รู้ก่อนใช้บริการรับติดตั้งโซล่าเซลล์ เลือกอย่างไรให้ตอบโจทย์การใช้งาน

หากใครที่กำลังมองหาบริษัทหรือผู้ให้บริการรับติดตั้งโซล่าเซลล์ หรือโซล่ารูฟท็อป (Solar Rooftop) เพื่อเป็นช่วยประหยัดพลังงานและลดค่าไฟที่ทีราคาเพิ่มสูงขึ้น ถือว่าท่านมาถูกทางแล้ว เพราะการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์นอกจากจะช่วยทำให้ประหยัดค่าไฟแล้ว ยังเป็นพลังงานที่สะอาดไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ซึ่งในบทความนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับการติดตั้ง Solar Rooftop แบบเจาะลึกพร้อมทั้งแนะนำข้อควรรู้ก่อนการติดตั้งอย่างละเอียด โดยวิศวกรไฟฟ้าผู้มีประสบการณ์จาก บริษัท Nk Solar Group เพื่อให้ได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้พลังงานโซล่าเซลล์

กาติดตั้งการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ คืออะไร

การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ หรือ โซล่ารูฟท็อป (Solar Rooftop) คือการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บริเวณหลังคาบ้านพักอาศัย หรือโรงงาน เพื่อทำการเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์ แล้วนำมาเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดในครัวเรือน หรือในโรงงานอุตสาหกรรมนั่นเอง

ประเภทของโซล่าเซลล์ มีกี่ระบบ

ในปัจจุบันการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ระบบดังนี้

  1. ระบบออนกริด (On Grid)เป็นระบบโซลาร์ (Solar) ที่มีการเชื่อมต่อกับระบบไฟของการไฟฟ้า โดยจะใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านในช่วงเวลากลางวัน โดยระบบ On Grid จะไม่มีแบตเตอรี่เพื่อเก็บไฟ แต่จะเป็นการผลิตไฟฟ้าได้แล้วใช้เลย (สามารถขายไฟคืนให้การไฟฟ้าได้ เป็นระยะเวลา 10 ปี สำหรับไฟ 1 เฟส ระบบไม่เกิน 5kW. และสำหรับไฟ 3 เฟส ระบบไม่เกิน 10 kW.) แต่ก่อนติดตั้งโซลาร์ระบบออนกริด ต้องขออนุญาตการไฟฟ้าก่อนและดำเนินการขออนุญาตจากภาครัฐให้ครบทั้งกระบวนการ
  2. ระบบออฟกริด (Off Grid)

การติดตั้งระบบออฟกริด (Off Grid) เป็นการติดตั้งระบบโซลาร์แบบไม่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้า หรือที่หลายคนเรียระบบนี้ว่า Stand Alone  ไม่ต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้า สามารถใช้ไฟจากพลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ได้แบบ 100 % โดยมีการสำรองไฟไว้ในแบตเตอรี่เพื่อเก็บไฟเพื่อใช้ตอนกลางคืน หรือตอนไม่มีแสงแดด เหมาะกับพื้นที่ห่างไกลที่ไฟจากการไฟฟ้าไปไม่ถึง อย่างบนดอยสูง เป็นต้น

  1. ระบบไฮบริด (Hybrid Grid)

ระบบไฮบริด (Hybrid Grid) หรือ ระบบผสมระหว่างระบบ Off Grid และ On Grid เป็นการใช้ไฟทั้งจากการไฟฟ้าร่วมกับไฟที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์ และไฟจากแบตเตอร์รี่  ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่แผงโซลาร์ผลิตกระแสไฟฟ้ามากกว่าที่ใช้ พลังงานจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่แบตเตอรี่ และสามารถดึงมาใช้ในช่วงเวลากลางคืน (แต่ระบบไฮบริดจะไม่สามารถเข้าร่วมโครงการขายไฟให้กับภาครัฐได้) ซึ่งในปัจจุบันระบบแบตเตอรี่ที่มีมาตรฐาน และมีความปลอดภัยมีราคาที่สูงมาก จึงทำให้ระบบนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยม เนื่องจากยังไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

การทำงานของโซล่าเซลล์

แผงโซล่าเซลล์จะทำหน้าที่รับพลังงานแสงอาทิตย์ จากนั้นจะส่งพลังงานส่งเข้าเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) เพื่อแปลงไฟฟ้าจากพลังงานกระแสไฟฟ้าตรง (DC) -ให้กลายเป็นกระแสสลับ (AC) – แล้วจึงจ่ายเข้าตู้ควบคุมไฟในอาคาร ทำให้เกิดเป็นกระแสไฟฟ้าที่ใช้แบบทั่วไปในบ้าน หรืออาคาร แต่ในกรณีที่กระแสไฟฟ้าจากโซลาร์ไม่พอใช้ระบบก็จะทำการดึงไฟจากการไฟฟ้ามาใช้ได้ตามปกติ (เนื่องจากมีระบบสลับเปลี่ยนไปใช้ไฟฟ้าอัตโนมัติอยู่ในตัว) อีกทั้งถ้าหากมีการผลิตกระแสไฟฟ้าที่มากเกินไปใช้ไม่หมดก็สามารถขายให้การไฟฟ้าได้ด้วย ด้วยกลไลการทำงานของแผงโซล่าเซลล์ จะช่วยทำให้ประหยัดค่าไฟได้สูง 30-50%

ขั้นตอนการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์

  1. เลือกบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ มีผลงานการติดตั้งที่เชื่อถือได้ สามารถเข้าตรวจสอบหน้างานก่อนดำเนินการติดตั้ง และมีวิศวกรที่มีประสบการณ์ในการควบคุณการดำเนินการติดตั้ง
  2. ยื่นใบอนุญาตก่อสร้าง ทำเรื่องแจ้งกับหน่วยงานราชการในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเทศบาล/ อบต. เพื่อดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (อ.1)

สิ่งที่ต้องเตรียม

– แบบคำขอ ข.1 แบบแปลนแสดงแผนผังและโครงสร้างหลังคา พร้อมทั้งแจ้งรายละเอียดโครงสร้างรองรับแผงโซล่าเซลล์และการติดตั้ง

– รายการคำนวณโครงสร้าง แบบฟอร์มการสำรวจอาคาร พร้อมเอกสารรับรองของวิศวกรผู้ออกแบบและควบคุมงาน (โยธา)

  1. หลังจากได้หลักฐานการอนุญาตติดตั้งจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ก็ทำการติดตั้งได้เลย โดยจะใช้ระยะดำเนินการประมาณ 3-7 วัน (อาจมากหรือน้อยกว่า ขึ้นอยู่กับขนาดการติดตั้ง)
  2. ลงทะเบียน ลงทะเบียนเพื่อแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกพ. (ที่สำนักงาน กกพ. หรือบนเว็ปไซต์ของสำนักงาน กกพ.)

สิ่งที่ต้องเตรียม

– สำเนาหลักฐานการยื่นแจ้งจากหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น

– ภาพถ่ายการติดตั้งอุปกรณ์, แผงโซล่าเซลล์, อินเวอร์เตอร์ และ เนมเพลทของอุปกรณ์

– แบบ Single Line Diagram พร้อมวิศวกรไฟฟ้ากำลังลงนามรับรอง

– ใบอนุญาตเพื่อประกอบอาชีพวิศวกร ที่ออกโดยสภาวิศวกร (ใบกว.)

– รายละเอียดของแผงโซลาร์เซลล์ และ Inverter

– ติดต่อ การไฟฟ้าฯ เพื่อตรวจสอบและทดสอบการเชื่อมต่อ

  1. แจ้ง กฟน. (MEA) หรือ กฟภ. (PEA)

ทำการลงทะเบียนเพื่อเข้าร่มโครงการขายไฟ หรือขนาไฟกับการไฟฟ้า จากนั้นตรวจสอบระบบเพื่อทำการ ชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ จากนั้นแจ้งยกเว้นการขออนุญาตฯ จาก กกพ. ต่อ กฟน. หรือ กฟภ. จากนั้นเมื่อผ่านการตรวจสอบระบบผลิต และเชื่อมโยงไฟฟ้าตามข้อกำหนดแล้ว ก็จะสามารถใช้งานโซล่าเซลล์ระบบออนกริดได้ทันที

ประโยชน์ที่ต้องทราบ ก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์

รู้หรือไม่ว่าการติดตั้งโซล่าเซลล์ก่อนนั้นมีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด ดังนั้นเพื่อให้คุณสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น Nk Solar Group ประโยชน์ที่ต้องทราบ ก่อนติดตั้งโซล่าเซลล์มาแนะนำดังนี้

ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้หลายเท่าตัว

แน่นอนอยู่แล้วว่าจุดประสงค์หลักของการ ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์นั่นคือ การช่วยลดค่าไฟฟ้าซึ่งระบบโซลาร์เซลล์สามารถช่วยให้ท่าประหยัดค่าไฟได้หลายเท่า เนื่องจากท่านแทบจะไม่ต้องใช้ไฟจากการไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวันเลย และหากสามารถผลิตได้มากกว่าการใช้งานยังเข้าร่วมโครงการขายไฟได้ 2.20 บาทต่อหน่วยเป็นระยะเวลา 10 ปี อีกด้วย ถือว่าคุ้มค่ามากๆและคืนทุนได้อย่างรวดเร็ว

ไม่ต้องมีการบำรุงรักษาที่มากมาย และมีประสิทธิภาพในการทำงานสูง

โดยปกติแล้วแผงโซล่าเซลล์ ที่มีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน จะมีอายุการใช้งานอย่างน้อย 25 ปี และสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 85% เนื่องจากวงจรการทำงานที่ไม่ซับซ้อนทำให้ไม่ต้องมีการบำรุงรักษาที่มากมาย และซ่อมแซมได้ง่าย โดยหลังจากการผลิตในปีที่ 25 อาจมีการผลิตพลังงานได้ลดลงเล็กน้อย แต่ก็ยังมีอายุการใช้งานจริงที่ยาวนานมากถึง 40 ปี (โดยประมาณ) ซึ่งการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จาก Nk Solar Group เรามีทีมซ่อมบำรุงที่พร้อมบริการอยู่เสมอ เพื่อระบบโซลาร์เซลล์ของคุณปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ได้รับการสนับสนุนเงินลงทุนจากภาครัฐ

สำหรับการติดตั้งระบบโซลาร์เซล์ หรือ โซล่ารูฟท็อป (Solar Rooftop) หากมีการนำไปใช้กับธุรกิจที่มีการลงทุนในเรื่องของการใช้พลังงานทดแทน (รวมถึงการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์โซล่าเซลล์) สามารถยื่นเรื่องเพื่อขอรับการส่งเสริมการลงทุนกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI (Board of Investment) เพื่อเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นการลงทุนไปได้ ถือเป็นการช่วยลดความเสี่ยงได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถขอยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้สูงถึง 50% ของเงินที่ลงทุน โดยมีระยะเวลาในการใช้คืน 3 ปี ซึ่งสามารถช่วยให้คืนทุนได้เร็วขึ้น

สรุป

จะเห็นได้ว่าการติดตั้งระบบโซลาร์ภาคประชาชนบนหลังคาที่พักอาศัยแล้ว การติดตั้งโซลาร์ยังได้รับความนิยมจากโรงงานอุตสาหกรรม บริษัทและห่วยงานต่างๆอีกด้วย เนื่องจากในปัจจุบันระบบโซลาร์เซลล์นอกจากจะช่วยให้ประหยัดค่าไฟได้เกือบครึ่งต่อครึ่งแล้ว ยังได้รับการสนับสนุนเงินลงทุนจากภาครัฐ ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาให้ความสนใจกับพลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น

ติดต่อและปรึกษาหรือขอข้อมูลการติดตั้งจากทีมงาน

Facebook: https://www.facebook.com/NKSolarGroup

Line: @nksolargroup

เบอร์โทรศัพท์: 064-415-2594