ส่องครึ่งทาง “COP28” ถก 4 วาระกู้โลกร้อน

COP28

การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 (COP28) ระหว่าง 30 พ.ย.-12 ธ.ค. ในปีนี้

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ นายสรยุทธ ชาสมบัติ เอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี เข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ ในการประชุมระดับผู้นำ World Climate Action Summit ระหว่างวันที่ 1-2 ธันวาคม 2566 ณ เมืองดูไบ สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ พร้อมด้วย ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พร้อมคณะเข้าร่วมการประชุม

สรยุทธ ชาสมบัติ
สรยุทธ ชาสมบัติ

โดยการประชุมระดับผู้นำ World Climate Action Summit มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

(1) Mohamed bin Zayed Al Nahyan ประธานาธิบดีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) เน้นย้ำพันธกรณีของ UAE ในการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) ภายในปี ค.ศ. 2050 พร้อมกับการสมทบเงินทุน 30 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสนับสนุนการลงทุนในพลังงานสะอาด

(2) UN Secretary-General Antonio Guterres เน้นย้ำความสำคัญของ global stocktake จะช่วยนำไปสู่การลดก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม

(3) King Charles III แห่งสหราชอาณาจักร เรียกร้องให้มีการผสมผสานระหว่าง public และ private finance เพื่อนำไปพัฒนากลไกทางเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ยั่งยืน และเกิดการไหลเวียนของเงินทุนที่มีประสิทธิภาพ

(4) ประธานาธิบดี Luiz Inacio Lula da Silva สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ในฐานะประธาน COP30 เน้นย้ำการลดช่องว่างของความไม่เท่าเทียมในการเจรจาพหุภาคี พร้อมทั้งตั้งเป้าหมายประกาศลดการตัดไม้ทำลายป่าเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2030

พร้อมกันนี้ในการประชุมดังกล่าว ยังได้มีการจัดพิธีรับรองปฏิญญา Emirates Declaration on Sustainable Agriculture, Resilient Food Systems, and Climate Action ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 134 ภาคี ที่ให้การรับรองปฏิญญา เน้นย้ำความสำคัญของระบบอาหารและเกษตรกรรมที่มีต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ พร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

อีกหนึ่งประเด็นที่ประชาคมโลกให้ความสนใจคือ การให้งบฯอุดหนุนกองทุนสำหรับการสูญเสียและความเสียหาย (Loss and Damage Funding) โดย UAE สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกองทุนดังกล่าวต่อไป