เปิดตัวเลขเงินกองทุน “ประกันชีวิต-ประกันวินาศภัย” มูลค่ากว่า 7 แสนล้าน

ค่าเงินบาท เงินบาท
Image by Kris from Pixabay

เปิดตัวเลขเงินกองทุนตามความเสี่ยงของธุรกิจ “ประกันชีวิต-ประกันวินาศภัย” ที่นำมาใช้ได้ทั้งหมดรวมกันสูงถึง 7.19 แสนล้านบาท

วันที่ 10 ธันวาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานข้อมูลเงินกองทุนตามความเสี่ยงของธุรกิจประกันชีวิต (Capital Adequacy Ratio Statistics) อัพเดทล่าสุดจนถึงสิ้นไตรมาส 3/2565 อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พบว่า

ธุรกิจประกันชีวิต เงินกองทุนสูง 5.8 แสนล้าน

1.เงินกองทุนที่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งหมด (total capital available :TCA) มีจำนวน 588,149 ล้านบาท แยกเป็น 1.1.เงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (CET 1) จำนวน 570,255 ล้านบาท และ 1.2.เงินกองทุนชั้นที่ 2 (Tier 2) อีกจำนวน 17,893 ล้านบาท

2.เงินกองทุนที่ต้องดำรงทั้งหมด (total capital required :TCR) มีจำนวน 177,124 ล้านบาท แยกเป็น 2.1.เงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านการประกันภัย 44,311 ล้านบาท 2.2.เงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านตลาด 142,306 ล้านบาท 2.3.เงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านเครดิต 7,961 ล้านบาท

2.4.เงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านการกระจุกตัว 2,091 ล้านบาท 2.5.เงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านประกันภัยและความเสี่ยงด้านสินทรัพย์หลังหักส่วนลดจากการกระจายความเสี่ยง 167,898 ล้านบาท 2.6.เงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากการเวนคืนกรมธรรม์ 1,255 ล้านบาท และ 2.7.เงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ 5,879 ล้านบาท

โดยมีเงินกองทุนตามความเสี่ยง (Capital Adequacy Ratio Statistics :CAR =TCA/TCR) อยู่ที่ 332.05% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/65 ที่อยู่ที่ 319.31%

ธุรกิจประกันวินาศภัย เงินกองทุน 1.3 แสนล้าน

ด้านข้อมูลเงินกองทุนตามความเสี่ยงของธุรกิจประกันวินาศภัย พบว่า 1.เงินกองทุนที่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งหมด (total capital available :TCA) มีจำนวน 130,914 ล้านบาท แยกเป็น 1.1.เงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (CET 1) จำนวน 129,054 ล้านบาท และ 1.2.เงินกองทุนชั้นที่ 2 (Tier 2) อีกจำนวน 1,860 ล้านบาท

2.เงินกองทุนที่ต้องดำรงทั้งหมด (total capital required :TCR) มีจำนวน 73,934 ล้านบาท แยกเป็น 2.1.เงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านการประกันภัย 21,157 ล้านบาท 2.2.เงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านตลาด 28,889 ล้านบาท 2.3.เงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านเครดิต 2,430 ล้านบาท

2.4.เงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านการกระจุกตัว 18,933 ล้านบาท 2.5.เงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านประกันภัยและความเสี่ยงด้านสินทรัพย์หลังหักส่วนลดจากการกระจายความเสี่ยง 46,484 ล้านบาท 2.6.เงินกองทุนสำหรับการลงทุนส่วนเกิน 5,652 ล้านบาท และ 2.7.เงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ 2,789 ล้านบาท

โดยมีเงินกองทุนตามความเสี่ยง (Capital Adequacy Ratio Statistics :CAR =TCA/TCR) อยู่ที่ 177.07% ลดลงจากไตรมาส 2/65 ที่อยู่ที่ 179.16%