้บริการอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มี 4G ไฟเบอร์ เจาะกลุ่มผู้บริโภคเป็นหลักและให้บริการทั่วโลก โดยเชื่อว่า บริการนี้ถือเป็นทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและต้องการใช้อินเทอร์เน็ต แต่ไม่ได้เข้ามาแทนที่หรือทดแทนดาวเทียมวงโคจรประจำที่ (Geostationary Earth Orbit) แต่มองว่าเป็นส่วนผสมของทั้งสองส่วนที่จะเข้ามาเสริมซึ่งกันและกัน

ส่วนที่ 2 คือ การสร้างโซลูชั่นใหม่ๆให้แก่ลูกค้า โดยที่ผ่านได้ร่วมกับ เปิดให้แพลตฟอร์มเปิดตัว Nava เน็ตบรอดแบนด์ทางทะเล ปัจจุบันให้บริการอยู่ 97 ลำครอบคลุมหลายน่านน้ำ เช่น ฮ่องกง สิงค์โปร์ จีน ญี่ปุ่น เป็นต้น และได้ร่วมกับ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมอากาศยานไร้คนขับหรือโดรนเพื่อใช้ในงานเกษตรกรรม

โดยเน้นจุดเด่นในการออกแบบโดรนให้มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่เหมาะสม ใช้งานง่าย และมีระดับราคาที่เกษตรกรและผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ มุ่งเสริมประสิทธิภาพให้แก่ภาคเกษตรกรรมของไทย เป็นต้น

Advertisment

“สิ่งที่บริษัททำได้ คือ การพยายามรักษาการเติบโตของรายได้ในช่วงที่มีการเปลี่ยนถ่ายจากระบบสัมปทาน ซึ่งๆหลักๆก็ต้องรอความชัดเจนจากทาง กสทช. ว่าจะเปิดประมูลเมื่อไร ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างรายได้จากบริการใหม่ๆด้วย”