“ไม่พูดเยอะ เจ็บคอ” เร้าใจกับแพลตฟอร์ม “ทีเอ็นจีเอ”

รายงานพิเศษ

วันก่อนค่ายโตโยต้าประกาศการใช้ “พิมพ์เขียว” สำหรับการผลิตรถยนต์ทุกรุ่น
ระบุชัดว่า ไม่ว่าจะเป็นรถประเภทไหน เซ็กเมนต์อะไร จะมีแพลตฟอร์ม “ทีเอ็นจีเอ” (Toyota New Global Architecture)เป็นสารตั้งต้น
พร้อมกับย้ำว่า วิศวกรของโตโยต้า ได้พิสูจน์แล้ว “ลงตัว” มากที่สุด

สำหรับแนวคิดที่ท้าทายเพื่อพัฒนายนตรกรรมให้ดียิ่งกว่าของโตโยต้า (ever-better cars) นี้
มุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์ “ยานพาหนะ” แห่งความสมบูรณ์แบบ
โดยเน้นพัฒนาใน 2 ด้านหลัก ได้แก่ ความประณีตของการออกแบบภายนอกเพื่อดีไซน์ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ (emphasized personality)
และความแข็งแกร่งของโครงสร้างภายในที่ทำงานประสานกัน เพื่อการขับขี่ที่เหนือระดับ (core strength)

ดังนั้น สถาปัตยกรรมโครงสร้างยานยนต์ใหม่ “ทีเอ็นจีเอ” จึงถูกพัฒนาและออกแบบให้เป็นโครงสร้างพื้นฐาน
ที่มีความแข็งแรงและมีจุดศูนย์ถ่วงที่ต่ำ ทำให้ตอบสนองต่อการขับขี่ที่ดีเยี่ยม
การควบคุมบังคับรถที่แม่นยำ นุ่มนวลทุกสภาพถนน
รวมถึงทัศนวิสัยการขับขี่ที่ดีกว่า ตลอดจนรูปลักษณ์ที่สวยงาม

และตอนนี้สถาปัตยกรรมโครงสร้างใหม่นี้ได้ถูกนำมาใช้ในโตโยต้า ซี-เอชอาร์เป็นรุ่นแรก
และพร้อมจะนำมาใช้กับรถยนต์โตโยต้ารุ่นต่อ ๆ ไปในอนาคต อย่างนิวคัมรี่ที่จะมาถึงปลายเดือนตุลาคมนี้ ก็เป็น “ทีเอ็นจีเอ

และเพื่อความกระจ่างของความสุดยอดแพลตฟอร์ม “ทีเอ็นจีเอ”
ทีมงานโตโยต้าได้จำลองพื้นที่และสนามทดสอบ “โตโยต้า ไดรฟ์วิ่ง เอ็กซ์พีเรียนซ์” ที่บางนา
พิสูจน์ความโดดเด่นในทุก ๆ ด้านผ่านโตโยต้า ซี-เอชอาร์

จุดเด่นของแพลตฟอร์มทีเอ็นจีเอประกอบด้วย

Ž1.body rigidity-เพิ่มความมั่นคงของรถจากโครงสร้างเหล็กที่แข็งแกร่ง พร้อมเพิ่มจำนวนจุดเชื่อมตัวถัง (spot welding) ช่วยรองรับแรงบิดที่มีต่อตัวถัง เพิ่มประสิทธิภาพในการทรงตัวและเกาะถนนมากยิ่งขึ้น
Ž2.low center of gravity-จุดศูนย์ถ่วงต่ำลง ลดการโคลงตัวของรถ ช่วยเรื่องการทรงตัวและการเข้าโค้งดีขึ้น
Ž3.double wishbone suspension ช่วงล่างด้านหลังแบบอิสระปีกนกคู่ เพิ่มความนุ่มนวลในการขับขี่ แต่ยังคงไว้ซึ่งการเกาะถนนที่ดีเยี่ยม
Ž4.good handling พวงมาลัยมีการปรับอัตราทด และ ECU ใหม่ ทำให้การตอบสนองแม่นยำมากขึ้น เพื่อให้การควบคุมรถง่ายเป็นไปอย่างมั่นใจ


Ž
ผลลัพธ์ที่ออกมาจึงเป็นที่น่าพึงพอใจทุกฝ่าย เริ่มจาก
stability-จากโครงสร้างตัวถังที่มีความแข็งแรง ทำให้การควบคุมจากพวงมาลัยมีความแม่นยำ
เกาะถนนได้ดีเยี่ยม เข้าโค้งได้อย่างมั่นใจ นอกจากนี้ ด้วยช่วงล่างอิสระแบบ double wishbone
ยังช่วยเพิ่มความนุ่มนวลในการขับขี่

agility-ความคล่องตัวในทุกจังหวะการขับขี่ และการควบคุมได้ดั่งใจ
เกิดจากการที่ตัวรถถูกออกแบบให้มีจุดศูนย์ถ่วงต่ำ
ส่งผลให้การขับขี่ที่สนุกมากขึ้น และสามารถขับลัดเลาะไปตามซอกซอยได้อย่างคล่องตัว
Ž
visibility-จากการออกแบบให้ผู้ขับขี่เป็นศูนย์กลางของรถ
พร้อมเพิ่มทัศนวิสัย และการลดจุดอับสายตาภายในห้องโดยสาร
ด้วยการปรับกระจกด้านหน้าคนขับให้กว้างขึ้น และลดขนาดเสาเอ (A Pillar)
ทั้ง 2 ด้านให้แคบลง ส่งผลให้ผู้ขับขี่สามารถมองวัตถุในมุมอับได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
Ž
comfort-โครงสร้างรูปแบบใหม่ และช่วงล่างที่อิสระ
สามารถลดแรงกระแทกจากพื้นถนนสู่ผู้โดยสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ให้ความนุ่มนวลทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ไม่เมื่อยล้าในการขับขี่ เพลิดเพลินในทุกการเดินทาง

ยิ่งได้ผสานกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้แก่ ระบบไฮบริดเจเนอเรชั่นที่ 4 มาตรฐานความปลอดภัยใหม่ระดับโลกของรถโตโยต้า (Toyota Safety Sense หรือ TSS)
และระบบที่เชื่อมต่อรถและผู้ใช้รถให้เป็นหนึ่งเดียว (Toyota T-connect telematics)
ยิ่งทำให้ซี-เอชอาร์โดดเด่นมากยิ่งขึ้น

สำหรับผลการทดสอบจริงจากสนาม
จุดทดสอบที่ 1 การทดสอบประสิทธิภาพการเลี้ยวในที่แคบ (วงเลี้ยวแคบสุดที่ 5.2 เมตร)
และทัศนวิสัยของผู้ขับขี่ (visibility) ในจุดอับสายตา
บริเวณมุมด้านหน้าฝากระโปรงและกระจกมองข้างกับเสาเอ (A pillar)
ทำให้สามารถเห็นอุปสรรคด้านหน้าและด้านข้างได้อย่างชัดเจน

จุดทดสอบที่ 2 การทดสอบความคล่องตัว (agility)
ผ่านการขับแบบสลาลอม (slalom) และการหักหลบฉุกเฉิน
การตอบสนองของพวงมาลัย ร่วมกับโครงสร้างตัวถังที่แข็งแรง ผสานกับช่วงล่างอิสระแบบ double wishbone
ช่วยให้เข้าโค้งได้อย่างมั่นใจ เกาะถนน และทรงตัวได้อย่างดีเยี่ยม

จุดทดสอบที่ 3 การทดสอบความมั่นคง (stability) ด้วยการขับในรูปแบบโค้งกว้าง ด้วยจุดศูนย์ถ่วง (center of gravity) ที่ต่ำลง
ซึ่งมาจากการออกแบบชิ้นส่วนให้ต่ำลง เช่น เครื่องยนต์ และเกียร์ ส่งผลให้ตัวรถนิ่ง มีเสถียรภาพ ไม่เหวี่ยง หรือโคลง
แม้เข้าโค้งในความเร็วสูง ทำให้ผู้ขับขี่มีความมั่นใจอย่างเต็มที่

จุดทดสอบที่ 4 การทดสอบความนุ่มนวลในการขับขี่ (comfort) ผ่านการจำลองสถานการณ์ในการขับขี่ เช่น
คอสะพานที่มีความชัน ผิวทางขรุขระ และลูกระนาด ด้วยการออกแบบช่วงล่างอิสระแบบ double wishbone
จึงทำเพิ่มความนุ่มนวลและดูดซับแรงกระแทกจากพื้นถนนกับผู้ขับขี่ได้อย่างดีเยี่ยม

และทั้งหมดนี้คือบทสรุปของแพลตฟอร์ม “ทีเอ็นจีเอ” ที่จะทำให้รถโตโยต้าทุกรุ่นน่าเป็นเจ้าของมากยิ่งขึ้น