อัครา เดินหน้าปลูกต้นไม้ 1,000,000 ต้น รอบเหมืองแร่ทองคำชาตรี

อัครา รีซอร์สเซส ประกาศเจตนารมณ์เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้แก่ชุมชนรอบเหมืองแร่ทองคำชาตรี เป้าหมาย 1,000,000 ต้น ภายในปี 2570 ล่าสุดดำเนินการปลูกต้นไม้และมอบต้นไม้ให้กับชุมชนไปแล้วจำนวน 31,585 ต้น เพื่อสอดรับเจตนารมณ์ของประเทศไทยในความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2583

วันที่ 18 กันยายน 2566 นายเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายความยั่งยืนขององค์กร บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บ. อัครา รีซอร์สเซส ได้ประกาศเจตนารมณ์เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้แก่ชุมชนรอบเหมืองแร่ทองคำชาตรี เป้าหมาย 1,000,000 ต้น ภายในปี 2570

ล่าสุดดำเนินการปลูกต้นไม้และมอบต้นไม้ให้กับชุมชนไปแล้วจำนวน 31,585 ต้น เพื่อสอดรับเจตนารมณ์ของประเทศไทยในความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2583 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emissions) ภายในปี 2593

โครงการปลูกต้นไม้ 2 โครงการ ที่บริษัทดำเนินการคือ “โครงการปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก” กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนล่าง สำนักงานจังหวัดพิจิตร สาขาวังทรายพูน โดยทีมงานร่วมปลูกต้นไม้ 400 ต้น ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ 459 บ้านดงคันแทว หมู่ 9  ตำบลหนองพระ อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566

และ “โครงการพัฒนาป่าไม้ร่วมกับองค์กรและเครือข่ายแบบบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” โดยมีนายอภิรักษ์ โมนุช นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ท่าโพ เป็นประธานในพิธี โดยทีมงานร่วมปลูกกล้าไม้ยืนต้น 200 ต้น ณ วัดโพธิ์เงิน หมู่ที่ 5 ตำบลไผ่ท่าโพ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566 นอกจากนี้ อัครายังได้มอบน้ำดื่มอัคราเพื่อนชุมชน อาหารว่าง และมอบต้นฝรั่ง ต้นเงาะให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมอีกจำนวน 100 ต้น

อย่างไรก็ดี อัครานำหลัก ESG มาใช้เป็นกรอบการบริหารธุรกิจให้ยั่งยืนบนพื้นฐานที่ว่า ธุรกิจควรเติบโตไปพร้อมกับการดูเเลสิ่งแวดล้อม (Environmental) เเละสังคม (Social) อย่างมีบรรษัทภิบาล (Governance) หรือมีการกำกับดูแลองค์กรอย่างโปรงใส เป็นธรรม ซึ่งทั้งหมดนี้จะเกื้อหนุนกันจนทำให้เกิดการพัฒนาด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน

ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs (Sustainable Development Goals) ของสหประชาชาติ และสอดรับกับเจตนารมณ์ของประเทศไทยในความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2583 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emissions) ภายในปี 2593