“AMPOS” สตาร์ตอัพโลก สร้างโซลูชั่น HR ยุคนิวนอร์มอล

การจัดการกับความท้าทายขององค์กรท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งสภาพแวดล้อมการทำงาน และความต้องการของลูกค้า ทำให้หลายองค์กรมองหาโซลูชั่นที่ตอบโจทย์การบริหารความท้าทาย บริษัท แอมพอส โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ AMPOS เป็นสตาร์ตอัพที่เล็งเห็นความท้าทายดังกล่าว และมองว่าองค์กรเหล่านั้นต้องการผู้ให้บริการโซลูชั่นสำหรับ HR ยุคใหม่เข้ามาช่วยเหลือในการบริหารจัดการองค์กร จึงพัฒนานวัตกรรมเพื่อช่วยองค์กรแก้ไขปัญหา และพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน

โดยเฉพาะในยุคการทำงานแบบ new normal ที่ความเร็วต้องเป็นแบบนิวไดนามิก และเพื่อช่วยขับเคลื่อนบุคลากรให้เป็นไปในทิศทางที่องค์กรตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

“บัญชา ธรรมารุ่งเรือง” กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอมพอส โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า AMPOS เป็นสตาร์ตอัพระหว่างประเทศที่มีสำนักงานในกรุงเทพฯ, เซี่ยงไฮ้ และไทเป โดยพัฒนาโซลูชั่นต่าง ๆ ผ่านระบบคลาวด์คอมพิวติ้งของบริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อยกระดับการจัดการ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ท่ามกลางความท้าทาย และวิกฤต อย่างเช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา

บัญชา ธรรมารุ่งเรือง

“การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม และทำให้พฤติกรรมของลูกค้าเปลี่ยนไป การบริโภคการจับจ่ายใช้สอยมีการเปลี่ยนแปลง จึงมีความสำคัญที่แต่ละองค์กรต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ และการบริหารคนดังนั้น เวลาที่ AMPOS คิดหาโซลูชั่นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละองค์กร เราจะมองในบริบทขององค์กรก่อนว่า ตอนนี้องค์กรนั้น ๆ ต้องการอะไร ในท่ามกลางสถานการณ์แบบไหน มีวิกฤตอะไร และต้องทำอะไรเพื่อให้ผ่านจุดนี้ไปได้”

สิ่งที่หลายองค์กรกำลังประสบคล้าย ๆ กันในตอนนี้ คือ การพยายามคิดแผนแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกระแสเงินสด และจำนวนลูกค้าที่หายไป และหลาย ๆ องค์กรอยู่ในสภาวะบังคับที่ต้องปรับตัวสู่ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ดังนั้น สิ่งที่องค์กรต้องทำคือการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ และกลับสู่วงจรการทำธุรกิจให้เหมือนเดิมโดยเร็วที่สุด โดย AMPOS มองว่า มี 6 ด้านหลัก ๆ ที่องค์กรต้องทำ คือ

หนึ่ง business strategy & businessmodel เมื่อพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าเปลี่ยนแปลง กลยุทธ์ และโมเดลธุรกิจต้องเปลี่ยนไป อย่างช่วงที่ผ่านมามีการเว้นระยะทางห่างสังคม (social distancing) ธุรกิจร้านอาหารต้องปรับไปทำกิจการแบบ delivery และอาศัย e-Commerce มากขึ้น ดังนั้น ความท้าทายคือจะปรับโมเดลธุรกิจและกลยุทธ์อย่างไรให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

สอง communication & collaboration การสื่อสารถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่หลาย ๆ ธุรกิจกำลังอยู่ในสภาวะยากลำบากดังนั้นการสื่อสารที่ถูกต้อง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะลดผลกระทบเชิงลบให้น้อยที่สุด ผู้นำทุกคนที่ต้องมีทักษะการสื่อสารที่ดีสื่อสารอย่างจริงใจ สร้างความเชื่อมั่น และขวัญกำลังใจให้พนักงาน เพราะวิกฤตโควิด-19 ทำให้พนักงานหลายองค์กรมีความกังวลใจในสภาพงานของตนเองและไม่แน่ใจถึงความมั่นคงขององค์กร

ผู้นำต้องสามารถสร้างความร่วมมือ และสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันระหว่างทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นบริษัทกับพนักงาน บริษัทกับคู่ค้า และบริษัทกับสังคม

สาม innovation & digital transformation ภาคธุรกิจต้องปรับตัวมากกว่าใช้แอปพลิเคชั่นดิจิทัลเพื่อแก้ไขปัญหาระยะสั้น เพราะในระยะยาวธุรกิจต้องมีวิถีชีวิต และการทำงานเป็นดิจิทัล

สี่ team capabilities & productive การพัฒนาสมรรถนะของทีม และประสิทธิผลขององค์กรให้ดี

ห้า team physical & mental health ต้องมีทีมที่เข้มแข็งทั้งสุขภาพร่างกาย และจิตใจ รวมถึงมีองค์ความรู้ที่เข้มแข็ง

หก มีวัฒนธรรมองค์กร และบุคลากรที่มีความยืดหยุ่นปรับตัวได้

“บัญชา” อธิบายต่อว่า เมื่อเรารู้6 สิ่งที่องค์กรต้องทำแล้ว AMPOS จะมีหน้าที่สร้างเทคโนโลยีที่ช่วยให้องค์กรทำ 6 สิ่งเหล่านั้นให้สำเร็จ โดยเราเน้นหนักในเรื่องของการช่วยพัฒนาบุคลากร และเสริมสร้างพฤติกรรมที่ดีให้กับองค์กร ที่ผ่านมาเราประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือธุรกิจที่หลากหลาย ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น อุตสาหกรรมการผลิต, ร้านอาหาร, ร้านค้าปลีก และโรงพยาบาล

“ยกตัวอย่าง องค์กรที่ใช้โซลูชั่นของ AMPOS เมื่อไม่นานมานี้ และประสบความสำเร็จ คือ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในประเทศไทยที่รับดูแลผู้ป่วยโควิด-19 โดยโรงพยาบาลมีโจทย์ใหญ่เป็นเรื่องของการสื่อสาร เพราะการทำงานในสถานการณ์ที่แพทย์ต้องมีการผลัดเปลี่ยนเวรตลอด 24 ชั่วโมง และบ่อยกว่าแต่ก่อน รวมถึงพนักงานบางส่วนทำงานที่บ้าน ทำให้การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงและมีความทั่วถึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะความผิดพลาดอาจส่งผลถึงชีวิตของผู้ป่วย ดังนั้นโซลูชั่นของเราจึงช่วยให้โรงพยาบาลแห่งนี้จัดการสื่อสารได้ตรงจุด และเช็กได้ว่าผู้รับสารคนไหนยังไม่ได้รับรู้ข้อมูลที่ส่งให้ มีการแบ่งการสื่อสารตามแผนกบนแพลตฟอร์มออนไลน์ชัดเจน เป็นต้น”

สำหรับจุดเด่นของ AMPOSสามารถแบ่งออกเป็นดังนี้

หนึ่ง มีกระบวนการออนบอร์ดที่ให้พนักงานทุกคนเข้าถึงได้ง่าย และเป็นขั้นเป็นตอน ทำให้พนักงานใหม่คุ้นเคยกับบริษัท และกระบวนการดำเนินงานพื้นฐานของบริษัทอย่างรวดเร็ว

สอง การฝึกอบรมแบบมีโครงสร้าง มีการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ ช่วยสร้างห้องเรียน และประสบการณ์การเรียนรู้ตรงตามวัตถุประสงค์

สาม การรับรู้พฤติกรรมของพนักงาน ซึ่งการได้รับคำชมเป็นสิ่งสำคัญต่อกำลังใจ และประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ผู้นำควรชมให้ทั่วถึงไม่มีการลำเอียง ดังนั้นเราจึงมีฟีเจอร์ที่ให้สื่อสารกับพนักงานที่ทั่วถึงทุกคนรวมถึงสามารถให้คอมเมนต์ข้อผิดพลาดเพื่อจะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างทันท่วงที โดย AMPOS มีเมนูที่ให้คะแนน และคอมเมนต์แบบเรียลไทม์ และการโต้ตอบที่ใช้เทคนิคของเกม (gamification) เพื่อสร้างบรรยากาศการทำงานร่วมกันให้มีความสนุก

สี่ การพัฒนาส่วนบุคคล เน้นฝึกสอนส่วนบุคคลเพื่อให้ปรับตามความต้องการ ซึ่งช่วยให้พนักงานสามารถระบุประเด็นในการปรับปรุงตนเอง

ห้า การสื่อสารองค์กร ด้วยข้อความที่สามารถจัดกลุ่มตามแผนก เป็นการสื่อสารแบบสองทาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร

หก การติดตามประสิทธิภาพการทำงานแบบเรียลไทม์ มีการตรวจสอบตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักแบบเรียลไทม์

เจ็ด การวางแผนการสืบทอดตำแหน่งของบริษัท และแผนความสำเร็จของบริษัท เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการช่วยบริษัทระบุช่องว่างในองค์กร ผ่านการตรวจสอบประสิทธิภาพโดยรวมของพนักงานในระยะยาว

“นอกจากนั้น AMPOS ยังมีจุดแข็งในการช่วยองค์กรเรื่องของสเกล และความเร็ว เพราะหลายองค์กรที่มีพนักงานหลายคน การจัดการกับเรื่องบริหารองค์ความรู้ของพนักงานเป็นเรื่องท้าทาย เช่น การอบรมแต่ละครั้งหากทำทีละกลุ่มเล็ก ๆ จะใช้เวลามาก และหากทำกลุ่มใหญ่จะทำให้การอบรมไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ และไม่ทั่วถึง เราจึงทำโซลูชั่นที่ช่วยให้การดูแลจัดการพัฒนาทักษะ และความรู้ได้ทั่วถึง และเหมาะสม ที่สำคัญ AMPOS ยังมีทีมที่ขับเคลื่อนเร็ว และมีประสบการณ์ด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ และการจัดการจากองค์กรระดับโลก เช่น Amazon, IBM, Intel, MicroStrategy, PayPal และ Sasin Business School ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น ทั้งยังได้รับการสนับสนุนทางการเงินที่ดีจากนักลงทุนที่มีความสนใจในการสร้างความแตกต่าง และเติบโตให้กับธุรกิจอีกด้วย”

สิ่งเหล่านี้คือภาพรวมของโซลูชั่นที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน และอนาคต ที่ต้องใช้ความยืดหยุ่น และความว่องไวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากองค์กรมีโซลูชั่นที่เหมาะสมจะสามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส พร้อมทั้งเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย