
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือไอแบงก์ ประกาศตรึงอัตรากำไรสินเชื่อทุกประเภท สนองนโยบายรัฐ หวังช่วยลดภาระลูกค้าทุกกลุ่ม
วันที่ 3 ตุลาคม 2566 นายทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการและผู้จัดการ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) เปิดเผยว่า ถึงแม้ไอแบงก์จะไม่ได้ใช้อัตราดอกเบี้ยในการกำหนดอัตรากำไรของสินเชื่อและอัตราผลตอบแทนเงินฝากของธนาคาร แต่ต้องยอมรับว่า ธนาคารอิสลามฯก็แข่งขันอยู่ในตลาดการเงินที่เป็นระบบดอกเบี้ยของประเทศ ดังนั้น เมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มหรือลดอาจมีผลต่อราคาผลิตภัณฑ์ของธนาคาร
- MOTOR EXPO 2023 ยอดขายรถ 4 วันแรกทะลุ 8,300 คัน
- เช็กเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เงินเข้าบัญชีวันนี้ 38 จังหวัด
- สพฐ.ประกาศหยุดเรียน 4-8 ธ.ค.ให้นักเรียน ม.ปลายเตรียมสอบ TGAT/TPAT
อย่างไรก็ตาม การประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ ในฐานะที่ไอแบงก์เป็นหนึ่งในธนาคารของรัฐ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ไอแบงก์จะยังไม่ประกาศขึ้นอัตรากำไรสินเชื่อทุกประเภท ได้แก่
-อัตรากำไรสินเชื่อสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (SPR) ปัจจุบันอยู่ที่ 8.25% ต่อปี
-อัตรากำไรสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทสินเชื่อแบบมีกำหนดระยะเวลา (SPRL) อยู่ที่ 8.00% ต่อปี
-อัตรากำไรสินเชื่อสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (SPRR) อยู่ที่ 8.50% ต่อปี
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการร่วมช่วยเหลือประชาชนหรือลูกค้าสินเชื่อทุกประเภท จำนวนกว่า 6.5 หมื่นบัญชี ทั้งที่เป็นลูกค้ารายย่อย ผู้ประกอบการทั้ง SMEs และธุรกิจขนาดใหญ่ รวมมูลค่ากว่า 6.8 หมื่นล้านบาท
นอกจากนี้ ไอแบงก์ยังมีโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการเพื่อส่งเสริมศักยภาพ ตลอดจนลดภาระหนี้ภาคประชาชนอย่างยั่งยืน อาทิ โครงการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการสินค้าฮาลาลสู่การส่งออก โครงการสินเชื่อบ้านมีหนี้ลด ซึ่งเป็นการรวมภาระหนี้ต้นทุนสูงมาอยู่ที่ไอแบงก์ที่เดียว
“ตั้งแต่ต้นปี 2566 ธนาคารได้ช่วยลูกค้าลดภาระหนี้ รวมทั้งสิ้น 2,631 ราย เป็นเงิน 2,527 ล้านบาท หรือโครงการชุมชนซื่อสัตย์ ที่ช่วยเหลือประชาชนระดับฐานรากให้หลุดพ้นหนี้นอกระบบ เพื่อเป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับโครงสร้างให้แข็งแรงและยั่งยืนต่อไป” กรรมการและผู้จัดการ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) กล่าว