ยกระดับคุณภาพชีวิต! เปิด “สะพานปันฝันเเซนเเญป” ที่คลองเเสนเเสบ

กรกนก มาอินทร์ : เรื่อง

หากนึกถึงเเอพพลิเคชั่นที่คอยบอกเส้นทาง ระบุจุดพัก ถนนในการปั่นจักรยาน เเอพพลิเคชั่น “ปั่นเมือง” เเอปรายงานปัญหาการสัญจรจัดทำโดยมูลนิธิโลกสีเขียว มีขึ้นเพื่อให้ประชาชนที่ปั่นจักรยานสามารถใช้บริการค้นหาและเเชร์ เส้นทางการปั่นจักรยาน ร้านซ่อม จุดจอดรถที่ระบุสิ่งกีดขวางและร้านคาเฟ่ไว้บนเเผนที่ได้ อีกทั้งประชาชนสามารถรายงานอุปสรรคที่เจอบนท้องถนนผ่านเเอพพลิเคชั่นได้อีกด้วย

จึงเป็นที่มาของโครงการ “สะพานปันฝันเเซนเเญป” ที่มีผู้รายงานปัญหาผ่านเเอพพลิเคชั่น “ปั่นเมือง” ว่า สะพานคนเดินข้ามท่อระบายน้ำสถานีสูบน้ำพร้อมศรี 2 บริเวณริมคลองเเสนเเสบ มีสภาพชำรุด ผุพัง ไม่ปลอดภัยต่อการเดินสัญจร เเละเป็นอุปสรรคต่อการใช้จักรยาน ด้วยลักษณะที่เเคบ เอียง ลื่นเเละชัน มูลนิธิโลกสีเขียวจึงประสานไปยังกรุงเทพฯ เพื่อให้ซ่อมเเซมอย่างเร่งด่วน เเต่สำนักการระบายน้ำผู้รับผิดชอบในพื้นที่ขาดเเคลนงบประมาณ จึงไม่สามารถซ่อมบำรุงได้

สะพานเเซนเเญป มาจากภาษามลายู เเปลว่าเงียบสงบ มีความสำคัญต่อชุมชนคือเป็นเส้นทางหลักของชาวริมคลองเเละนักเรียนในพื้นที่ เเอปปั่นเมืองเล็งเห็นว่าต้องรีบปรับปรุงอย่างเร่งด่วน โดย มูลนิธิโลกสีเขียว มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม เเละชุมชนสุเหร่าบ้านดอน จึงร่วมกันระดมเงินทุนบริจาคของประชาชนปรับปรุงซ่อมเเซมสะพานให้เกิดความปลอดภัย

ซัน-ศิระ ลีปิพัฒนวิทย์ เเอดมินเเอพพลิเคชั่นปั่นเมือง เล่าให้ “ประชาชาติธุกิจออนไลน์” ภายหลังทำพิธีเปิดสะพาน ถึงจุดเริ่มต้นของการสร้างสะพานปันฝันเเซนเเญปว่า สะพานดังกล่าวเดิมทีมีสภาพชำรุดอย่างมาก เเต่การจะซ่อมเเทรมนั้นยังขาดงบประมาณ ซึ่งได้มีการช่วยประชาสัมพันธ์ผ่านทางเฟซบุ๊กเพื่อระดมทุน ในขณะนี้ประเมินค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นราว 420,000 บาท โดยโครงการดังกล่าวใช้เวลากว่า 1 ปี

“สะพานที่สร้างใหม่นี้ จะช่วยตอบโจทย์การใช้งานได้มากขึ้น อำนวยความสะดวกให้เเก่ประชาชน เราถามประชาชนทั้งก่อนเเละหลังซ่อมแซม เพื่อดูว่าชาวบ้านรู้สึกอย่างไร ซึ่งสะพานนี้จะสร้างประโยชน์ให้เเก่ชาวบ้าน ด้วยการดีไซน์ด้านหนึ่งเป็นทางราบ เเละอีกด้านเป็นบันได จะช่วยให้เข็นจักรยาน-เดินสะดวกยิ่งขึ้น”

ปัจจุบันมีผู้ใช้งานสะพานเเซนเเญปต่อวันอยู่ที่ 200-300 คน เเละมีคนใช้จักรยานกว่า 20-30% ได้ ซึ่งสะพานเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์เชื่อมกรุงเทพฯฝั่งตะวันออก ตั้งเเต่หนองจอก, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, เข้าสู่ใจกลางเมืองย่านอโศกอีกด้วย

ใช่ว่าการสร้างจะราบรื่น…กฎข้อห้ามในการสร้างสะพานเเซนเเญปที่ว่า “เส้นทางนี้ไม่ให้มอเตอร์ไซค์ขี่ผ่าน” โดยคนในชุมชนเห็นด้วยกับข้อห้ามนี้ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องของเสียง อุบัติเหตุ การลักขโมย

พี่ซัน แอดมินเเอพพลิเคชั่นปั่นเมือง เล่าว่า ต้องระดมความคิดเห็นกันอย่างมาก เพื่อออกเเบบเเนวกั้นสะพานไม่ให้มอเตอร์ไซค์ขี่ผ่านได้ ลงเอยกันด้วยการทำประตูกั้นเเละล็อกกุญเเจเอาไว้ เมื่อใครจะใช้งานสามารถไปขอกุญเเจจากคนในชุมชน ซึ่งเป็นคนที่รู้จักเเละคุ้นเคยกันดี

เมื่อถามต่อว่า การกั้นประตูไม่ให้ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ผ่านนั้นมีปัญหาขัดเเย้งหรือไม่… พี่ซันเล่าให้ฟังว่า ประชาชนเเถวนี้รับรู้เเละเข้าใจถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นหากปล่อยให้มอเตอร์ไซค์ขี่ผ่าน โดยมีการลงไปทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ซึ่งได้รับเสียงตอบรับที่ดี

ด้าน พี่อ๋อง-ระดับ กาญจนะวณิชย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทวิศวกรที่ปรึกษา RKV จำกัด เล่าให้เราฟัง ในส่วนของการออกเเบบเเละก่อสร้างสะพานเเซนเเญปว่า เดิมทีตั้งใจออกเเบบสะพานให้โค้งที่ใช้งบประมาณถูกลง เเละคิดว่าจะสวยกว่านี้มาก เเต่เนื่องจากติดขัดในเรื่องของการคงสภาพเเบบเดิมไว้ จึงออกเเบบให้กว้างขึ้น เพื่อใช้เข็นจักรยานได้ เพราะเมื่อก่อนเป็นเพียงสะพานคนเดินข้ามเท่านั้น

“เราใช้เเบบเดิมของสะพานที่มี เเละขยายเลนให้กว้างขึ้น ทำเป็นเลนจักรยานเเละเลนคนเดินเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน”

ระดับ กาญจนะวณิชย์

พี่อ๋อง เล่าต่อว่า ส่วนตัวใช้เวลาออกเเบบสะพาน 2 วัน ใช้เวลาปรับปรุงสะพานทั้งสิ้นราว 1 เดือน ในส่วนของโครงสร้าง รูปแบบทุกอย่างเหมือนเดิมเเต่ทำให้กว้างขึ้น ระยะความกว้างสะพานเป็น 1.8 เมตร เฉพาะทางลาดกว้าง 80 เซนติเมตร ราวจับบันไดสูง 90 เซนติเมตรตามขนาดเดิม พร้อมทั้งทำเสาหลักเเละรั้วกั้นมอเตอร์ไซค์สูง 40 เซนติเมตรบริเวณกลางสะพาน ออกเเบบเหล็กให้เล็กลง ใช้เหล็กฉีก ด้วยความที่น้ำหนักเบา น้ำไม่ขัง ทำให้ทนต่อการใช้งาน ไม่เป็นสนิมเร็ว

ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่สามารถสร้างประโยชน์ให้เเก่ชุมชน ประชาชน อย่างมาก เเละยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ ลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดจากการใช้งานสะพานเก่า เพิ่มความปลอดภัยให้เเก่ชีวิต…เเม้จะเป็นเพียงการเเก้ไขในจุดเล็กๆ แต่ก็เป็นอีกก้าวที่ทำให้เห็นเห็นภาพของการร่วมเเรง ร่วมใจ ในการพัฒนา อย่างไรก็ตามทางมูลนิธิโลกสีเขียวคาดหวังว่าจะได้เข้าไปพัฒนาในพื้นที่อื่นๆ ด้วยเช่นกัน

นอกจากความปลอดภัยที่ประชาชนได้รับเเล้ว…ยังเห็นว่า “รอยยิ้มของพวกเขานั้น..กว้างขึ้น” เช่นกัน