โฉนดที่ดิน ส.ป.ก.4-01 ต่างจากที่ดินทั่วไปอย่างไร

ที่ดิน ส.ป.ก.

คนไทยทั่วไปคงได้ยินคำว่า โฉนดที่ดิน, ที่ดิน ส.ป.ก., ที่ดิน น.ส.3 ก. และ น.ส.4 กันบ่อย ๆ แต่อาจจะไม่รู้ว่าโฉนดที่ดิน ที่ดิน ส.ป.ก. มีความหมายความแตกต่างกันอย่างไร

วันที่ 10 มกราคม 2567 เมื่อมาดูคำว่า โฉนดที่ดิน คือ หนังสือสำคัญที่มีไว้แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ที่ออกให้โดยกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ผู้ที่มีโฉนดที่ดินจะถือว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ระบุไว้ในเอกสาร และมีอำนาจในการใช้ประโยชน์จากที่ดินตามพื้นที่ที่ระบุในโฉนดที่ดินนั้น เช่น การซื้อ การขาย การให้เช่า หรือการโอนสิทธินี้ให้ผู้ใด รวมถึงมีสิทธิขัดขวางผู้ที่จะเข้ามาใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายอีกด้วย

ที่ดิน ส.ป.ก.4-01 คือ เอกสารที่แสดงการครอบครองที่ดิน ซึ่งสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ออกให้กับประชาชน เพื่อใช้ทำเกษตรกรรมเท่านั้น เอกสารนี้ไม่สามารถซื้อ ขาย โอน จำนอง และห้ามใช้ทำประโยชน์ที่ไม่ใช่การเกษตร แต่สามารถโอน แบ่งแยก และตกทอดทางมรดกแก่ทายาทได้ และทายาทต้องใช้ทำเกษตรกรรมเท่านั้น

ที่ดิน ส.ป.ก.4-01 ในความหมาย คือ เป็นโฉนดที่ดินที่รัฐเป็นเจ้าของ แต่ให้สิทธิแก่ประชาชนเข้ามาทำเกษตรกรรม

สำหรับข้อแตกต่างของ ส.ป.ก.4-01 ครุฑแดง และโฉนดที่ดินครุฑแดง คือ หัวเอกสาร ส.ป.ก.4-01 ครุฑแดง จะเขียนว่า “หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน” ส่วนโฉนดที่ดิน น.ส.4 ครุฑแดง จะเขียนว่า “โฉนดที่ดิน”

Advertisment

สิทธิในที่ดินแต่ละประเภท

สำหรับรูปแบบของเอกสารสิทธิในแต่ละประเภทจะแบ่งได้ ดังนี้ โฉนด – เป็นหนังสือที่ออกโดยกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ออกให้ในฐานะหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ มีตราครุฑสีแดง ผู้ที่มีชื่อเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน มีสิทธิ ใช้สอย ซื้อขาย ทำประโยชน์ได้เต็มรูปแบบ มีการรังวัด ปักเขตอย่างชัดเจน
ส.ป.ก.4-01 – เป็นที่ดินของรัฐ ถือครองโดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ส.ป.ก. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ที่อนุญาตให้เกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ได้ด้วยการอยู่อาศัยและใช้ทำเกษตรกรรม ผู้มีชื่อไม่สามารถใช้ทำนิติกรรมใด ๆ ได้

การจำนองที่ดินโฉนด-ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน

สามารถนำที่ดินออกจำนองได้ด้วยการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ตามหลักเกณฑ์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส.ป.ก.4-01 – ที่ดิน ส.ป.ก.เป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ออกให้ราษฎรเพื่อใช้ทำการเกษตรเท่านั้น เกษตรกรผู้มีชื่อเป็นผู้ถือครองประโยชน์ในที่ดินไม่ใช่เจ้าของ ดังนั้นไม่สามารถนำที่ดินออกจำนองได้ เว้นแต่ในบางโครงการของรัฐจะอนุญาตให้ใช้ “สิทธิทำกินในที่ดิน” เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินได้ ก็สามารถนำเอาสิทธิทำกินในที่ดินเป็นหลักประกันในการกู้ยืมได้เช่นกัน

เปลี่ยนมือที่ดินได้โฉนด-การโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เป็นการโอนอสังหาริมทรัพย์ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดิน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

ส.ป.ก.4-01 – ผู้มีสิทธิทำประโยชน์ในที่ดิน ไม่ใช่เจ้าของหรือผู้ทรงสิทธิครอบครองในที่ดิน ไม่อาจแบ่งแยก หรือโอนตัวที่ดินให้กับบุคคลอื่นได้ เว้นแต่จะโอนกลับไปยัง ส.ป.ก. เพื่อให้ ส.ป.ก.นำไปปฏิรูปที่ดินและจัดสรรให้กับบุคคลอื่นต่อไป

การครอบครองที่ดินโฉนด-สามารถถูกแย่งการครอบครองได้ด้วยการ

ครอบครองปรปักษ์ในที่ดิน กล่าวคือ หากมีบุคคลภายนอกเข้าครอบครองโดยสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 10 ปี บุคคลดังกล่าวก็ย่อมสามารถยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งว่าที่ดินเป็นของตนด้วยการครอบครองปรปักษ์ได้

Advertisment

ส.ป.ก.4-01 แย่งการครอบครองไม่ได้ กล่าวคือ สิทธิทำกินในที่ดิน เป็นสิทธิเฉพาะตัว แม้ไม่ได้ทำกินบนที่ดินแล้ว สิทธิครอบครองก็กลับมาเป็นของรัฐ ซึ่งไม่มีกฎหมายให้บุคคลทั่วไปแย่งการครอบครองได้

ธรรมนัสเปลี่ยน ส.ป.ก.4-01 เป็นโฉนดเพื่อการเกษตร

ล่าสุดร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า วันที่ 15 ม.ค. 2567 นี้ จะ Kick off ในการเปลี่ยนหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.4-01) เป็นโฉนดเพื่อการเกษตร ซึ่งเป็นหนึ่งเป้าหมายในการปรับปรุงและพัฒนาสิทธิในที่ดินของรัฐบาล

ทั้งนี้ เพื่อขยายสิทธิการใช้ประโยชน์ให้เป็นที่ยอมรับ เพื่อเพิ่มมูลค่าและใช้ค้ำประกันสินเชื่อกับสถาบันการเงินได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น พร้อมทั้งสามารถโอนสิทธิให้กับผู้ถือครองคนอื่นได้ รวมไปถึงนำเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันบุคคลได้ เป้าหมายต้องการแจกโฉนดให้กับเกษตรกรกว่า 1.6 ครัวเรือน ในที่ดิน 22 ล้านไร่ ให้ได้โดยเร็ว