ส่งออกข้าวครึ่งปีแรก 2566 ทะลุ 4 ล้านตัน “เอเซียโกลเด้นไรซ์” ครองเบอร์ 1 

ส่งออกข้าว

ส่งออกข้าวครึ่งปีแรก 2566 กวาด 4 ล้านตัน “เอเซียโกลเด้นไรซ์” ครองแท่นเบอร์ 1 จับตาครึ่งปีหลังราคาข้าวพุ่งตันละ 3,000 บาท หลังอินเดียหยุดส่งออก ไทยเสี่ยงเจอเอลนีโญ ราคาดีไม่มีของ

วันที่ 26 กรกฎาคม 2566 กระทรวงพาณิชย์ เปิดรายงานตัวเลขการส่งออกข้าวเดือน มิ.ย. 2566 มีปริมาณ 572,114.9 ตัน ลดลง 25.4% ด้านมูลค่าทำได้ 327.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 15% โดยราคาเฉลี่ยต่อตันอยู่ที่ 572 เหรียญสหรัฐต่อตัน 

ส่วนปริมาณส่งออกสะสม 6 เดือนแรก (ม.ค.-มิ.ย.) 2566 มีปริมาณ 4.03 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า มูลค่า 2,223 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 20.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 

ขณะที่รายงานจากสมาคมผู้ส่งออกข้าว ซึ่งจะเหลื่อมกับตัวเลขกระทรวงพาณิชย์เล็กน้อย ระบุว่า ภาพรวมการส่งออกข้าวไทย เดือน มิ.ย. 2566 เท่ากับ 555,393.37 ตัน ส่งผลให้ยอดส่งออกข้าวครึ่งปี หรือ 6 เดือนแรก (ม.ค.-มิ.ย.) 2566 เท่ากับ 4,022,761.25 ตัน 

รายชื่อผู้ส่งออกข้าวที่สามารถทำยอดส่งออกสูงสุด ได้แก่  

1.กลุ่มเอเซียโกลเด้นไรซ์ มิถุนายน 76,449.26 ตัน รวม 6 เดือน 539,419.55 ตัน

2.กลุ่มนครหลวง มิถุนายน 70,468.25 ตัน รวม 6 เดือน 480,276.24 ตัน

3.กลุ่มธนสรรไรซ์ มิถุนายน 29,561.53 ตัน รวม 6 เดือน 326,901.84 ตัน

4.กลุ่มโกลเด้นแกรนารี่ มิถุนายน 56,533.19 ตัน รวม 6 เดือน 281,691.20 ตัน

5.กลุ่ม ซี.พี. มิถุนายน 46,305.24 ตัน รวม 6 เดือน 264,561.43 ตัน

6.กลุ่มไทยฟ้า มิถุนายน 17,396.22 ตัน รวม 6 เดือน 222,068.18 ตัน

นายสมบัติ เฉลิมวุฒินันท์ ประธานบริษัท เอเซีย โกลเด้นท์ไรซ์ จำกัด กล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกข้าวในช่วงครึ่งปีหลังยังต้องจับตามอง 2 ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการส่งออกคือ ผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ทำให้ยูเครนไม่สามารถส่งธัญพืชได้ ส่งผลเชื่อมโยงมาถึงอินเดียซึ่งเป็นประเทศที่มีการใช้ข้าวสาลีจำนวนมาก จึงได้ประกาศห้ามส่งออกข้าวทุกชนิดยกเว้นบาสมาติ ทำให้ราคาข้าวส่งออกปรับสูงขึ้น ขณะเดียวกัน ยังมีปัจจัยจากภาวะภัยแล้งและผลทิ้งช่วงจากปรากฎการณ์เอลนีโญด้วย ซึ่งหลายฝ่ายจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินสถานการณ์การส่งออกอีกครั้ง โดยยังมองว่าน่าจะทำได้ 7.5 ล้านตัน 

นายศุภชัย วรอภิญญาภรณ์ ประธานกรรมการ บริษัท ธนสรรไรซ์ จำกัด กล่าวว่า มองว่าแนวโน้มไตรมาส 4 ตลาดข้าวจะกลับมาหลังจากอินเดียประกาศหยุดส่งออก จะส่งผลดีต่อข้าวขาวทุกชนิด อย่างไรก็ตามในอดีตก็เคยมีว่าอินเดียหยุดส่งออกเพียงแค่ 1-2 สัปดาห์แล้วกลับมาส่งออกใหม่ ดังนั้นต้องจับตามดูอยู่ ไม่เพียงเท่านั้นยังมีปัจจัยเรื่องแล้งด้วย 

“อินเดียผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ประกาศหยุดส่งออก มีผลต่อราคาข้าว โดยราคาข้าวสารที่รับซื้อตอนนี้ปรับขึ้นจาก 15,000-16,000 บาท เป็น 18,000 บาท แล้ว โดยราคาส่งออกปรับขึ้นไปถึง 100 เหรียญสหรัฐต่อตันในเวลาเพียงแค่ 1 สัปดาห์ แนวโน้มราคายังมีโอกาสจะทรงตัวสูง ผู้ส่งออกต้องบริหารจัดการสต๊อกทั้งโรงสีและส่งออก โดยโรงสีมีทั้งที่รับออเดอร์ไว้แล้วส่งได้ เพราะมีสต๊อกและไม่ส่งก็มี เพราะบางรายไม่มีข้าว เป็นการบอกขายล่วงหน้า”

เช่นเดียวกับนายมานัส กิจประเสริฐ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโรงสีข้าวไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคารับซื้อข้าวเปลือกขาวสารขยับขึ้นหมด โดยราคาข้าวเปลือกรับซื้อที่ข้าวสด 10,000-10,500 บาท ข้าวเปลือกความชื้น 15% ตันละ 11,500 บาท เป็นผลจากราคาข้าวสาร 5% ปรับขึ้นจาก 13,000-14,000 บาทต่อตัน เป็น 18,000 บาทต่อตัน และจากคาดการณ์ว่าเอลนีโญจะมาอีก หลายฝ่ายมั่นใจว่าแล้ง