กรมอุตุฯ อัพเดตล่าสุดพายุ 3 ลูก เผยมี “มวลอากาศเย็น” จ่อตอนบน

มวลอากาศเย็นปกคลุมตอนบน
อธิบายภาพ : ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยมีหย่อมความกดอากาสต่ำกำลังแรง บริเวณประเทศจีนตอนใต้ ขณะที่ตอนบนมีมวลอากาศเย็นอยู่ทางตอนบนของประเทศไทย

กรมอุตุฯอัพเดตเส้นทางพายุ 3 ลูกล่าสุด เผย “พายุเซาลา” อ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชันแล้ว คาดอาจช่วยดีงร่องมรสุมกลับมาพาดผ่านบริเวณตอนบนของไทยได้ เตือนไปจีน-ไต้หวัน ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเดินทาง ส่วนพายุโซนร้อน “คีรอกี (KIROGI)” ยังอยู่ห่างมาก แต่หลายพื้นที่ยังต้องเฝ้าระวังฝนตกหนักจากอิทธิพลของมรสุมช่วง 3-5 ก.ย.นี้ เสี่ยงท่วมฉันพลัน เผยมีมวลอากาศเย็นอยู่ทางตอนบนของประเทศไทยด้วย

วันที่ 3 กันยายน 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา อัพเดทเส้นทางพายุเช้าวันนี้ (3/9/66) ว่า พายุ”เซาลา(SAOLA)” ได้อ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชัน และจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในวันนี้ RSMC โตเกียว ไม่ได้ติดตามแล้ว

ส่วนพายุไต้ฝุ่น “ไห่ขุย (HAIKUI)” บริเวณมหาสมุทรตะวันตก กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไต้หวันวันนี้ จึงขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปจีนตอนใต้และเกาะไต้หวัน ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในระยะนี้

อัพเดตเส้นทางพายุไต้ฝุ่นเซาลา
เส้นทางพายุไต้ฝุ่นเซาลา

สำหรับพายุโซนร้อน “คีรอกี (KIROGI)” ยังอยู่ห่างมาก พายุทั้ง 3 ลูก ไม่มีผลต่อสภาพอากาศของไทย มีใกล้เคียงหน่อยคือพายุ”เซาลา” ที่จะสลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ซึ่งอาจจะช่วยดีงร่องมรสุมกลับมาพาดผ่านบริเวณตอนบนของไทยได้ ฝนที่เกิดขึ้นในขณะนี้มาจากมรสุมและร่องมรสุม

เส้นทางพายุไต้ฝุ่นไห่ขุย
เส้นทางพายุไต้ฝุ่นไห่ขุย

สำหรับ พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. (นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 3 – 12 ก.ย.66 อัพเดทจากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF)

วันที่ 3 – 5 ก.ย.66 เป็นช่วงที่ประเทศไทยยังมีโอกาสที่มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักกระจายหลายพื้นที่ ส่วนใหญ่บริเวณภาคใต้ฝั่งอันดามันด้านรับมรสุม (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล) ต้องเฝ้าระวังฝนตกหนักถึงหนักมาก เนื่องจากมรสุมมีกำลังแรงขึ้น

ส่วนร่องมรสุมยังพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคอีสาน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ตอนบน จึงทำให้มีฝนกระจายเและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ดังกล่าว ระวังฝนหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้บริเวณใกล้แนวร่องมรสุมพาดผ่าน ต้องติดตามประกาศเตือนภัยจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด

พยากรณ์ปริมาณฝนสะสม 24 ชม.( 4 ก.ย.66)
พยากรณ์ปริมาณฝนสะสม 24 ชม.( 4 ก.ย.66)

ส่วนวันที่ 6-12 ก.ย.66 ฝนเริ่มลดลงบ้าง มรสุมเบาลง ร่องมรสุมยังสวิงขึ้นไปพาดผ่านทางภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน ทำให้ ยังมีฝนตกต่อเนื่องเกิดขึ้นบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคอีสาน ภาคกลาง (รวม กทม.และปริมณฑล) ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนและด้านรับมรสุม คลื่นลมยังมีกำลังปานกลางถึงแรง ชาวเรือ ชาวประมงต้องระมัดระวัง น่าจะเป็นช่วงดีๆ สำหรับพื้นที่ที่ยังมีฝนน้อย เป็นโอกาสที่จะมีฝนเพิ่ม เตรียมรองรับน้ำฝนและกักเก็บน้้ำไว้ใช้

แต่สภาวะฝนในฤดูฝนปีนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงภายใต้เงื่อนไขของปีที่มีปรากฏการณ์เอลนีโญขนาดแรงในขณะนี้ ฝนยังไม่เป็นไปตามรูปแบบของตัวการที่เกิดขึ้น

ส่วนพายุ “เซาลา” บริเวณประเทศจีนตอนใต้ ได้อ่อนกำลังลงแล้ว และคาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ย (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)

วิเคราะห์แผนที่อากาศผิวพื้นเวลา 01.00น.และ ภาพถ่ายดาวเทียม เช้าวันนี้ (3/9/66) : มรสุมยังมีกำลังแรงพัดปกคลุมบ้านเรา ร่องมรสุมได้สวิงกลับขึ้นไปพาดผ่านบริเวณภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน พายุ”เซาลา(SAOLA)” ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน เมฆฝนเช้านี้ยังปกคลุมบริเวณภาคใต้ฝั่งอันดามันและทะเลอันดามัน วันนี้ยังต้องเฝ้าระวังฝนตกหนัก ด้านรับมรสุม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยมีหย่อมความกดอากาสต่ำกำลังแรง บริเวณประเทศจีนตอนใต้ ขณะที่ตอนบนมีมวลอากาศเย็นอยู่ทางตอนบนของประเทศไทยด้วย

ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า :

ในช่วงวันที่ 3 – 5 ก.ย. 66 ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 6 – 9 ก.ย. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และประเทศลาว ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงเริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ยังคงทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ในช่วงวันที่ 3 – 6 ก.ย. 66 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลมีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 7 – 9 ก.ย. 66 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

พยากรณ์อากาศ 7 วัน 1-7 ก.ย.2566

ข้อควรระวัง:

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง สำหรับเรือเล็กในบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 6 ก.ย. 66

ส่วนสถานการณ์แผ่นดินไหวในช่วง (2 – 3 ก.ย. 66): ตรวจพบเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 3.7 มีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเมียนมา ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทยแต่อย่างใด

พทื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนักถึงหนักมาก-4 กันยายน 2566