สงกรานต์ ครอบครัวพร้อมหน้า 15 เมษายน ในสมัย จอมพล ป. เคยเป็น “วันแม่”

piboonsongkram
จอมพล ป. พิบูลสงคราม และท่านผู้หญิง ละเอียด พิบูลสงคราม-ศิลปวัฒนธรรม

รู้หรือไม่ ในสมัยรัฐบาลจอมพล . พิบูลสงครามครั้งที่ 2 (..2491-2500) วันที่ 15 เมษายน เคยเป็นวันแม่เปิดที่มาและเหตุผล พร้อมดูว่ามีการจัดกิจกรรมงานรื่นเริงอะไรบ้าง

ผศ.ดร.ศรัญญู เทพสงเคราะห์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวกับประชาชาติธุรกิจถึงความเป็นมาของวันแม่ 15 เมษายน ว่า สืบเนื่องจากนโยบายของคณะราษฎรที่เกี่ยวข้องกับสตรีและเด็ก หลังการปฏิวัติ 2475 มีการยกสถานะของสตรีให้มีความทัดเทียมกับบุรุษ 

โดยสัมพันธ์กับนโยบายเรื่องครอบครัว กล่าวคือ รัฐบาลคณะราษฎรส่งเสริมครอบครัวให้มีลักษณะผัวเดียวเมียเดียว (Monogamy) จนกระทั่งวันที่ 1 ตุลาคม พ..2478 ได้มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกขึ้น โดยบรรพ 5 ว่าด้วยให้ชายมีภรรยาตามกฎหมายได้คนเดียว

ขณะเดียวกันการส่งเสริมการยกสถานะของผู้หญิง โดยเฉพาะสมัยรัฐบาลจอมพล . พิบูลสงคราม ครั้งที่ 1 (..2481-2487) ที่มีการใช้นโยบายรัฐนิยม และนโยบายทางวัฒนธรรม เริ่มสนับสนุนให้ผู้หญิงมีบทบาทนอกจากในบ้านหรือในครัวเรือน ให้มีบทบาททางด้านสังคมควบคู่กับผู้ชาย เช่น การรับราชการ และการจัดตั้งโรงเรียนนายร้อยหญิง เป็นต้น

นอกจากนี้ จอมพล ป. ยังให้ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงครามภริยา มามีบทบาทในงานด้านสตรีมากขึ้น โดยเฉพาะการตั้งสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง ใน พ..2486 ซึ่งมีหน้าที่ส่งเสริมวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมผัวเดียวเมียเดียว การสงเคราะห์มารดา สงเคราะห์บุตร การดูแลสุขภาพอนามัยของผู้หญิงและเด็ก เป็นต้น

พร้อมกันนั้น หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลแม่และเด็ก คือ กระทรวงสาธารณสุข ได้ถูกยกฐานะขึ้นมาจากกรมสาธารณสุข เมื่อ พ..2485 เพื่อดูแลเรื่องการเเพทย์ สุขอนามัย อนามัยเจริญพันธุ์ของผู้หญิงและเด็ก เพื่อสร้างพลเมืองให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ตอบสนองต่อนโยบายการสร้างชาติของจอมพล ป. ในสมัยนั้นด้วย

วันของแม่ วันมารดา

ส่วนหนึ่งของนโยบายด้านสตรีและเด็ก คือ การจัดงานวันของแม่หรือวันมารดาขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ..2486 ณ สวนอัมพร นับเป็นเวลา 1 ปี ให้หลังจากการยกสถานะกระทรวงสาธารณสุข โดยกระทรวงสาธารณสุขก็ได้รับมอบหมายให้เป็นแม่งานในครั้งนี้

ภายในงาน มีการจัดงานประกวดสุขภาพมารดา ให้ความรู้เรื่องการสงเคราะห์เด็กและมารดา ตลอดจนกิจกรรมรื่นเริงที่แฝงความรู้ด้านสุขภาพและอนามัยต่าง ๆ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นกิจกรรมทางการแพทย์ที่เข้ามาดูแลสุขภาพแม่และเด็ก 

ที่สำคัญคือมีการประกวดสุขภาพของแม่ โดยแบ่งการประกวดเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย แม่ที่มีบุตร 5 คน, แม่ที่มีบุตร 6-10 คน และ แม่ที่มีบุตรตั้งแต่ 11 คนขึ้นไป การพิจารณาจะดูเรื่องสุขภาพอนามัยแม่และบุตร การอบรมเลี้ยงดูบุตรทั้งในแง่สุขภาพ และวัฒนธรรม ซึ่งมีการแจกรางวัลด้วย 

ทั้งนี้ ไม่มีการกำหนดอายุแม่ที่เข้าร่วมประกวด โดยจะต้องมีบุตรจากสามีเพียงคนเดียว และบุตรยังต้องมีชีวิตอยู่

พร้อมกันนั้น ยังมีการแจกคู่มือสมรสซึ่งเปรียบเสมือนหนังสือ How To ในการดูแลสุขภาพอนามัยของแม่และเด็ก รวมถึงการเลี้ยงดูต่าง ๆ โดยหน้าปกหนังสือเป็นรูป จอมพล ป. และท่านผู้หญิงละเอียด ที่กำลังอุ้มนิตย์ พิบูลสงครามลูกคนสุดท้อง 

นับเป็นการจัดอีเวนต์ที่เกี่ยวข้องกับแม่และเด็กขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งจัดได้เพียงปีเดียว และจากนั้นก็ไม่ได้จัดต่อ เพราะจอมพล ป. หมดอำนาจลงใน พ..2487 ประกอบกับความผันผวนทางการเมือง

วันแม่ 15 เมษายน 

เมื่อจอมพล ป. กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง (..2491-2500) ได้มีการรื้อฟื้นการจัดงานวันแม่ขึ้นในวันที่ 15 เมษายน พ..2493 โดยแม่งานหลักไม่ใช่กระทรวงสาธารณสุขเหมือนครั้งก่อน แต่เป็นสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิงที่มีท่านผู้หญิงละเอียดเป็นประธาน โดยท่านผู้หญิงละเอียดได้เข้ามาดูแลและถูกยกให้เด่นมากขึ้น

การรื้อฟื้นวันแม่รอบใหม่นี้ มีการพยายามเชื่อมโยงระหว่างวันแม่ของไทยกับวันแม่โลกโดยสูจิบัตรงานวันแม่ใน พ..2497 มีการพูดถึงประวัติวันแม่ ว่า วันแม่มีการจัดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา สมัยประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) โดยใช้วันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม และใช้ดอกคาร์เนชัน เป็นสัญลักษณ์

สำหรับเหตุผลที่ จอมพล ป. รื้อฟื้นการจัดงานวันแม่ขึ้นในวันที่ 15 เมษายน ถูกระบุไว้ชัดเจน ดังนี้

  1. ใกล้กับตรุษสงกรานต์ ซึ่งคนไทยจะไปเยี่ยมเยียนและเคารพผู้ใหญ่ มีการประกอบพิธีกรรมร่วมกันสำหรับบุพการีที่ล่วงลับไปแล้ว กล่าวคือ คนในครอบครัวได้มาเจอกัน
  2. เดือนเมษายน เป็นเดือนที่ไม่มีฝนตก สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้ง และทำงานรื่นเริงสนุกสนานได้ทั่วถึง 
  3. เดือนเมษายน เป็นเดือนที่โรงเรียนปิดเทอม ทำให้เด็กสามารถมาร่วมงานวันแม่ได้ทุกคน

ขณะเดียวกัน ก็มีการเลือกดอกมะลิมาเป็นสัญลักษณ์ในวันแม่ โดยมีเหตุผล ดังนี้

  1. ดอกมะลิ มีอยู่ทุกฤดูกาล 
  2. ดอกมะลิมีสีขาวบริสุทธิ์ มีกลิ่นหอม
  3. ดอกมะลิมีสรรพคุณหลายอย่าง เหมือนความรักของแม่ที่มีต่อลูกไม่เสื่อมคลาย

ทั้งนี้ มีเรื่องเล่าด้วยว่า การนำดอกมะลิมาใช้เป็นสัญลักษณ์วันแม่นั้นเชื่อมโยงกับจอมพล ป. เพราะจอมพล ป. เป็นคนที่ชอบดอกมะลิ

พร้อมกันนั้น เพลงค่าน้ำนมที่แต่งโดยครูไพบูลย์ บุตรขันได้ถูกเปิดขึ้นครั้งแรกในงานวันแม่ พ..2493 ด้วย

ที่น่าสนใจคือการประกวดแม่ในครั้งนี้เข้มข้นกว่าเดิม ในสูจิบัตรงานวันแม่ พ..2498 ระบุไว้ว่า เพื่อฟื้นฟูและสนับสนุนวัฒนธรรมของคนไทยที่รักและเคารพแม่ และส่งเสริมหญิงที่กำลังเป็นแม่ หรือที่กำลังเป็นแม่ในอนาคต ให้ภาคภูมิใจในเกียรติและหน้าที่ของการเป็นแม่ในการเลี้ยงดูบุตร 

ส่วนกิจกรรมหลัก คือ การประกวดแม่ทั่วไป และ แม่เเห่งชาติ ซึ่งพิจารณาจากสุขภาพร่างกายและการตรวจโรค ซึ่งการประกวดเปิดกว้างมาก เป็นหญิงไทยไม่จำกัดอายุ และไม่เคยรับรางวัลการประกวด โดยเเบ่งเกณฑ์ตามจำนวนลูก ลูกต้องมีชีวิตอยู่ และสุขภาพแข็งแรงทั้งแม่และลูก 

แม่จะต้องมีการอบรมเลี้ยงดู ให้ความรู้ ส่งเสริมวัฒนธรรมแก่เด็ก และแม่ต้องมีประวัติในการช่วยงานสังคม ช่วยงานชาติ ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่น่าสนใจมาก

พร้อมกันนั้น ยังมีการเปิดเผยข้อมูลการตรวจสุขภาพในปีถัดมาด้วย ส่วนมากแม่ที่มาประกวดจะมีปัญหาสุขภาพฟันและเหงือก ในอีกทางหนึ่งจึงเป็นการเก็บข้อมูลด้านสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ที่จะเข้ามาดูแลสุขภาพพลเมืองได้ ตลอดจนมีการตรวตเลือด ตรวจปอด โดยพบว่ามีคนเป็นวัณโรคขั้นต้น หรือกามโรคก็มี ซึ่งเป็นข้อมูลทางสถิติที่สามารถช่วยในการดูแลสุขภาพอนามัย และเป้นประโยชนน์ต่อโยบายด้ายสุขภาพของรัฐได้

นอกจากนี้ กิจกรรมวันแม่ช่วงทศวรรษ 2490 ถือเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกให้แนบแน่นขึ้นเป็นอย่างมาก เหมือนเป็นการผสมงานวันเด็กเข้าไปด้วย โดยอีเวนต์หลักตั้งแต่เช้าถึงเย็นจะเน้นเกี่ยวกับการแสดงต่าง ๆ ของเด็กและโรงเรียน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการก็เข้ามามีบทบาทด้วยในการส่งเด็กมาทำการแสดงละคร และดนตรี โดยงานจัดทั้งวัน ตั้งแต่ 06.00-21.00 .

การจัดงานวันแม่ในสมัยจอมพล ป. ใช้คำว่าวันแม่ไม่ใช่วันแม่แห่งชาติเนื่องด้วยผู้หญิงไทยทุกคนสามารถเป็นแม่ได้

ทั้งนี้ งานวันแม่วันที่ 15 เมษายน พ..2493 จัดขึ้นที่สวนอัมพรเช่นเดิม โดยครั้งต่อ ๆ ไปย้ายไปจัดณ สำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง บ้านพิษณุโลก ก่อนจะมีการจัดครั้งสุดท้ายเมื่อ พ..2500

ยกเลิกวันแม่ 15 เมษายน

งานวันแม่ 15 เมษายน จัดเป็นจนถึง พ..2500 เป็นครั้งสุดท้าย สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จอมพล ป. หมดอำนาจ และเข้าสู่ยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์โดยงานวันแม่เป็นหนึ่งสิ่งที่ได้รับผลกระทบแรก ๆ หลังการขึ้นมามีอำนาจของจอมพลสฤษดิ์ ซึ่งรื้อการจัดงานทิ้งทั้งหมด

นอกจากนี้ เดิมทีวันแม่ 15 เมษายน ที่เคยเป็นวันหยุดราชการ จอมพลสฤษดิ์ ได้ออกประกาศใน พ..2500 โดยให้วันแม่ 15 เมษายน, วันเด็ก และวันสหประชาชาติ 24 ตุลาคม ออกจากวันหยุดราชการ ก่อนจะให้วันสงกรานต์ 13 เมษายน และวันปิยมหาราช 23 ตุลาคม เป็นวันหยุดแทน นับเป็นการปิดฉากวันแม่ 15 เมษายน อย่างเป็นทางการ

ก่อนที่จะมีการกำหนดให้วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติใน พ..2519