
คอลัมน์ : Smart SMEs ผู้เขียน : finbiz by ttb
ในการดำเนินธุรกิจของ SMEs ยิ่งในกลุ่มของธุรกิจขนส่ง การควบคุมค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพจะส่งผลกับธุรกิจเป็นอย่างมาก ความท้าทายก็คือ จะควบคุมค่าใช้จ่ายน้ำมัน ที่มีความผันผวนทั้งจากราคาน้ำมัน เส้นทางการเดินรถ รวมไปถึงคุณภาพการขับขี่ของผู้ขับขี่ยานพาหนะนี้ได้อย่างไร
finbiz by ttb จึงนำเสนอวิธีที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการ สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดีขึ้น
ธุรกิจในยุคปัจจุบันเติมน้ำมันเชื้อเพลิงให้รถขนส่งด้วยวิธีใดบ้าง
- หวั่น EV ไทย…ซ้ำรอยจีน
- “ทรู-ดีแทค” ถล่มโปร “คืนค่าเครื่อง” ย้ำรวมกันได้มากกว่า
- เปิด “ผังน้ำ” ประกบผังเมือง เขย่าราคาที่ดินทั่วประเทศ
1) การใช้เงินสด หรือเงินโอน ฝากไว้กับพนักงานขับรถ แล้วนำใบเสร็จมาเบิกจ่ายตามจริง ข้อดีคือ ง่าย ส่วนข้อเสียคือ ไม่ค่อยปลอดภัยเท่าไหร่สำหรับพนักงานที่จะต้องถือเงินสดจำนวนมาก และอาจมีปัญหาเรื่องใบเสร็จไม่ตรงจำนวนที่เติมน้ำมันจริง หรืออาจพบปัญหาการเติมน้ำมันจากปั๊มที่ไม่มีคุณภาพและไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงต้องมีงานเอกสารหลังบ้าน
2) การตั้งถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่ในจุดต่าง ๆ ข้อดีคือ อาจต่อรองเพื่อให้ได้น้ำมันในราคาพิเศษเมื่อมีปริมาณมากพอ ข้อเสีย คือ มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาถังเก็บน้ำมันให้ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย รวมถึงค่าจ้างพนักงานดูแล อีกทั้งเป็นข้อจำกัดในการขยายเส้นทางการเดินรถ
3) ทำเครดิตกับสถานีบริการน้ำมันที่ไว้ใจได้ อาศัยความคุ้นเคยที่ทำธุรกิจกันมานานกับสถานีบริการน้ำมันที่ไว้ใจได้ มีทั้งรูปแบบจ่ายก่อนเติมทีหลัง หรือเติมก่อนจ่ายทีหลังก็แล้วแต่ตกลง ข้อดีคือ ได้น้ำมันคุณภาพตามที่เลือกแน่นอน และสามารถกำหนดระยะเวลาเครดิตได้ตามข้อตกลง ข้อเสียคือ มีข้อจำกัดด้านเส้นทางการเดินรถ
จากทั้ง 3 วิธีดังกล่าว มีข้อดีข้อเสียต่างกัน ข้อดีคือ การควบคุมค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามจริง ได้น้ำมันที่มีคุณภาพมาตรฐาน สำหรับข้อเสียคือข้อจำกัดในการขยายเส้นทาง
วิธีที่จะช่วยให้ SMEs ประหยัดค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
1) ใช้รถที่ประหยัดน้ำมัน ซึ่งหากบริษัทกำลังอยู่ในช่วงพิจารณาเปลี่ยนรถขนส่ง การเลือกรถที่ช่วยประหยัดน้ำมัน หรือใช้พลังงานทางเลือกอื่น ๆ ก็จะช่วยประหยัดน้ำมันได้
2) อบรมวิธีการขับรถเพื่อประหยัดพลังงาน เป็นการสร้างคุณภาพของผู้ขับขี่ ควรมีการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ
3) บำรุงรักษารถอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4) เลือกสถานีบริการน้ำมันที่มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุม และให้น้ำมันคุณภาพสูง จะช่วยให้สามารถเลือกเส้นทางการเดินรถได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น และได้รับน้ำมันคุณภาพตามที่ต้องการ
5) มีระบบตรวจสอบเส้นทางการเดินรถ และติดตามการใช้น้ำมันได้ การวางแผนเดินรถและใช้เทคโนโลยีในการติดตามการเติมน้ำมันของผู้ขับขี่ จะช่วยสะท้อนคุณภาพของยานยนต์และผู้ขับขี่ได้ด้วย
6) การต่อรองราคาน้ำมัน สำหรับบริษัทขนส่งที่มีรถขนส่งภายใต้องค์กรเดียวกัน การเจรจาต่อรองกับผู้ให้บริการน้ำมันอาจทำให้ได้รับส่วนลดเงินคืน เมื่อมีการใช้งานในปริมาณที่ตกลงกันไว้ได้
อย่างไรก็ตาม สำหรับ SMEs แล้ว การเจรจาต่อรองกับปั๊มน้ำมันที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ คงเป็นเรื่องที่ยากเกินไป หรืออยากใช้ระบบติดตามการเติมน้ำมันออนไลน์ ก็คงต้องลงทุนมหาศาล แต่รู้หรือไม่ว่า ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เข้าใจผู้ประกอบการขนส่งรายย่อย ที่สามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตน้ำมัน ที่ไม่ได้เป็นแค่บัตรเครดิต แต่ยังมีฟีเจอร์ต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาหลัก คือ “การควบคุม” ค่าใช้จ่ายน้ำมัน ซึ่งมาพร้อมกับ
- ระบบควบคุมค่าใช้จ่าย สามารถกำหนดวงเงิน ระบุประเภทน้ำมัน และสถานีบริการที่ต้องการให้ใช้บริการได้
- ระบบรายงานแบบออนไลน์ มีรายงานตรวจสอบได้ทุกการใช้จ่าย สามารถตรวจสอบยอดใช้งานคงเหลือผ่านระบบแบบเรียลไทม์ มีการบันทึกข้อมูลการใช้บัตรเครดิตน้ำมันแยกรถแต่ละคันอย่างถูกต้องแม่นยำ มีการรวบรวมข้อมูลการเติมน้ำมันแต่ละครั้ง เช่น วัน เวลา ชื่อสถานีบริการน้ำมัน ปริมาณ จำนวนเงิน เลขกิโลเมตร และสามารถแสดงอัตราการสิ้นเปลืองของปริมาณน้ำมันต่อกิโลเมตรได้
- เครือข่ายสถานีบริการน้ำมันที่มีคุณภาพ และครอบคลุมทั่วประเทศ การใช้น้ำมันบนเครือข่ายของบริษัทผู้ให้บริการน้ำมันทั่วประเทศ สามารถนับรวมยอดน้ำมันที่ใช้จ่ายในแต่ละปั๊มได้ ถือเป็นการสร้างโอกาสในการต่อรองกับบริษัทผู้ให้บริการน้ำมันได้อีกด้วย
ด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ตอบโจทย์ การควบคุมค่าใช้จ่ายน้ำมันด้วยระบบที่ทันสมัยจึงไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินฝันของผู้ประกอบการ SMEs อีกต่อไป