เกาหลีแห่ลงทุนหนุนไทยฮับโปรดักชั่นเฮาส์

ธุรกิจโปรดักชั่นเฮาส์เนื้อหอม ต่างประเทศทยอยตบเท้าร่วมทุน 2 ยักษ์จากเกาหลี ฮานโฮ-นามู แอนิเมชั่นŽ โยกฐานจากเมืองจีนบินมาซบเมืองไทย ปั้นไทยเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งคอนเทนต์ขายทั่วอาเซียน

เพิ่มดีกรีความเข้มข้นขึ้น สำหรับการรุกคืบอีกสเต็ปของนักลงทุนเกาหลี หลังจากศิลปินเกาหลีบินมาจัดคอนเสิร์ตในไทยหนาตา ล่าสุด ผู้ผลิตคอนเทนต์จากเกาหลีหลายรายเตรียมย้ายฐานการผลิตคอนเทนต์จากจีนมาไทย หนีต้นทุนการผลิตในจีนสูงขึ้น รวมกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างจีนกับเกาหลี

นายลักษณ์ เตชะวันชัย รองประธานสมาพันธ์สมาคมดิจิทัลคอนเทนต์บันเทิงไทย และรองประธานสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย เปิดเผย ประชาชาติธุรกิจŽ ว่า ขณะนี้ธุรกิจโปรดักชั่นเฮาส์และผู้ผลิต

คอนเทนต์จากเกาหลีหลายรายที่มีฐานการผลิตอยู่ในเมืองจีนมีแผนโยกฐานการผลิตงานด้านภาพยนตร์และแอนิเมชั่นเข้ามาในไทย ล่าสุด 2 รายใหญ่ คือ บริษัทฮานโฮ (HANHO) และบริษัทนามู แอนิเมชั่น (NAMU Animation) เตรียมเข้ามาลงทุนในเบื้องต้นทั้ง 2 ค่ายจะร่วมทุนกับบริษัทหรือพันธมิตรในไทยเป็นโปรเจ็กต์ ๆ ไป และระยะถัดไปอาจขยายสู่การตั้งบริษัทร่วมทุนกับผู้ผลิตไทย

โดยฮานโฮ บริษัทแอนิเมชั่นสัญชาติเกาหลี อายุกว่า 30 ปี มีผลงานแอนิเมชั่นจำนวนมากที่ผลิตให้ช่องเคบีเอส (เกาหลี) รวมถึงรายการและซีรีส์ต่างประเทศจำนวนมาก ขณะที่นามู แอนิเมชั่น

บริษัท แอนิเมชั่นที่เป็นการร่วมทุนระหว่างเกาหลีและญี่ปุ่น ก่อตั้งปี 2556 และขยายสาขาไปญี่ปุ่นปี 2557 และมีผลงานจำนวนมากที่ผลิตให้ช่องเคบีเอส ฯลฯ

นายลักษณ์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ก็มีกลุ่มทุนเกาหลีเข้ามาจับมือกับคนไทย ตั้งบริษัท เอเซียน สตอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อนำคอนเทนต์เกาหลี เค เวฟŽ มาออกอากาศในช่องทีวีดาวเทียม และมีโครงการผลิตคอนเทนต์ในไทย และส่งไปจำหน่ายในประเทศอาเซียน นอกจากนี้ยังมีการร่วมทุนของนักธุรกิจจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี อีกกลุ่มที่มีแผนผลิตคอนเทนต์แอนิเมชั่น ทีวีซีรีส์Ž โดยมีการโคโปร ดักชั่นกับผู้ผลิตไทย เพื่อสร้างไทยเป็นศูนย์กลางส่งต่อคอนเทนต์ไปอาเซียน

การลงทุนของกลุ่มทุนจากเกาหลี อีกด้านหนึ่งก็จะเป็นแรงผลักที่ทำให้ธุรกิจโปรดักชั่นเฮาส์ไทยเติบโตมากขึ้น จากเดิมที่เป็นเพียงการจ้างโปรดักชั่นเฮาส์ไทยเป็นผู้ผลิตให้ ซึ่งมีมาจากเกาหลี ญี่ปุ่น รวมทั้งจีน และการร่วมมือดังกล่าว

นอกจากจะได้โนว์ฮาว ทั้งด้านการผลิต การตลาด การจัดจำหน่ายของเกาหลี มาเสริมความแข็งแกร่งแล้ว คนไทยยังจะได้สิทธิในการเป็นเจ้าของผลงานร่วม และจะสามารถต่อยอดและใช้ประโยชน์จากคอนเทนต์ที่ผลิตได้เต็มที่Ž

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) ก็ได้ร่วมทุนกับ ซีเจ อีแอนด์เอ็มŽ ผู้ผลิตภาพยนตร์รายใหญ่จากเกาหลี ตั้งบริษัทซีเจ เมเจอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เพื่อผลิตภาพยนตร์ หวังผลักดันอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยให้เติบโต และส่งออกภาพยนตร์ไทยไปยังตลาดต่างประเทศ

ขณะที่นายเอส อาร์ คิม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเซียน สตอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้บริหารช่องเค-เวฟ (K-Wave) กล่าวว่า มีแผนจะลงทุนด้านธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ โดยเริ่มจากไทยก่อน เพื่อสร้างฐานในการต่อยอดคอนเทนต์ออกไปยังประเทศอื่น ๆ โดยเฟสแรกจะนำคอนเทนต์

จากเกาหลีมาออกอากาศผ่านช่องเค-เวฟ ในแพลตฟอร์ม พีเอสไอ และเจริญเคเบิ้ล เริ่มทดลองออกอากาศไตรมาส 3 ปีนี้ ส่วนเฟสต่อไป จะนำคอนเทนต์เกาหลีทั้งละคร เกมโชว์ ไปออกอากาศในช่องทีวีดิจิทัล ลักษณะไทม์แชริ่ง คาดว่าจะเริ่มได้ปีหน้า และนำคอนเทนต์ไปออกอากาศบนออนไลน์ ส่วนระยะยาว มีแผนจะทำโคโปรดักชั่นดิจิทัลคอนเทนต์ร่วมกับผู้ผลิตไทย เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้

ล่าสุด เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ได้ตั้งบริษัทร่วมทุน ระหว่างอิมเมจิ้น กรุ๊ปของไทยและเกาหลี เพื่อประโยชน์ดิจิทัลคอนเทนต์ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันตลาดโปรดักชั่นเฮาส์ในประเทศเติบโตต่อเนื่อง มีผู้ประกอบการรายใหญ่ อาทิ ฟีโนมีน่า กันตนา และแม็ทชิ่ง สตูดิโอ ที่รับผลิตภาพยนตร์โฆษณาทั้งในและต่างประเทศ, รวมทั้งให้บริการถ่ายทำภาพยนตร์และหนังโฆษณาครบวงจร