
พับยาวโครงการทางเลียบเจ้าพระยา เมกะโปรเจ็กต์ กทม. รองผู้ว่าชี้ทำที่ย่านตามความเหมาะสม
วันที่ 22 มีนาคม 2566 ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาให้ระงับโครงการก่อสร้างทางเลียบเจ้าพระยา จนกว่าจะมีการแก้ไขใน 4 ประการ คือ
- อนุทินเปิดตัวภรรยาคนที่ 3 หลังหย่าแจก 50 ล้าน จ่ายเงินสดรายเดือนตลอดชีพ
- กูรูตลาดทุน วิเคราะห์วิสัยทัศน์ตัวเต็ง รมว.คลัง “ไม่แย่ แต่ ไม่ใช่”
- วันหยุดเดือนมิถุนายน 2566 เช็กวันหยุดราชการ วันหยุดชดเชย วันสำคัญ
- มีการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
- จัดทำ EIA ให้ถูกต้องและครบถ้วน
- ขออนุญาตกรมเจ้าท่าให้ถูกต้อง
- มีหนังสือจากอธิบดีกรมศิลปากรมีคำสั่งอนุญาตกรณีมีโบราณสถานในบริเวณที่โครงการพาดผ่าน
โดยคดีนี้มีจุดเริ่มต้นจากภาคประชาชน นำโดยเครือข่ายวางแผนและผังเมืองเพื่อสังคม และมูลนิธิศิลปวัฒนธรรมเพื่อสังคม ได้ฟ้อง 4 ผู้ถูกฟ้อง คือ คณะรัฐมตรี คณะกรรมการอำนวยการโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา กระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร ให้ระงับการก่อสร้างโครงการทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาไปเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2561
พลิกปูมทางเลียบเจ้าพระยาโครงการในฝัน “ประยุทธ์”
โครงการนี้เริ่มต้นภายหลังจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เพียง 2 วัน โดยโครงการทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาถูกบรรจุเป็นวาระเร่งด่วนในแผนพัฒนาประเทศแบบบูรณาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการน้ำและแก้ปัญหาการจราจรอย่างเป็นระบบ
และเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2557 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้พูดในงานเทศกาลจักรยานที่รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์มักกะสัน ว่า “ผมเป็นคนชอบการขี่จักรยาน เพราะเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุด ฝันมีแนวคิดสร้างเส้นทางจักรยานริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเหมือนเกาหลีใต้ แม้จะใช้งบประมาณสูง หากไม่คิดตั้งแต่วันนี้ก็จะไม่เกิด จึงพยายามพูดคุยกับผู้บริหาร กทม. ต้องทำผังเมืองกรุงเทพฯ ใหม่ เพราะไม่สามารถอยู่เช่นนี้ได้อีก ประเทศเราเป็นประเทศที่เล็ก ถนนมีจำกัดและแคบ ทางระบายน้ำก็แคบ ทางเท้าก็แคบ ต้องมีการพัฒนาสู่อนาคตที่ยั่งยืน”
ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า “ทางเลียบเจ้าพระยาคือหนึ่งโครงการในฝันของ พล.อ.ประยุทธ์ อย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยสิ้นเชิง
ด้านกรุงเทพมหานคร ภายใต้การนำของ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่า ม.44 รับลูกผลักดันโครงการนี้อย่างรวดเร็ว โดยทางเลียบเจ้าพระยาตลอดจะมีระยะทางตั้งแต่สะพานพระราม 3 ถึงสะพานพระนั่งเกล้าโดยก่อสร้างทั้ง 2 ฝั่งฝั่งละ 25 กิโลเมตร รวมเป็น 50 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 30,000 ล้านบาท
และเสนอให้มีการดำเนินการก่อสร้างเฟส 1 “สะพานปิ่นเกล้า-สะพานพระราม 7 “ ระยะทาง 14 กิโลเมตรฝั่งละ 7 กิโลเมตร โดยเสนอวงเงินก่อสร้าง 8,362 ล้านบาท โดยเหลือเพียงทางจักรยานและทางคนเดิน พร้อมที่พักริมแม่น้ำ และสวนสาธารณะ นอกจากนี้บริเวณไหนที่เป็นจุดเว้าและจุดโค้งมาก จะพัฒนาเป็นลานกิจกรรมสำหรับออกกำลังกายหรือกิจกรรมอื่น ๆ ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติโครงการ
ก่อนวันที่ 21 พฤศจิกายน 2561 กลุ่มเครือข่ายภาคประชาชนจะได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อให้ระงับการก่อสร้างโครงการทางเลียบเจ้าพระยา พร้อมทั้งขอคุ้มครองชั่วคราวระหว่างการพิจารณาคดี โดยศาลปกครองกลางและศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว คือให้ระงับโครงการจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด
รองผู้ว่า กทม. เผยโครงการพับยาว
ภายหลังศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้ระงับโครงการก่อสร้างทางเลียบเจ้าพระยา โดยให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการแก้ไขใน 4 ข้อ นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ลำดับแรกโครงการนี้กรุงเทพมหานครเป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 และการดำเนินการที่ผ่านมาเป็นนโยบายจากทางรัฐบาลดังนั้นการจะเดินหน้าต่อหรือยุติโครงการจะต้องพิจารณาจากนโยบายของรัฐบาลประกอบด้วย
แต่ถ้ามองตามนโยบายของกรุงเทพมหานครในปัจจุบันโครงการนี้ต้องเป็นโครงการที่พับเก็บไป เนื่องจากเรามองว่าการที่จะนำเงินหลักหมื่นล้านไปทุ่มในโครงการนี้โครงการเดียวเป็นเรื่องที่เกินกำลังของกรุงเทพมหานครไปมาก และการก่อสร้างทางเลียบตลอดแนวอาจจะไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน ซึ่งจะทำให้การใช้ประโยชน์จากทางเลียบเจ้าพระยาไม่เต็มประสิทธิภาพ
โมเดลการพัฒนาทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาในยุคนี้จะทำตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยใช้โมเดลทางเลียบย่านกะดีจีนซึ่งพัฒนามาในสมัยท่านผู้ว่าฯ คนที่แล้วที่มีการพัฒนาพื้นที่ปรับปรุงทางเดินริมน้ำ ทำลานกลางแจ้ง จัดสวน ติดตั้งไฟส่องสว่าง และการออกแบบทั้งหมดตามหลัก Universal Design ในระยะทางประมาณ 650 เมตร โดยมีวงเงิน 112,200,000 บาท
นอกจากนั้นทางชุมชนในย่านกะดีจีนยังมีความตื่นตัว โดยวางแผนทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่จากโครงสร้างงานโยธาที่กรุงเทพมหานครได้ลงทุนไป ดังนั้นการจัดทำทางเลียบเจ้าพระยาต่อจากนี้จะต้องพิจารณา 2 ปัจจัย คือ
- ศักยภาพของพื้นที่ จำพวกจุดเชื่อมต่อ ผู้ที่จะมาใช้บริการว่าจะมีจำนวนมากน้อยเพียงใด เป็นจุดท่องเที่ยวหรือเป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อกิจกรรม
- ความต้องการของคนในพื้นที่ว่าจะสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่หรือไม่
จะต้องมีการพิจารณา 2 ด้านนี้ควบคู่กัน เพราะหากไม่มีการพิจารณาแล้วการที่กรุงเทพมหานครไปสร้างไปจัดการโครงสร้างพื้นฐานให้ก็จะไม่เกิดการใช้ประโยชน์ของพื้นที่อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพราะ กทม. ไม่สามารถไปวนจัด Event ได้ตลอดเวลา
ในลำดับต่อมาคือตอนนี้ได้มีการสั่งการให้สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองได้สำรวจโครงการศึกษาต่าง ๆ เกี่ยวกับทางเลียบเจ้าพระยา ซึ่งมีหลายโครงการมาก เท่าที่ผมสามารถพูดได้เร็ว ๆ คือ มีการศึกษาของมหาวิทยาลัยศิลปากรเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในโบราณสถาน มีของมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบังร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ศึกษาโครงการที่มีข้อพิพาทในศาลปกครอง มีของ UDDC จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ศึกษาในหลายย่าน มาประมวลผลเพื่อให้เป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาทางเลียบเจ้าพระยาอื่น ๆ ในอนาคต
สำหรับในด้านคดีกรุงเทพมหานครเองจะไม่มีการอุทธรณ์เนื่องจาก 2 เหตุผลหลัก ๆ คือคำพิพากษาของศาลปกครองมีเนื้อหาหลัก ๆ คือการแก้ไขปรับปรุงการดำเนินการซึ่ง กทม. เพียงนำมาดำเนินการก็เสร็จสิ้น และ กรุงเทพมหานครต้องการดำเนินการในรูปแบบย่านอย่างที่พูดไปแล้ว