จุฬาฯปลื้ม 32 สาขา ครองแชมป์อันดับ 1 ของประเทศจากการจัดอันดับ QS

จุฬาฯ ปลื้ม 32 สาขาวิชา ครองแชมป์อันดับ 1 ของประเทศ จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก โดย QS World University Rankings by Subject 2024

วันที่ 11 เมษายน 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของไทยรวมทั้งสิ้น 32 สาขา จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกในสาขาวิชาต่าง ๆ โดย QS World University Rankings by Subject 2024 ซึ่งประกาศผลเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567

โดยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครองอันดับ 1 ของไทยใน 32 สาขา จากกลุ่มสาขาต่าง ๆ ดังนี้

กลุ่มสาขา Art & Humanities 8 สาขา ได้แก่

  • Architecture & Built Environment
  • Art & Design
  • English Language & Literature
  • History

 

  • Linguistics
  • Modern Languages
  • Performing Arts
  • Theology, Divinity & Religious Studies

กลุ่มสาขา Engineering & Technology 7 สาขา ได้แก่

  • Computer Science & Information Systems
  • Engineering – Chemical
  • Engineering – Civil & Structural
  • Engineering – Electrical & Electronic

 

  • Engineering – Mechanical
  • Engineering – Mineral & Mining
  • Engineering – Petroleum

กลุ่มสาขา Natural Sciences 6 สาขา ได้แก่

  • Chemistry
  • Earth Sciences
  • Environmental Sciences

 

  • Geography
  • Materials Sciences
  • Physics & Astronomy

กลุ่มสาขา Social Sciences & Management 10 สาขา ได้แก่

  • Accounting & Finance
  • Anthropology
  • Business & Management Studies
  • Economics & Econometrics
  • Education & Training

 

  • Law & Legal Studies
  • Politics
  • Social Policy & Administration
  • Sociology
  • Sports-Related Subjects

กลุ่มสาขา Life Sciences & Medicine 1 สาขา

  • Dentistry

จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัย

นอกจากนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยติดอันดับโลกถึง 53 สาขาเฉพาะ ในจำนวนนี้ได้รับการประกาศขึ้นหน้าเว็บไซต์ของ QS จำนวน 38 สาขา โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีสาขาเฉพาะที่โดดเด่นระดับโลก (Top 200 in Global) จำนวน 30 สาขา

อย่างไรก็ตาม การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS World University Rankings by Subject 2024 พิจารณาจาก 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ ชื่อเสียงทางวิชาการ (Academic Reputation) ชื่อเสียงจากผู้จ้างงาน (Employer Reputation) จำนวนการอ้างอิงต่อจำนวนผลงานวิจัย (Citations per Paper) ดัชนีการประเมินคุณภาพผลงานตีพิมพ์ในวารสาร (H-index) และเครือข่ายความร่วมมือวิจัยนานาชาติ (International Research Network) ซึ่งแต่ละตัวชี้วัดจำแนกต่างกันตามสาขาวิชา