ผังเมืองใหม่บังคับ “สายไฟฟ้าลงใต้ดิน” ปั้นกรุงเทพฯ “มหานครแห่งอาเซียน”

การปรับปรุงร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ โดยกรุงเทพมหานคร (กทม.) จะประกาศใช้ปลายปี 2564 นอกจากเขย่าการใช้ประโยชน์ที่ดินแล้ว อีกหนึ่งไฮไลต์มียกร่างแผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภคเป็นครั้งแรกที่มีการกำหนดไว้ในผังเมืองอย่างชัดเจน

บังคับดึงสายไฟลงใต้ดิน

แหล่งข่าวจากสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กทม. เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ผังเมืองรวม กทม.ฉบับใหม่เป็นครั้งแรกที่กำหนดผังโครงการกิจการสาธารณูปโภค หรือ “สภ.7” ไว้ เกี่ยวกับการนำสายไฟฟ้าลงดินเพื่อสร้างระบบไฟฟ้าที่มั่นคง เป็นการบังคับหน่วยงานพัฒนาตามที่ยกร่างไว้ เพื่อให้การพัฒนาเมืองสวยงาม ปลอดภัย

ในรายละเอียดจะกำหนดตามแผนแม่บทการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) จำแนกเป็น “โครงการกิจการสาธารณูปโภคประเภท สภ.7-1” บริเวณหมายเลข สภ.7-1-1 ถึงหมายเลข สภ.7-1-30 ที่กำหนดไว้เป็นเส้นประขีดสีน้ำตาล ให้เป็นโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน

ปรับภูมิทัศน์พื้นที่ใจกลางเมือง

ได้แก่ ถ.รัชดาภิเษก ลาดพร้าว บรรจบกับคลองสามเสน, จากซอยรัชดาภิเษก 18 บรรจบกับ ถ.ประชาราษฎร์บำเพ็ญ 13, ซอยรัชดาภิเษก 7 ถึงซอยเปรมสมบัติ และรัชดาภิเษก 10, ถ.วัฒนธรรม-ถ.พระราม 9, ถ.เทียมร่วมมิตร ถ.ประชาอุทิศ

ถ.ราชวิถี-ถ.พระราม 6, จากซอยเสนารักษ์-ถ.พระราม 6, ถ.พญาไทตัดถ.ศรีอยุธยาถึง ถ.พระราม 6, โครงการรัชดาภิเษก-พระราม 9 จาก ถ.พระราม 9 ตัดกับคลองแยก คลองสามเสน บรรจบซอย 13 ประชาร่วมมิตร, ถ.รัชดาภิเษกตัดคลองสามเสน ถ.อโศก-ดินแดง ถ.อโศกมนตรี กับ ถ.พระราม 4

ถ.ราชปรารภตัด ถ.ศรีอยุธยา ถ.ราชปรารภ ถ.ราชดำริ บรรจบคลองแสนแสบ, ถ.เพชรบุรีฯตัด ถ.บรรทัดทอง ถ.เพชรบุรี กับ ถ.พระราม 6, ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ตัดทางรถไฟ บรรจบซอยสุขุมวิท 63 เอกมัย, ซอยสุขุมวิท 3 บรรจบกับคลองแสนแสบ, ถ.พระราม 1 ตัด ถ.พญาไท ถ.พระราม 1 กับคลองผดุงกรุงเกษม

ซอยสุขุมวิท 15, ซอยสุขุมวิท 31, ซอยสุขุมวิท 33, ซอยสุขุมวิท 18, ซอยสุขุมวิท 20, ซอยสุขุมวิท 22, ซอยสุขุมวิท 24, ถ.นราธิวาสราชนครินทร์ตัด ถ.พระราม 3, ซอยอนุมานราชธน กับ ถ.สุรวงศ์

ถ.พระราม 4 ตัดซอยโรงงานยาสูบ, ถ.พระราม 4 ถึงซอยไผ่สิงโต, ถ.สุขุมวิทตัดคลองพระโขนง, ถ.สุขุมวิทถึงซอยสุขุมวิท 81, ซอยสาธุประดิษฐ์ 12, ถ.สาธุประดิษฐ์ ถึงซอยสาธุประดิษฐ์ 33, ถ.พระราม 3 ตัดคลองขุดวัดช่องลม, ถ.พระราม 3 ถึงแม่น้ำเจ้าพระยาเชิงสะพานกรุงเทพฯ, ซอยสว่างอารมณ์ถึง ถ.สาธุประดิษฐ์, ถ.เลียบทางด่วนเฉลิมมหานคร-ถ.นางลิ้นจี่, ถ.เลียบทางด่วนเฉลิมมหานคร-ถ.สาธุประดิษฐ์ และ ถ.ตก ถึงแม่น้ำเจ้าพระยา

สร้างมหานครแห่งอาเซียน

ในส่วนของ “โครงการกิจการสาธารณูปโภคประเภท สภ.7-2 ในบริเวณหมายเลข สภ.7-2-1 ถึงหมายเลข สภ.7-2-34” เป็นโครงการแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน รองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน อาทิ ถ.แจ้งวัฒนะ คลองประปา-คลองบางเขน, แยกรัชโยธิน-ถ.งามวงศ์วาน, แยกลาดพร้าว-แยกรัชโยธิน, แยกลาดพร้าว -ถ.รัชดาภิเษก เชิงสะพานพระราม 7-แยกท่าพระ, ถ.รัชดาภิเษก-ถ.ศรีนครินทร์, ถ.ประชาราษฎร์สาย 1 ถึง ถ.เตชะวานิช, ถ.ประชาราษฎร์สาย 2 ถึง ถ.ทหาร, ถ.สามเสน-ถ.พระรามที่ 5 และบรรจบกับ ถ.พระราม 6, โครงการ ถ.สามเสน เริ่มต้นจากถนนทหาร จนบรรจบกับ ถ.ครไชยศรี, โครงการ ถ.สามเสน เริ่มต้นจาก ถ.นครไชยศรี จนบรรจบกับ ถ.ลูกหลวง

โครงการรอบพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เริ่มต้นจาก ถ.ราชวิถี ถ.สวรรคโลก ถ.ศรีอยุธยา จนบรรจบกับ ถ.พระราม 5

ถ.ดินแดง-ต้นทางวิภาวดีรังสิต, ถ.จรัญสนิทวงศ์-ถ.อรุณอัมรินทร์, เชิงสะพานพระราม 8 ถึง ถ.ประชาธิปก, ถ.ลาดพร้าว-ถ.รามคำแหง, ถ.วิภาวดีรังสิต ถึงคลองสามเสน และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถึงสามเหลี่ยมดินแดง-ถ.วิภาวดีรังสิต, ถ.เพชรบุรี-ถ.ศรีนครินทร์, ถ.ศรีอยุธยา -สามเหลี่ยมดินแดง, ถ.พรานนก, ถ.เพชรบุรี, ถ.ชิดลม เพชรบุรี -เพลินจิต, ถ.อังรีดูนังต์ พระราม 1-พระราม 4, ถ.หลังสวน เพลินจิต-สารสิน

ซอยสุขุมวิท 63 -ถ.รามคำแหง, ถ.วิทยุ เพลินจิต-พระราม 4, ถ.ประชาธิปก เชิงสะพานพระปกเกล้า-วงเวียนใหญ่, ถ.สารสิน ราชดำริ-วิทยุ, ถ.พระราม 4 ราชดำริ-สถานีไฟฟ้าย่อย คลองเตย, ถ.สาทร เจริญกรุง-พระราม 4, ถ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน วงเวียนใหญ่-รัชดาภิเษก และ ถ.เจริญราษฎร์ พระราม 3-สาทรใต้