สุรีรัตน์ ลีสวัสดิ์ตระกูล “มิลล์คอนฯ” เติมนวัตกรรมเหล็ก

สัมภาษณ์พิเศษ

เหล็กของไทยในปัจจุบันถูกผลิตขึ้นมาจากการหลอมเศษเหล็ก (scrap) เนื่องจากไทยไม่มี “แร่เหล็ก” ในธรรมชาติที่ใช้เป็นวัตถุดิบและไม่สามารถสร้างโรงถลุงเหล็กได้ จึงต้องนำเข้าเศษเหล็ก (scrap) มาเข้าสู่กระบวนการผสมเคมีเพื่อให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำหนด ก่อนส่งขายสู่ผู้บริโภค ซึ่งในกระบวนการหลอมเหล็กจะเกิดผงฝุ่นและตะกรัน กลายเป็นขยะอุตสาหกรรม ซึ่งภายหลังมีการนำเศษเหล็กมาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่ม

“สุรีรัตน์ ลีสวัสดิ์ตระกูล” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานนวัตกรรมธุรกิจ บริษัท มิลล์คอน สตีล จํากัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์พิเศษ “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงทิศทางธุรกิจปี 2563 และการต่อยอดนวัตกรรมจากเศษเหล็กสู่ circular economy เชิงพาณิชย์

โควิด-19 กระทบอุตสาหกรรม

ทุกอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบด้วยกันหมด อุตสาหกรรมเหล็กก่อนหน้านี้โดนทุ่มตลาดจากเหล็กจีนทำให้เกิดการแข่งขันกันดุเดือด ราคาเหล็กตก ภาครัฐต้องเข้ามาช่วยทุก ๆ ทาง เมื่อปัญหาเริ่มคลี่คลายบางส่วนตั้งแต่ต้นปี 2563 เรากลับเจอกับเรื่องการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แม้ว่าก่อนหน้านี้ถึงไตรมาส 1/2563มิลล์คอนฯจะมีกำไรมาตลอด เพราะยังคงมีคำสั่งซื้อเหลืออยู่จำนวนมากเป็นออร์เดอร์เก่าส่งให้ลูกเดียว แต่ในที่สุดผลกระทบก็ทำให้เรามียอดขายลดลง ออร์เดอร์จากลูกค้าหายหมดทุกอย่างหยุดชะงัก โควิด-19 กำไรลดลงจากคำสั่งซื้อที่ลดลง แต่เราบริหารต้นทุนดีทำให้ไตรมาส 2 ยังมีกำไรสุทธิ

“ตอนนี้คำสั่งซื้อยังไม่กลับมาเหมือนเดิม แค่เริ่มมีคำสั่งมาบ้างในประเทศเท่านั้น งานซ่อมแซมสร้างบ้านถือว่ามีน้อย แต่เรายังได้อานิสงส์จากโครงการภาครัฐ อย่างโครงการรถไฟฟ้าแต่ละสีเราก็เข้าไปยื่นขอร่วมตามมาตรการ local content ซึ่งรัฐก็ทำให้และเราก็ได้มาแล้ว”

ลงทุนเครื่องบดเศษเหล็ก 300 ล้าน

มิลล์คอนฯมี 3 ส่วนหลัก คือ เหล็ก เหล็กสเปเชียล และส่วนงานลงทุนเพื่อมาซัพพอร์ตธุรกิจ นอกเหนือจากนั้นมิลล์คอนฯยังมีบริษัทลูกในเครืออย่างบริษัท ซันเทค เมทัลส์ จำกัด ที่เป็นธุรกิจบริหารจัดการเศษเหล็ก ซึ่งตอนนี้มีนายประวิทย์ หอรุ่งเรือง ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.มิลล์คอน สตีลช่วยดูแล เบื้องต้นแผนงานคือนำเอามารวมกันที่โรง

หลอมเหล็กของมิลล์คอนฯที่ จ.ระยองเพราะที่โรงหลอมเดิมเราซื้อเศษเหล็กจากซันเทคฯและที่ต่าง ๆ นำเข้ามาจากต่างประเทศ การนำมารวมกันหมายถึงเราลงทุน 300 ล้านบาทเพื่อติดตั้งเครื่องจักรเทคโนโลยีใหม่ เป็นเครื่องบดทำให้เศษเหล็กที่มาเล็กลง หรือนำเอาเศษเหล็กมาหลอมรวมกันเพื่อให้ได้เหล็กเส้น

ตอนนี้ติดตั้งเรียบร้อย จะเริ่มเดินเครื่องเต็มกำลังภายในปีนี้ เศษเหล็กปัจจุบันที่เราต้องสั่งนำเข้าจากต่างประเทศ เพราะเศษเหล็กถูกอัดมาเป็นก้อน 4 เหลี่ยมขนาดน้ำหนัก 1 ตันเป็นเหล็กที่มีคุณภาพจะไม่มีการปนเปื้อนจากพวกดินหรือยาง ส่วนเศษเหล็กของซันเทคฯก็คือเหล็กที่เราหลอมรีดขึ้นรูปแล้วมันเหลือ เราไม่ทิ้งแต่เรานำกลับเข้ามาหลอมใหม่อีกครั้ง

โปรดักต์เหมือนเดิมเพียงแต่เราจะย้อนกลับขึ้นไปไม่ให้เหลือเป็นของเสีย เพราะเศษเหล็กที่เราเอามาหลอม แม้จะมีเยอะมาก แต่ดีกว่าที่เราจะนำไปทิ้ง เราสามารถcircular ได้ คุณสมบัติยังเท่ากับเหล็กหลอมจากเหล็กในกระบวนการแรก และยังทำให้ลดการนำเข้าทั้งจากต่างประเทศและซันเทคฯ แม้จะไม่ได้ปริมาณมากจนออกมาได้ถึง 1 เตา แต่ก็เหมือนเอาไปผสมกับของใหม่ที่เข้ามา เพียงแต่ว่าตัวเศษมันจะไม่เหลือทิ้ง เพราะถ้าเราเอาไปกลบก็จะผสมไปในดินเป็นอันตรายเรื่องนวัตกรรมของมิลล์คอนฯที่เข้ามาทำและได้ดูแลเองช่วง 1 ปีที่ผ่านมาทั้งสายที่เกี่ยวกับนวัตกรรมที่จะทำให้ธุรกิจดีขึ้น

รวมถึงดูเทคโนโลยีที่จะมาซัพพอร์ตธุรกิจหลักเป็น minor change ของธุรกิจหลักอย่างที่ลงทุนเครื่องจักรด้วยเครื่องมันใหญ่มันจะมีอีกหลายจุด ทั้งพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ต้องให้ความสำคัญ เราต้องดูว่าพื้นที่ที่เราลงทุนไปรอบข้างคือชาวบ้าน พยายามใช้โปรดักต์ของเราให้ fully utilize ที่สุด ซึ่งนั่นคือการนำไปสู่ circular economy

ต่อยอดขี้ตะกรันทำถนน

กำลังการผลิตจากเศษเหล็กใหม่ตัวนี้ทำให้กำลังการผลิตเหล็กเพิ่มขึ้นอีก 15% จากเดิมที่มี 800,000 ตัน/ปี จึงทำให้เศษตะกรันเหลือมาก ขี้ตระกรันหรือขี้เหล็กหลายร้อยตัน/ปีที่เอาไปทำอะไรไม่ได้จากการหลอม ปกติแล้วจะนำไปถมที่ ไปขาย และต้องจ้างคนมาเพื่อทำการฝังกลบ ของเหลือเหล่านี้มันไม่เกิดประโยชน์ระยะยาวก็ไม่เกิดผลไม่ค่อยดี ต้องทำโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากที่สุดดังนั้น จึงไปจับมือกับบริษัทปูนซีเมนต์ จ้างโดยการนำเอาตัวขี้ตะกรันที่มีลักษณะเหมือนหินเอาไปทดลอง พบว่ามีคุณสมบัติเหมือนหินสามารถทำถนนได้

นอกจากนี้ ขี้ตะกรันยังสามารถไปทำปูนซีเมนต์ได้ด้วยเบื้องต้นจึงพัฒนางานนวัตกรรมนี้ไปทำถนนภายในโรงงาน ทดลองพื้นที่ของเราก่อนระยะทาง 1 กม.คุณสมบัติทดแทนกันได้ เมื่อผลการทดลองได้ผลในทางที่ดี จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการขอใบอนุญาตเพิ่มเติม เพื่อเอาไปให้กรมทางหลวงพิจารณาต่อ กระบวนการตอนนี้ คือ เอาไปเทสต์ก่อนว่าวัสดุตัวนี้ใช้ทดแทนกันได้ กรมทางหลวงจะระบุมาว่าวัสดุนี้สามารถใช้แทนกันได้ เท่าที่คุยต้องเริ่มจากโรงงาน สวนสาธารณะ ชุมชนไปก่อน โอกาสในอนาคตเราหวังขยายไปสู่เชิงพาณิชย์ แต่ก็ต้องใช้เวลา

ถ้าจะเข้า official กับกรมทางหลวงจริง ๆ มันต้อง approve หลายฝ่ายมันมีหลายขั้นตอนจากกรมโยธาฯ

ถ้าเราทำสำเร็จมันก็ช่วยชุมชน และถือว่าเราเป็นเจ้าแรกที่นำของเหลือจากเหล็กสู่การเป็น circular economy นอกจากนี้ เรายังจับมือกับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) นำตะกรันไปทำถนนในสวนสาธารณะแทนหิน และเอาแผงโซลาร์มาติด ซึ่งเป็นแผนที่คุยไว้กับ อบต.

หวังฟื้นปี 2564

ก็ทรงตัวเรามาถูกทางแล้ว คือ มีกำไรเพราะเราทำงานนานและไม่เก็งกำไร พอมีผลกระทบเราก็ยังมีกำไรเหลือ หวังว่าปี 2564 สถานการณ์จะดีขึ้น อยากให้รัฐสนับสนุนช่วยผู้ประกอบการกลุ่มเหล็ก ล่าสุดขอให้ สมอ.งดใบอนุญาตนำเข้าเศษเหล็ก ตอนนี้ไทยเป็นผู้นำเข้าอันดับต้น ๆ จากอเมริกา อเมริกาใต้จีน ที่ไทยนำเข้ามาเพราะในไทยไม่มีคุณภาพ เศษเหล็กที่นำเข้ามามีคุณภาพเหล็กเพียว ๆ ราคาก็ถูกกว่าแต่มันก็แล้วแต่ช่วงตามราคาเหล็กโลกราคาน้ำมัน ส่วนใหญ่เป็นประเทศพัฒนาแล้ว แล้วส่งออกเศษเหล็กของคนไทยเก็บจากซาเล้ง แยกทองแดงแล้วเอามาขาย

“ครึ่งปีหลังอุตสาหกรรมเหล็กต้องรอออร์เดอร์ โครงการรัฐไม่ค่อยออก น่าจะหนักและเหนื่อย แต่ส่วนใหญ่อยู่ได้ด้วยโครงการใหญ่ ก็มีผลต่อการดำเนินงาน แต่เราก็ยังมีกำไรสุทธิยังยืนกำไรได้เราโชคดีตรงที่เรานั้นมีผู้ถือหุ้นแข็งแกร่ง ทำให้แบงก์กล้าปล่อย เป็นความได้เปรียบ เราดูและปรับมาตลอด ตอนนี้ส่วนแบ่งตลาดเราอันดับ 2 แต่ถ้าเป็นคนไทยแท้ มิลล์คอนฯก็คือที่ 1 เราเป็นรายเล็กน้องเล็ก แต่ได้เปรียบเมื่อเกิด crisisจะทำให้เรารอดในขณะที่รายใหญ่ตาย”

ทั้งนี้ ข้อมูลของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ในไตรมาส 2ปี 2563 ประเทศไทยบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กสำเร็จรูปรวม 3.65 ล้านตัน หดตัว 27.30% จากปีเดียวกันของปีก่อน ผลกระทบจากโรคโควิด-19 แบ่งเป็นเหล็กทรงยาว 1.26 ล้านตัน ลดลง25.35% เหล็กทรงแบน2.39 ล้านตัน ลดลง 28.29%จากปีเดียวกันของปีก่อน