รู้จักผ้าไหมลายดอกเอเดลไวส์ความหมายของรักแท้

ผ้าไหมลายดอกเอเดลไวส์

รู้จักผ้าไหมลายดอกเอเดลไวส์ความหมายของรักแท้

วันที่ 8 มีนาคม  2566 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประกอบ เผ่าพงศ์ อธิบดีกรมหม่อนไหม

ตลอดจนผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารและข้าราชการกรมหม่อนไหม รวมทั้งช่างทอผ้า จำนวน 5 คน เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต วันที่ 7 มีนาคม 2566 เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือ “จากพันธุ์ไม้ สู่ แพรพรรณ”

ผ้าไหมลายดอกเอเดลไวส์

ซึ่งเป็นข้อมูลการออกแบบลายผ้า ดอกเอเดลไวส์ จำนวน 100 เล่ม เพื่อพระราชทานตามพระราชอัธยาศัย และผ้าไหมลายดอกเอเดลไวส์ จำนวน 5 ผืน แด่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมหม่อนไหม ได้น้อมนำพระราชกรณียกิจด้านหม่อนไหมของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงอนุรักษ์ความรู้ ภูมิปัญญา วัฒนธรรมด้านลวดลายผ้าไหมให้คงอยู่กับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน เพื่อเป็นการสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชปณิธานของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

ผ้าไหมลายดอกเอเดลไวส์

โดยได้จัดทำโครงการออกแบบลายผ้า จัดพิมพ์หนังสือและทอผ้าไหมลายดอกเอเดลไวส์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2565 ซึ่งเป็นการริเริ่ม สร้างสรรค์ พัฒนาลวดลายผ้าไหมให้มีความหลากหลาย

สำหรับการออกแบบลายผ้าดอกเอเดลไวส์ ประกอบด้วย 5 เทคนิค ได้แก่ มัดหมี่ ยกดอก จก ขิด และบาติก โดยได้จัดพิมพ์ใสหนังสือ “จากพันธุ์ไม้สู่ แพรพรรณ” ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการออกแบบลายผ้า ดอกเอเดลไวส์ เพื่อส่งต่อให้ช่างทอผ้าไหมของไทยทุกภูมิภาคได้สานต่องานทอผ้าให้มีความหลากหลาย และเพิ่มมูลค่าให้แก่ผ้าไหมไทยต่อไป

ในหลวงฯ

ทั้งนี้ ผ้าไหมลายดอกเอเดลไวส์ จำนวน 5 ผืนดังกล่าว เป็นผ้าที่สร้างสรรค์โดยช่างทอผ้าไหมที่มีความเชี่ยวชาญแต่ละเทคนิค ได้แก่

1. ผ้าไหมมัดหมี่ โดยนายณกรณ์ ตั้งหลัก กลุ่มผาสารทแก้ว ผ้าทอลายโบราณ จังหวัดมหาสารคาม ตัวแทนประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

2.ผ้าไหมยกดอกลำพูน โดยนางสาวจิรากุล วรรณเวก กลุ่มศูนย์เรียนรู้และอนุรักษ์การทอผ้าไหมยก ลำพูนไหมไทย จังหวัดลำพูน ตัวแทนประชาชนภาคเหนือ

3.ผ้าขิดไหม โดยนางลำดวน นันทะสุธา กลุ่มทอผ้าขิดไหมบ้านโพธ์คํ้า จังหวัดหนองบัวลำภู ตัวแทนประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

4. ผ้าจกไหม โดยนางณัฐธภา ทิพย์วัจนะ กลุ่มสมจิต ผ้ารางบัว จังหวัดราชบุรี ตัวแทนประชาชนภาคกลาง

5.ผ้าไหมบาติก โดยนายปิยะ สุวรรณพฤกษ์ กลุ่มศรียะลาบาติก จังหวัดยะลา ตัวแทนประชาชนภาคใต้

ในหลวงฯ

สำหรับดอกเอเดลไวส์ (Edelweiss) เป็นดอกไม้ประจำชาติสวิสเซอร์แลนด์ เป็นพันธุ์ไม้ที่พบในเขตหนาวหรือเขตอบอุ่นในประเทศโซนยุโรป และเป็นดอกไม้ที่น่าหลงใหลแห่งเทือกเขาแอลป์ เป็นไม้ดอกขนาดเล็กสีขาว ความหมายของดอกไม้นี้คือ “รักแท้” เพราะเชื่อกันว่าชายใดหากมอบดอกไม้นี้แก่หญิงสาว นั่นหมายถึง เขามีความมั่นคงและมีความพยายาม เนื่องจากดอกไม้นี้จะบานเพียงปีละ 3 ครั้ง

อีกทั้งว่ากันว่าหากเด็ดดอกเอเดลไวส์มาแล้ว รูปร่างของดอกจะไม่เปลี่ยนแปลง หรือเหี่ยวเฉา และได้รับการขนานนามว่า “ราชินีแห่งเทือกเขาแอลป์”

ในหลวงฯ

ทั้งนี้ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ได้พระราชทานเมล็ดพันธุ์ให้แก่มูลนิธิโครงการหลวง เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2562 เพื่อนำไปวิจัย พัฒนาและทดสอบปลูกเลี้ยงในสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ และพบว่าต้นเอเดลไวส์สามารถเจริญเติบโตและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี เพื่อให้คนไทยได้ชื่นชมความงดงามของดอกเอเดลไวส์ในประเทศไทย

ผ้าไหมลายดอกเอเดลไวส์