พาณิชย์เผยเงินเฟ้อ พ.ย.61 ขยายตัว 0.94% ผลจากราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งสินค้าอื่นซึ่งมาจากการบริโภคที่เพิ่มขึ้น

พาณิชย์เผยเงินเฟ้อ พ.ย.61 ขยายตัว 0.94% ผลจากราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งสินค้าอื่นซึ่งมาจากการบริโภคที่เพิ่มขึ้น คาดว่าทั้งปีอยู่ 1.2% ซึ่งสูงสุดในรอบ 4 ปี

นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ (เงินเฟ้อ) เดือนพฤศจิกายน 2561 เท่ากับ 102.40 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2560 ขยายตัว 0.94% เป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 แต่เพิ่มขึ้นในอัตราชะลอตัวเป็นเดือนที่ 3 โดยสาเหตุมาจากหมวดพลังงานเพิ่มขึ้น ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 24 แต่ก็เป็นลักษณะชะลอจาก 8.11% ในเดือนก่อนหน้าที่ 3.29% อย่างไรก็ดี เฉลี่ย 11 เดือนของปี 2561 (มกราคม –พฤศจิกายน) เพิ่มขึ้น 1.13% คาดว่าเงินเฟ้อทั้งปี 2561 ยังมองเงินเฟ้อทั้งปีอยู่ที่ 1.2% ทั้งนี้เชื่อว่าเงินเฟ้อทั้งปีจะมากว่า 1% ซึ่งสูงสุดในรอบ 4 ปี

ทั้งนี้ สาเหตุที่เงินเฟ้อเดือนพฤศจิกายน 2561 เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการสูงขึ้นของสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขจึ้น 1.04% จากข้าว แป้ง และผลิตภันฑ์จากแป้ง ขณะที่เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงจึ้น 1.66% จากเนื้อสัตว์ และสัตว์น้ำ ส่วนหมวดน้ำมันเชื้อเพลง สูงขึ้น 4.78% หมวดการขนส่งสาธารณะ สูงขึ้น 0.35% ส่วนหมดวที่ลดลง เช่น หมวดผักและผลไม้ ลดง 3.25% หมวดการสื่อสาร ลดลง 0.06%

อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบเดือนตุลาคม 2561 เงินเฟ้อทั่วไปลดลง 0.22% และเฉลี่ย 11 เดือน (มกราคม –พฤศจิกายน) 2561 สูงขึ้น 1.13% การที่เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น เหตุผลหลักจากราคาพลังงานและความต้องกรบริดภค รวมทั้งผลผลิตด้านการเกษตรทีความผันผวนตามสภาพอากาศมีผลกระทบต่อเงินเฟ้อ ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปี 2561 อยู่ในกรอบ 0.8-1.6% ตามสมมุติฐาน จีดีพี ขยายตัว 4.2-4.7% น้ำมันดิบดูไบ 68.73 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรว อัตราแลกเปลี่ยน 32.34 บาทต่อเหรียญสหรัฐ การส่งออก 8%

ขณะที่ เงินเฟ้อในปี 2562 คาดการณ์อยู่ในกรอบ 0.7-1.7% คาดการณ์กลาง 1.2% การขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในกรอบ 3.5-4.5% น้ำมันดิบดุไบ 70-80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรว และอัตราแลกเปลี่ยน 32.5-33.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ การสำรวจการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า เดือนพฤศจิกายน 2561 พบว่า รายการสินค้า 422 รายการ มีสินค้าที่ปรับสูงขึ้น 222 รายการ ได้แก่ ข้าวสารเจ้า เนื้อสุกร มะนาว ทุเรียน ผักคะน้า กาแฟร้อน ข้าวราดแกง น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม ค่าเช่าบ้าน ผงซักฟอก ส่วนสินค้าที่ลดลง 117 รายการ ได้แก่ ไก่สด ส้มเขียวหวาน เงาะ ข้าวสารเหนียว กะหล่ำปลี กุ้งขาว สบู่ ยาสีฟัน แชมพู ส่วนสินค้าที่ไม่เปลี่ยนแปลง 83 รายการ