ตลาดผันผวนคัดกองทุน SSF-RMF เข้าพอร์ตอย่างไร

ตลาดผันผวนคัดกองทุน SSF-RMF เข้าพอร์ตอย่างไร โดย “ดร.สมชัย อมรธรรม” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน และลูกค้าสัมพันธ์ จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน)

วันทื่ 25 กันยายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า “ประชาชาติเวลท์” เล่าเรื่องการลงทุน EP ที่ 29 นี้พาวางแผนซื้อกองทุน SSF-RMF ช่วงท้ายปี 2566 ลงทุนอย่างไร พร้อมกองทุนเด่นและกลยุทธ์การลงทุน โดย “ดร.สมชัย อมรธรรม” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน และลูกค้าสัมพันธ์ จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTAM

Q : ภาพรวมแนวโน้มการลงทุนในช่วงที่ผ่านมาปีนี้กับแนวโน้มข้างหน้าสิ้นปีนี้รวมถึงปีหน้าด้วยค่ะว่าเรามองภาพตลาดเป็นยังไงบ้าง

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ขึ้นดอกเบี้ยมาค่อนข้างเยอะเพื่อสู้กับเงินเฟ้อ แต่ปรากฏว่าแม้ว่าเฟดขึ้นดอกเบี้ยมาเยอะแต่ปรากฏว่าเศรษฐกิจหลาย ๆ อันมันยังถือว่าโอเคนะครับคือในภาพรวม ๆ เราคิดว่าภาพรวมของเศรษฐกิจโลกเป็นขาที่เรียกว่าฟื้นตัว ฟื้นตัวจากโควิดแต่แนวโน้มการเติบโตมันไม่น่าจะสูงเท่าไหร่ บางประเทศก็ทำได้ดีกว่าที่เราคาด บางประเทศก็แย่กว่าที่เราคาด

อย่างสหรัฐชัดเจนว่าเศรษฐกิจเค้าก็ดีตลาดหุ้นเขาเพอร์ฟอร์มนะครับมีเรื่องของธีมตัวเทคโนโลยีตัว AI ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ดูเหมือนว่าสหรัฐดูว่าพื้นฐานดูเหมือนว่าจะแข็งแกร่งจริง ๆ นะครับแต่เขาก็ได้รับประโยชน์จากหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ไบเดนยกเลิกกองทุนกู้ยืมเพื่อการเรียน (Student Loan) ยกเลิกการจ่ายมีสงครามการค้ากับจีนก็ดูเหมือนว่าสหรัฐจะเป็นผู้ชนะ ตอนนี้โรงงานก็ไปตั้งมีการย้ายฐานไปที่สหรัฐมากขึ้น มีการจ้างงานในเรื่องของการก่อสร้างนะครับที่จะสร้างโรงงานเพื่อที่จะผลิตทดแทนการนำเข้า

แล้วก็เรื่องของจริง ๆ สงครามยูเครนกับรัสเซียสหรัฐก็ได้ประโยชน์ขายพลังงานให้กับตัวทางด้านยุโรปได้มากขึ้นมันเลยทำให้ปีนี้สหรัฐดูค่อนข้างดีนะครับ แม้ว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยมาค่อนข้างมากแล้วตอนนี้อยู่ 5.25-5.50% เราก็คิดว่าน่าจะเริ่มคงแล้วล่ะ แต่ดอกเบี้ยสูงก็อาจจะเป็นอะไรที่ต้องคอยติดตามดูเหมือนกันว่าแนวโน้มในของปีหน้าจะเป็นอย่างไร เราเชื่อว่าสหรัฐยังไงก็น่าจะชะลอตัวลงนะครับ เพราะว่าปีนี้มันได้รับผลกระทบชั่วคราวมาค่อนข้างมากแต่คิดว่าสหรัฐน่าจะชะลอลงปีหน้า แต่คิดว่าการชะลอตัวลงของสหรัฐยังไม่ได้คิดว่าเกิดวิกฤต

ทางด้านยุโรปปรากฏว่าแย่กว่าที่เราคาดต้นปีดูดี ภาคการท่องเที่ยวจีนเปิดประเทศมาได้ดูดีแต่ปรากฏว่ายุโรปยังมีปัญหาค่อนข้างมาก เศรษฐกิจก็ยังไม่ค่อยดีนำเข้าน้ำมันก็ราคาแพงขึ้นนะครับ เงินเฟ้อก็ยังสูงอยู่ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ขี้นดอกเบี้ยมา 4.50% ก็ขึ้นมาสูงแล้ว แต่ ECB ปัญหาหนักอกกว่าเพราะว่าของยุโรปแนวโน้มน่าจะเรียกว่าเป็นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (Stagflation) ชัดเจนเหมือนกันนะครับคือเศรษฐกิจนิ่ง (Stagnant) แต่เห็นเงินเฟ้อยังค่อนข้างสูงเลยทีเดียวทั้งยุโรปทั้งญี่ปุ่นนะครับ ต้องคอยติดตามดูจริง ๆ ว่า ECB จะเลือกข้างไหนนะครับถ้าเลือกข้างว่ากระตุ้นเศรษฐกิจก็ต้องคงดอกเบี้ยไว้แล้วล่ะแต่ถ้าเลือกข้างว่าจะต้องสู้กับเงินเฟ้อต้องบอกว่ายุโรปยังอาจจะมีรูมในการขึ้นดอกเบี้ยได้ต่อ

แต่ส่วนที่ผิดหวังจริง ๆ น่าจะเป็นจีนเพราะว่าเศรษฐกิจจีนคือปีที่แล้ว 2565 มันเป็นเรื่อง Zero-COVID นะครับมันเลยทำให้บดบังหลาย ๆ เรื่องเหมือนกัน ต้นปีมามีการเปิดเมืองเปิดประเทศก็ในเรื่องของการท่องเที่ยวมันก็เลยทำให้บดบังปัญหาพื้นฐานจริง ๆ ของจีนซึ่งตอนนี้ก็เห็นชัดเจนแล้วล่ะว่าเป็นเรื่องของภาคอสังหาริมทรัพย์ อันนี้ต้องคอยติดตามนะครับว่าทางการจะเข้ามาช่วยอย่างไรเพราะว่าที่ผ่านมานมีมาตรการช่วยเหลือเยอะแยะ ไม่ว่าจะผ่อนคลายเรื่องของข้อกำหนดต่าง ๆ เกี่ยวกับการซื้อบ้าน เรื่องของการเพิ่มสภาพคล่องลด Reserve Requirement ก็มีมาตรการกระตุ้นเข้ามาต่อเนื่องนะครับ

แต่เราเข้าใจว่าปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ในอดีตต้องใช้นโยบายภาครัฐที่เข้ามาช่วยกระตุ้นซึ่งอันนี้ก็ยังรออยู่  ซึ่งอันนี้น่าจะเป็นสตอรี่ลากไปสำหรับปีหน้าได้เหมือนกันครับคือปีหน้าแนวโน้มเราเชื่อว่าการเติบโตภาพรวม ๆ น่าจะชะลอลง ใครที่เคยดีสหรัฐน่าจะชะลอลง จีนที่แย่ ๆ ถ้าเกิดว่ามีมาตรการกระตุ้นที่ดีขึ้นเราคิดว่าภาวะเศรษฐกิจน่าจะฟื้นตัว แต่แน่นอนระยะยาวจีนยังมีความท้าทายอีกหลายเรื่อง เพราะว่าปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์คงต้องใช้เวลาหลายปีกว่าที่จะเคลียร์ได้

เพราะฉะนั้นในเรื่องของปีหน้าเราคิดว่าแนวโน้มการเติบโตเศรษฐกิจยังน่าจะไปได้ต่อ ตลาดหุ้นยังคิดว่าไปได้ต่อ แม้ว่าดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงคือในอดีตเราเคยย้อนดูเหมือนกันช่วงที่ดอกเบี้ยสูง ๆ ตลาดหุ้นมันจะแย่หรือเปล่าปรากฏว่าไม่นะครับ ตลาดหุ้นถือว่าเพอร์ฟอร์มได้ค่อนข้างดีด้วยซ้ำช่วงที่ดอกเบี้ยคงอยู่ในระดับสูง แต่อาจจะต้องระวังนิดนึงนะครับว่าในอดีตที่ผ่านมาดอกเบี้ยที่เป็นขาลงมันมักจะมีวิกฤตเกิดขึ้นนะครับ

ในภาพ Base case วันนี้ต้องบอกว่าเราอาจจะคิดว่าเศรษฐกิจค่อย ๆ ชะลอลง เงินเฟ้อค่อย ๆ ลดลง แล้วก็ตัวดอกเบี้ยค่อย ๆ ลดลง อันนั้นอาจจะเรียกว่าเป็นสถานการณ์ที่ดีที่สุด (Bestscenario) แต่ถ้าเกิดว่ามีเหตุฉุกเฉินใด ๆ เกิดขึ้นมีอุบัติเหตุใด ๆ เกิดขึ้นจนทำให้ดอกเบี้ยจะต้องลงเร็วอันนั้นก็อาจจะต้องระวังในเรื่องของสินทรัพย์เสี่ยงเหมือนกัน

เพราะฉะนั้นปีหน้าต้องบอกว่าก็ยังเป็นปีที่ยังต้องมีความระมัดระวังต่อเนื่อง อาจจะยังต้องดูว่าเศรษฐกิจภาพไหนมุมไหน คือภาพรวม ๆ เราเชื่อว่าขยายตัวได้ต่อ แต่ความแตกต่างของแต่ระหว่างภูมิภาคน่าจะสูงอยู่เหมือนกัน

 Q : การจัดธีมลงทุน SSF-RMF ถ้ามองตามภาพตลาดเราแนะนำการลงทุนในธีมไหนที่น่าสนใจ

เราก็แนะนำในเรื่องของการกระจายการซื้อเป็น Dollar Cross Average มาอย่างต่อเนื่อง เพราะระหว่างปีเราไม่รู้หรอกว่าอะไรจะเกิดขึ้นแต่ถ้าเกิดวันนี้ก็ต้องดูแล้วล่ะว่าถ้าเกิดใครยังไม่ได้ซื้อนะครับว่าเน้นทางไหนดีนะครับ  คือต้องบอกว่าธีมการลงทุนของ 2 ตัวนี้เราต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ของมันก่อนนะครับถ้าเป็น RMF ชัดเจนนะครับก็คือ Retirement Mutual Fund เป็นการลงทุนเพื่อการเกษียณคือลงทุนไปกว่าจะได้เม็ดเงินคืนมาก็คือตอนที่เกษียณแล้ว

เพราะฉะนั้นในเรื่องของลักษณะการลงทุนการลงทุนเพื่อการเกษียณไม่ว่าจะเป็น RMF หรือ PVD  อาจจะมีลักษณะชัดเจนว่าเป็นลักษณะของการลงทุนแบบ Life Path คือถ้าเรายังอายุน้อย ๆ อยู่ก็ใส่เม็ดเงินเงินเข้าไปแต่สัดส่วนการลงทุนในตรงนั้นอาจจะเป็นส่วนที่เน้นสัดส่วนหุ้นค่อนข้างมาก แต่พอเราอายุเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เราอาจจะต้องมีการคำนึงถึงเรื่องของการรักษาเงินต้น เพราะฉะนั้นในเรื่องสัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นอาจจะต้องเริ่มที่จะลดลงมาหน่อยอันนั้นคือเรื่องของ RMF นะครับ

แต่ SSF เน้นในเรื่องของการเติบโตในเชิงของ Capital ก็คือเป็นการลงทุนระยะยาว เพราะเราเชื่อว่าระยะยาวยังไงตลาดหุ้นก็น่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตราสารหนี้  ดังนั้นก็อาจจะเป็นธีมการลงทุนที่เน้นตลาดหุ้น

ส่วนเรื่องของธีมการลงทุนในปีหน้าอย่างที่บอกความผันผวนยังมีอยู่เยอะ ฉะนั้นในเรื่องของการจัดพอร์ตอาจจะต้องมีความจำเป็นเหมือนกันที่จะต้องมีการกระจายความเสี่ยงไปหลาย ๆ จุดแล้วก็สัดส่วนการลงทุนถ้าเลือกง่าย ๆ ก็มีตราสารหนี้กับตราสารทุนอาจจะต้องเลือกให้สัดส่วนเหมาะสมกับอายุในส่วนของ RMF ส่วน SSF ก็ต้องดูตามจังหวะครับ

Q : สำหรับกองทุนเป็นประเทศหรือเป็นภูมิภาคเราแนะนำยังไงดี

อย่างหุ้นเราก็จะแนะนำทั้งหุ้นไทยหุ้นต่างประเทศนะครับ  ตอนนี้เราคิดว่าหุ้นต่างประเทศดูมีภาษีดีกว่านะครับแต่ก็อย่าลืมตลาดหุ้นไทยก็ยังมีความน่าสนใจอยู่นะครับแต่อาจจะต้องมีการเลือกหน่อยในส่วนต่างประเทศที่เราเห็นการเติบโตระยะยาวที่ดีเชื่อว่าน่าจะเป็นเวียดนาม  เพราะว่าเบอร์ 1 เบอร์ 2 สหรัฐกับจีนก็ยังทะเลาะกันอยู่  ทะเลาะกันมันก็จะมีเหมือนผลพวงตามมานะครับ ซึ่งปรากฏว่าเวียดนามเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์จากที่เขาทะเลาะกัน เพราะเวียดนามจะเป็นคนที่รับในเรื่องของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment : FDI)

นอกจากนั้นแล้วเวียดนามก็มีจุดเด่นเฉพาะตัวในระยะยาวอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นประชากรที่เยอะยังอยู่ในวัยทำงานอยู่ มีการเติบโตของรายได้พวกชนชั้นกลาง (Middle Class Income) อยู่ยังมีการเติบโตได้อีกเยอะ  เพราะฉะนั้นอันนั้นจะสะท้อนในเรื่องของการบริโภคในประเทศที่ยังที่ยังดีอยู่อาจจะมีการเติบได้ในระยะยาวฉะนั้นกองทุนแรกที่เราแนะนำก็จะเป็น KTVIETNAM SSF/KT-VIETNAM RMF กองทุนเปิดเคแทม เวียดนาม อิควิตี้ เพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนเปิดเคแทม เวียดนาม อิควิตี้ (ชนิดเพื่อการออม)

นอกจากนั้นในส่วนของตัวประเทศไทย อย่างที่บอกว่าประเทศไทยก็ยังมีความน่าสนใจในเรื่องของตัวนโยบายภาครัฐที่อาจจะเข้ามากระตุ้น แต่เราเชื่อว่าความผันผวนในปีหน้าอาจจะยังสูง เราอาจจะขออะไรที่ยังปลอดภัยหน่อย ลงทุนหุ้นที่จ่ายปันผลดี เพราะฉะนั้นกองทุนที่แนะนำเราก็จะเลือกมาเป็นกองทุน KT-HiDiV RMF กองทุนเปิดกรุงไทย หุ้นไฮดิวิเดนด์ เพื่อการเลี้ยงชีพ อันนี้ก็จะเลือกลงทุนในหุ้นที่มีการจ่ายปันผลที่ดี

ส่วนอีกกองอย่างที่เราบอกว่าเรามีการจัดพอร์ตการลงทุน เพราะฉะนั้นเราก็จะต้องมีตราสารหนี้อยู่บ้าง กองตราสารหนี้ที่เราแนะนำเป็นกอง KTFIXPLUS-SSF กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ พลัส (ชนิดเพื่อการออม) อันนี้จะมีการลงทุนที่ระยะค่อนข้างยาว Duration ประมาณ 2.7-2.8 เพื่อที่ตอบรับในภาพของดอกเบี้ยที่เราคิดว่าน่าจะใกล้พีกแล้ว และอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับสูงอยู่ ดังนั้นตราสารนี้ระยะยาวน่าจะได้รับประโยชน์ที่ดีขึ้น เพราะฉะนั้นกองนี้ก็อาจจะเป็นอีกกองหนึ่งที่เข้ามาผสมเวลาที่จัดพอร์ตลงทุนที่มีทั้งตราสารหนี้และตราสารทุน