
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกรมเจ้าท่าที่ 305/2565 กำหนดหน้าที่นายเรือ และคนประจำเรือ เกี่ยวกับการห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงผู้ควบคุมเรือต้องควบคุมดูแลมิให้ผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนเรือโดยสารสาธารณะประจำทาง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ฝ่าฝืนมีความผิดถูกสั่งพักใบอนุญาต หรือห้ามใช้เรือ
วันที่ 27 มกราคม 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 305/2565 เรื่อง กำหนดหน้าที่นายเรือ และคนประจำเรือ เกี่ยวกับการห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลงนามโดยนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมเจ้าท่า และประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หรือมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2566 เป็นต้นไป
- ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ตรวจผลรางวัล งวด 1 เม.ย. 66 (อัพเดต)
- 12 นิสิตเก่า ‘สิงห์ดำ’ ดีเด่น ปี 66 ความภาคภูมิใจ ‘รัฐศาสตร์ จุฬาฯ’ สถาบันผลิตบุคลากรชั้นนำของประเทศ
- Café Amazon เฉลยเอง ไวรัลนกหน้าร้านสะดวกซื้อ กำลังจะเกิดอะไรขึ้น?
สาระสำคัญของประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า โดยที่การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เกิดอาการมึนเมาและอาจเป็นอันตรายในการควบคุมยานพาหนะ โดยเฉพาะนายเรือและคนประจำเรือที่บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และมีอาการมึนเมา ในขณะปฏิบัติหน้าที่ในเรือจนอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อการเดินเรือและเป็นอันตรายต่อผู้โดยสารและประชาชน
และตามข้อที่ 8/1 ในหมวด 8 ว่าด้วยการเข้าเวรยาม ในภาคผนวกของอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยมาตรฐานการฝึกอบรม การออกประกาศนียบัตร และการเข้ายามสำหรับคนประจำเรือ ค.ศ. 1978 (International Convention on Standards of Training, Certification and Watchkeeping for Seafarers 1978, STCW as amended) และมาตรา เอ-8/1 วรรค 10 ของประมวลการการฝึกอบรม การออกประกาศนียบัตร และการเข้ายามสำหรับคนประจำเรือ (Seafarers’Training, Certification and Watchkeeping Code) ได้กำหนดให้รัฐภาคีต้องมีมาตรการป้องกันมิให้มีการเสพยาเสพติดและดื่มแอลกอฮอล์ในขณะเข้าเวรยามเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในเรือ
อีกทั้งตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในท่าเรือโดยสารสาธารณะ พ.ศ. 2558 ได้กำหนดห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในท่าเรือโดยสารสาธารณะ หรือบนเรือโดยสารสาธารณะประจำทาง
ทั้งนี้ผู้ฝ่าฝืนมีความผิดตามกฎหมาย โดยให้เจ้าท่าพิจารณาสั่งงดไม่ให้ใช้ประกาศนียบัตรหรือใบอนุญาตมีกำหนดไม่เกิน 2 ปี รวมถึงให้เจ้าท่าพิจารณามีคำสั่งห้ามใช้เรือ และอาจมีความผิดต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ด้วย