ผลงาน ปตท. ปี65 นำเงินส่งรัฐ 86,395 ล้านบาท

ปตท

ผลงาน ปตท. ปี 65 แข็งแกร่งในสภาวะพลังงานผันผวน กำไรสุทธิ 91,175 ล้านบาท นำเงินส่งรัฐ 86,395 ล้านบาทยึดมั่นพันธกิจสร้างความมั่นคงทางพลังงาน

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566  นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของ ปตท. และบริษัทย่อยที่มีกำไรสุทธิในปี 2565 จำนวน 91,175 ล้านบาท (คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิที่ 3.6%) ลดลงจำนวน 17,188 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.9 จากปีก่อน

โดยมีกำไรสุทธิจำนวน 91,175 ล้านบาท มาจากผลการดำเนินงานของ ปตท. คิดเป็น 17% ซึ่งลดลงจากปีก่อน เนื่องจากผลการดำเนินงานของธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ที่มีต้นทุนราคาค่าเนื้อก๊าซฯ ปรับสูงขึ้นมาก และอีก 83% มาจากผลการดำเนินงานของบริษัทในเครือ ปตท.

ซึ่งประกอบด้วย ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม 51% ธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน และบริษัทย่อยอื่นๆ 23% กลุ่มธุรกิจน้ำมันและค้าปลีก 8% และธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น 1%

ทั้งนี้ ในปี 2565 กลุ่ม ปตท. นำส่งรายได้เข้ารัฐรวมจำนวน 86,395 ล้านบาท ซึ่งรวม เงินปันผล ภาษีเงินได้นิติบุคคลของ ปตท. และภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทในเครือ

พร้อมกันนี้ คณะกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีมติจ่ายเงินปันผลสำหรับผลประกอบการปี 2565 ในอัตราหุ้นละ 2 บาท ซึ่งได้จ่ายปันผลระหว่างกาลไปแล้วในอัตราหุ้นละ 1.30 บาท เมื่อตุลาคม 2565  คงเหลือเงินปันผลที่จะจ่ายอีกในอัตราหุ้นละ 0.70 บาท โดยกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่และกองทุนวายุภักษ์รับปันผล 36,144 ล้านบาท

“แม้ว่ากำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ต้นทุนทางการเงิน และภาษีเงินได้ (EBITDA) เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจาก ธุรกิจสำรวจและผลิตที่มีผลการดำเนินงานดีขึ้นตามราคาขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นจากราคาพลังงานในตลาดโลก และปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว”

ขณะที่ธุรกิจก๊าซธรรมชาติมีผลการดำเนินงานลดลงจากต้นทุนก๊าซฯที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก จากการนำเข้า Spot LNG เพื่อรองรับความต้องการใช้ก๊าซในประเทศ และธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นมีผลการดำเนินงานลดลงเช่นกัน

โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปีที่ราคาปิโตรเคมีปรับลดลงจากความกังวลเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอย รวมถึงในปี 2565 ต้นทุนทางการเงิน ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ผลขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ และ ผลขาดทุนจากการรับรู้รายการขาดทุนที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำสุทธิภาษีตามสัดส่วนของ ปตท. เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2564

นอกจากนี้ ในปี 2565 ที่ผ่านมา กลุ่ม ปตท. มีส่วนช่วยเหลือลดต้นทุนค่าครองชีพด้านพลังงานให้กับประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง ร่วมดูแลสังคมจัดตั้งโครงการลมหายใจเดียวกัน สนับสนุนระบบสาธารณสุขของประเทศจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  พร้อมดำเนินโครงการลมหายใจเพื่อน้อง ช่วยเหลือเยาวชนกว่า 60,000 คน ที่เสี่ยงต่อการหลุดจากระบบการศึกษา

นอกจากนี้ ยังได้ประกาศเจตนารมณ์ กลุ่ม ปตท. มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 15  ภายในปี 2030 บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2040 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายของประเทศ  และพร้อมดำเนินการในทุกมิติเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5  ปตท. ยังคงมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจตามพันธกิจหลักในการจัดหาและสำรองพลังงานให้ประชาชนและภาคอุตสาหกรรมได้เข้าถึงพลังงานอย่างทั่วถึง ในราคาที่เป็นธรรม พร้อมกับการแสวงหาโอกาสในธุรกิจใหม่และธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนต่อไป

ส่องสถานะ ปตท.ปิดบัญชีปี 65

หลังจากที่นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ปตท. รายงานผลการดำเนินงานปี 2565 ของปตท. และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายจำนวน 3.367,203 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,108.385 ล้านบาท หรือ 49.1% จากปี 2564 ที่จำนวน 2,258,818 ล้านบาท กำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ต้นทุนทางการเงิน และภาษีเงินได้ (EBITDA)จำนวน 491,288 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 63.332 ล้านบาท หรือ 14.8% จากปี 2564 ที่จำนวน 427,956 ล้านบาท

แต่ปรากฎว่า กำไรสุทธิจำนวน 91,175 ล้านบาท ลดลงจำนวน 17,188 ล้านบาท ลดลง 15.9% จากปี 2564 ที่มี 108,363 ล้านบาท

รายได้ ปตท. เพิ่มขึ้นจากอะไร

สำหรับรายได้ ปี 2565 ที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากทุกกลุ่มธุรกิจ ทั้งกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น กลุ่มธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีก และกลุ่มธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น เป็นผลจากราคาขายเฉลี่ยและปริมาณขายรวมที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโลก กลุ่มธุรกิจก๊าชธรรมชาติมีรายได้เพิ่มขึ้นตามราคาขายเฉลี่ยที่ปรับเพิ่มขึ้น ตามราคา Pool Gas และผลิตภัณฑ์ที่อ้างอิง แม้ว่าปริมาณขายก๊าซฯ ลดลงจากปริมาณก๊าซฯในอ่าวที่ผลิตได้ลดลงจากการเปลี่ยนผ่านผู้ดำเนินการในสัมปทานใหม่

ขณะที่ EBITDA ที่เพิ่มขึ้นโดยหลักจากผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นของกลุ่มธุรกิจสำรวจและผลิตปีโตรเลียม ตามราคาขายเฉลี่ย และปริมาณขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น รวมถึงผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจถ่านหินที่เพิ่มขึ้นตามราคาขายเฉลี่ยสูงขึ้น อย่างไรก็ตามกลุ่มธุรกิจก๊าชธรรมชาติมีผลการดำเนินงานที่ลดลงจากต้นทุนค่าเนื้อ ก๊าซฯ ที่เพิ่มขึ้นมากตามราคา Pool Gas

นอกจากนี้ ผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจปีโตรเคมีและการกลั่นลดลงโดยหลักจากธุรกิจปิโตรเคมี ตามส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบปรับตัวลดลงในเกือบทุกผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ดี ธุรกิจการกลั่นมีผลการดำเนินงานดีขึ้นจากกำไรขั้นต้นจากการกลั่น (Markct GRM) ที่เพิ่มขึ้นจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้น แม้ว่ากำไรสต๊อกน้ำมันลดลงตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2565

ทำไม ปตท. กำไรหด

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากำไร EBITDA เพิ่มขึ้นจากธุรกิจสำรวจและผลิตที่มีผลการดำเนินงานดีขึ้นตามราคาขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นตามราคาพลังงานในตลาดโลก และปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว แต่ธุรกิจก๊าซธรรมชาติมีผลการดำเนินงานลดลงจากต้นทุนก๊าซฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก จากการนำเข้า Spot LNG เพื่อรองรับความต้องการใช้ก๊าซฯ ในประเทศ และธุรกิจปีโตรเคมีและการกลั่นมีผลการดำเนินงานลดลงเช่นกัน

โดยหลักจากธุรกิจปีโตรเคมีที่มีส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบปรับลดลง โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี ที่ราคาปิโตรเคมีปรับตัวลดลงจากความกังวลเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอย รวมถึงในปี 2565 ต้นทุนทางการเงิน ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ผลขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ และผลขาดทุนจากการรับรู้รายการขาดทุนที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำสุทธิภาษีตามสัดส่วนของ ปตท. เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2564

นอกจากนี้ ปตท.ยังช่วยเหลือด้านราคาพลังงานให้แก่ประชาชน โดยได้ขยายการตรึงราคาขายปลีก NGV สำหรับกลุ่มรถแท็กซี่ในเขต กทม. และปริมณฑล 13.62 บาท/กก. ไปจนถึง 15 มีนาคม 2566 รวมทั้งยังคงตรึงราคาขายปลีก NGV ของรถยนต์ทั่วไปอยู่ที่ 17.59 บาท/กก. ตั้งแต่ 16 ธันวาคม 2565 เป็นต้นไป รามถึงขยายระยะเวลาการช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อย ที่เป็นร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวนเงิน 100 บาท/คน/เดือน ไปจนถึง 31 มีนาคม2566 และ ปตท. ร่วมช่วยบรรเทาภาระต้นทุนการผลิตไฟฟ้าให้กับประชาชน

ทั้งยังมีการสนับสนุนเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยเหลือประชาชนเป็นการเร่งด่วนจากสถานการณ์วิกฤต เป็นจำนวน 3,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ การที่กำไรสุทธิ ในปี 2565 ปตท. และบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิจำนวน 91,175 ล้านบาท ลดลงจำนวน 17,188 ล้านบาท แม้ว่าบริษัทจะมี EBITDA เพิ่มขึ้น เนื่องจากในปี 2565 มีขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ ดันทุนทางการเงิน ค่าเสื่อมราคาและคำตัดจำหน่ายเพิ่มขึ้น

รวมทั้ง มีการรับรู้รายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำ สุทธิภาษีตามสัดส่วนของ ปตท. เป็นรายการขาดทุนประมาณ 10,200 ล้านบาท โดยหลักจากการด้อยค่าสินทรัพย์โครงการโมซัมบิก แอเรีย 1 ประมาณ 4,300 ล้านบาท ประมาณการหนี้สินสำหรับการระงับการดำเนินคดี แบบกลุ่มจากเหตุการณ์แหล่งมอนทาราประมาณ 3,000 ล้านบาท

การด้อยค่าสินทรัพย์ของ PTTEP Brazil Investments in Oil and Gas Exploration and Production Limitada (PTTEP BL) ภายหลังจากการจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้ เพื่อขายประมาณ 2,300 ล้านบาทของบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปีโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (PTTEP) รวมถึงการจ่ายเงินสนับสนุนเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงช่วงสถานการณ์วิกฤตจำนวน 3,000 ล้านบาท สุทธิกับการรับรู้ส่วนลดจากปริมาณที่ผู้ผลิตส่งได้ไม่ถึงปริมาณตามสัญญา (Shortfall) ประมาณ 3,400 ล้านบาทของ ปตท.

ขณะที่ในปี 2564 มีผลขาดทุนประมาณ 6,900 ล้นบาท โดยหลักจากการด้อยค่าสินทรัพย์โครงการโมซัมบิก แอเรีย 1 ประมาณ 3,600 ล้านบาท และการด้อยค่าทรัพย์สินของธุรกิจ NGV ประมาณ 3,500 ล้านบาท

ผลการดำเนินงาน ไตรมาส 4/65

ผลการดำเนินงานไตรมาส 4 ปี 2565 ปตท. และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายจำนวน 797,174 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจำนวน 108.337 ล้านบาท หรือ 15.7% จากในไตรมาส 4 ปี 2564 (4Q2564) ที่จำนวน 688,837 ล้านบาท

สำหรับรายได้ไตรมาส 4 เพิ่นขึ้นจากเกือบทุกกลุ่มธุรกิจ โดยรายได้ของกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นจากราคาขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น แม้ว่า ปริมาณขายลดลง กลุ่มธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีก และกลุ่มธุรกิจสำรวจ

และผลิตปีโตรเลียมเพิ่มขึ้น เป็นผลจากราคาขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ในตลาดโลก รวมถึงปริมาณขายโดยรวมที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น โดยหลักจากธุรกิจจัดหาและจัดจำหน่ายก๊าซฯ ตามราคา Pool Gas ที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าปริมาณ ขายก๊าซฯ ลดลง โดยหลักจากลูกค้ากลุ่มโรงไฟฟ้าปรับแผนบริหารจัดการเชื้อเพลิง โดยเดินเครื่องโรงไฟฟ้าบางโรงด้วยน้ำมันดีเซลทดแทนการใช้ก๊าซฯ รวมทั้งปริมาณก๊าซฯ ในอ่าวที่ผลิตได้ลดลงจากการเปลี่ยนผ่านผู้ดำเนินการในสัมปทานใหม่ทำให้ปริมาณการขายให้โรงแยกก๊าซฯ ลดลง

นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐานพื้นฐานที่มีรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นจากราคาขายไฟฟ้า และไอน้ำเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นตามราคาก๊าซฯ และถ่านหินที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงการเริ่มรับรู้รายได้ของธุรกิจยาจากบริษัท Lotus Pharmaceutical Company Limited (Lotus) ตั้งแต่เดือน เม.ย. 2565

อย่างไรก็ตาม กลุ่มธุรกิจปีโตรเคมีและการกลั่นมีรายได้จากการขายลดลง โดยหลักจากปริมาณขายที่ลดลง จากการปรับลดกำลังการผลิตและการหยุดซ่อมบำรุงตามแผนของโรงกลั่นและโรงปีโตรเคมีในไตรมาส 4/2565

ขาดทุนสต๊อกน้ำมัน

ส่วน EBITDA จำนวน 73,542 ล้านบาท ลดลงจำนวน 27,729 ล้านบาท หรือ 27.4% จากใน 4/2564 ที่จำนวน 101,271 ล้านบาท โดยหลักจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นที่ลดลง เนื่องจากมีขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันของกลุ่ม ปตท. เพิ่มขึ้นประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยธุรกิจการกลั่นมีผลการดำเนินงานลดลง จากปริมาณขายที่ลดลง แม้ว่า Market GR.M เพิ่มขึ้นจากส่วนต่างราคาน้ำมันดีเซล และน้ำมัน อากาศยานกับน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับผลการดำเนินงานของธุรกิจปีโตรเคมีปรับตัวลดลงจากปริมาณขายที่ลดลง และส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบปรับตัวลดลงในเกือบทุกผลิตภัณฑ์

ผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศปรับตัวลดลง จากส่วนต่างราคาซื้อขายคอนเดนเสทในประเทศ รวมถึงผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปที่ปรับตัวลดลง

นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจก๊าชธรรมชาติมีผลการดำเนินงานลดลงจากกำไรขั้นต้นของธุรกิจ โรงแยกก๊าซ ที่ลดลง จากต้นทุนค่าเนื้อก๊าซฯ ที่สูงขึ้น ตามราคาก๊าซฯ ในอ่าวที่เพิ่มขึ้น รวมถึงผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มีราคาขายเฉลี่ย และปริมาณการขายลดลง และธุรกิจ NGV ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากต้นทุนค่าเนื้อก๊าซฯ ที่เพิ่มขึ้นตามราคา Pool Gas รวมทั้งต้นทุนส่วนเพิ่มจากนโยบายการคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติ (EPP)

นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีกมีผลการดำเนินงานที่ปรับตัวลดลงเช่นกัน จากภาพรวมกำไร ขั้นต้นเฉลี่ยต่อลิตรลดลงโดยหลักจากดีเซล และเบนซิน ตามต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นจากการนำเข้าผลิตภัณฑ์ในช่วงโรงกลั่นหลักในประเทศปิดซ่อมบำรุง

อย่างไรก็ตามกลุ่มธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นตามปริมาณขายเฉลี่ย และราคาขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น ในไตรมาส 4/2565 ปตท. และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 17,872 ล้านบาท ลดลงจำนวน 9,672 ล้านบาท หรือร้อยละ 35.1 จากในไตรมาส 4/2564 ที่จำนวน 27,544 ล้านบาท ตาม EBITDA ที่ลดลง และค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม บริษัทมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น

ประกอบกับในไตรมาส 4 / 2565 มีการรับรู้รายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำสุทธิภาษีตามสัดส่วนของ ปตท. เป็นขาดทุนประมาณ 7,700 ล้านบาท โดยหลักจากการด้อยค่าสินทรัพย์ โครงการโมซัมบิก แอเรีย 1 ประมาณ 4,300 ล้านบาท

และประมาณการหนี้สินสำหรับการระงับการดำเนินคดีแบบกลุ่มจากเหตุการณ์แหล่งมอนทาราประมาณ 3,000 ล้านบาท ของ PTTEP ขณะที่ในไตรมาส 4/2564 มีผลขาดทุนประมาณ 6,900 ล้านบาท โดยหลักจากการด้อยค่าสินทรัพย์โครงการ โมซัมบิก แอเรีย 1 ประมาณ 3,600 ล้นบาท และการด้อยค่าทรัพย์สินของธุรกิจ NGV ประมาณ 3,500 ล้านบาท

ผลงานไตรมาส 4 ปี 65 เทียบไตรมาสก่อนหน้า

ทั้งนี้ ปตท. และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายจำนวน 797,174 ล้านบาท ลดลงจำนวน 87,436 ล้านบาท หรือ 9.9% จากในไตรมาส 3 ปี 2565 (3Q2565) ที่จำนวน 884,610 ล้านบาท โดยรายได้ของกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และกลุ่มธุรกิจปีโตรเคมีและการกลั่นลดลงจากปริมาณการขายที่ลดลง รวมทั้งราคาขายเฉลี่ยปรับตัวลดลงตามราคาผลิตภัณฑ์ในตลาดโลก

นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติมีรายได้ลดลงตามราคา Pool Gas และผลิตภัณฑ์ที่อ้างอิงปรับลดลง รวมทั้งปริมาณขายก๊าซฯ ลดลงโดยหลักจากลูกค้ากลุ่มโรงไฟฟ้าที่ปรับแผนบริหารจัดการเชื้อเพลิงโดยใช้น้ำมันดีเซลทดแทนการใช้ก๊าซฯ และความต้องการใช้ไฟฟ้าของภาคครัวเรือนที่ลดลงในช่วงฤดูหนาว

อย่างไรก็ดี กลุ่มธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีกมีรายได้จากการขายเพิ่มขึ้น ตามปริมาณขายโดยรวมที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์น้ำมัน

ดีเซลและน้ำมันอากาศยานเพื่อจำหน่ายให้ลูกค้าโรงไฟฟ้ที่ต้องการใช้ดีเซลเป็นเชื้อเพลิงทดแทนก๊าซฯ และลูกค้ากลุ่มเรือขนส่ง รวมถึงสถานการณ์ COVID-19 ที่คลี่คลาย และการเปิดประเทศ

EBITDA ปตท.เทียบไตรมาสลดลง

ในไตรมาส 4/2565 ปตท. และบริษัทย่อยมี EBITDA จำนวน 73,542 ล้านบาท ลดลงจำนวน 18,735 ล้านบาทหรือร้อยละ 20.3 จากในไตรมาส 3/2565 ที่จำนวน 92,277 ล้านบาท โดยหลักจากกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศปรับตัวลงจากกำไรต่อหน่วยของการค้าน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบลดลงตามราคาน้ำมันในตลาด โลกที่มีแนวโน้มลดลงและการรับรู้ขาดทุนจาก Mark-to-market ของสินค้าคงเหลือ

ผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐานปรับตัวลดลง โดยหลักจาก บริษัท ปตท. โกลบอล แมนเนจเม้นท์ จำกัด (PTTGM) ที่กำไรขั้นต้นลดลงตามรายได้จาก ธุรกิจยาลดลง และบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) ที่มีกำไรขั้นต้นของโรงไฟฟ้าผู้ผลิตขนาดเล็ก (Small Power Producer: SPP) ลดลงจากต้นทุนเชื้อเพลิงที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

สำหรับกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี และการกลั่นมีผลการดำเนินงานลดลง จากทั้งธุรกิจปีโตรเคมีตามส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบ รวมถึงปริมาณขายที่ลดลง

นอกจากนี้ ธุรกิจการกลั่นปรับตัวลดลงจากปริมาณขายที่ลดลง แม้ว่า Mark GRM เพิ่มขึ้นจากส่วนต่างราคาน้ำมันดีเซล และน้ำมันอากาศยานกับน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้ง Crude Premium ปรับตัวลดลง

อย่างไรก็ตามผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันของกลุ่ม ปตท. ลดลงประมาณ 7,500 ล้านบาท อย่างไรก็ตามกลุ่มธุรกิจก๊าชธรรมชาติมีผล การดำเนินงานดีขึ้น โดยหลักจากธุรกิจจัดหาและจัดจำหน่ายก๊าซฯ และธุรกิจ NGV ตามต้นทุนค่าเนื้อก๊าซฯ ที่ปรับลดลงตามราคา Pool Gas ในไตรมาส 4/2565 ปตท. และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 17,872 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 8,988 ล้านบาท หรือ มากกว่าร้อยละ 100.0 จาก 302565 ที่จำนวน 8,884 ล้านบาท แม้ว่า EBITDA ลดลง และขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม บริษัทมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นอย่างมากในไตรมาสนี้ นอกจากนี้ในไตรมาส 4/2565 มีการรับรู้รายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำ สุทธิภาษีตามสัดส่วนของ ปตท. เป็นขาดทุนประมาณ 7,700 ล้านบาทดังกล่าวข้างต้น ขณะที่ ในไตรมาส 3/2565 มีผลขาดทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยหลักจากการด้อยค่าสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายจาก PTTEP BL ของ PTTEP ประมาณ 2,300 ล้านบาท

สถานะการเงิน ปตท. สิ้นปี 65

ทั้งนี้ สถานะการเงินของ ปตท. และบริษัทย่อย ณ 31 ธันวาคม 2565 บริษัทมีสินทรัพย์ รวม 3,415,632 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 344,248 ล้านบาท หรือ 11.2% จาก ณ 31 ธันวาคม 2564 ที่มีสินทรัพย์รวมจำนวน 3,071.384 ล้านบาท โดยหลักจากสินทรัพย์หมุนเวียนประเภทสินค้าคงเหลือและลูกหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นจากปัจจัยด้านราคาขายตามราคาตลาด รวมถึงที่ดิน อาหารและอุปกรณ์เพิ่มขึ้น

โดยหลักจากสินทรัพย์เพื่อการสำรวจและผลิตปีโตรเลียมในโครงการ G1/61 และ G2/61 ของ PTTEP และงานระหว่างก่อสร้างในโครงการพลังงานสะอาด (Clean Fuel Project: CFP) ของ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (TOP) อีกทั้ง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นเพิ่มขึ้น โดยหลักจากสินทรัพย์สิทธิการใช้ในโครงการ G1/61 และ G2/61 รวมทั้งสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่นและค่าความนิยมเพิ่มขึ้น

จากการเข้าซื้อธุรกิจยาของ PTTGM ในขณะที่มีหนี้สินรวมทั้งสิ้น 1,881,939 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ 31 ธันวาคม 2564 จำนวน 283,495 ล้นบาท หรือร้อยละ 17.7 จากเงินกู้ระยะสั้นและระยะยาวเพิ่มขึ้น โดยหลักจากบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC) ปตท. และ TOP

นอกจากนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 มีส่วนของผู้ถือหุ้น จำนวน 1,533,693 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 60,753 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.1 จากกำไรสุทธิของปตท. และบริษัทย่อยในปี 2565 สุทธิด้วย การจ่ายเงินปันผลสำหรับผลประกอบการครึ่งหลังของปี 2564 และผลประกอบการครึ่งแรกของปี 2565