งานมหกรรมหนังสือ 2566 จัดวันสุดท้าย สรุปกิจกรรม-บูทน่าสนใจ

งานหนังสือ มหกรรมหนังสือระดับชาติ 2566
อัพเดตล่าสุด ณ วันที่ 23 ตุลาคม 2566

งานหนังสือ หรือ มหกรรมหนังสือระดับชาติ 2566 กลับมาอีกครั้ง จัดงานที่ศูนย์สิริกิติ์ วันนี้ (23 ต.ค. 2566) มีกิจกรรมอะไรน่าสนใจบ้าง

กลับมาอีกครั้ง สำหรับช่วงเวลาของหนอนหนังสือทุกคน กับมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 28 โดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) โดยงานครั้งนี้มาในแนวคิดที่ว่า “BOOK DREAMS” ที่ชวนมาเปิดหน้าต่างบานใหม่สู่โลกในฝันของนักอ่าน ตลอดทั้ง 12 วันของการจัดงาน ตั้งแต่ 12-23 ตุลาคม 2566

“ประชาชาติธุรกิจ” รวบรวมความน่าสนใจในงานมหกรรมหนังสือฯ ในครั้งนี้ มาให้ทุกคนได้เตรียมตัวกัน

ไฮไลต์นิทรรศการ-กิจกรรม

นิทรรศการและกิจกรรมที่น่าสนใจในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ 2566 มีดังนี้

1. มูลนิธิหนึ่งอ่านล้านตื่น เลขบูท R02

2. นิทรรศการ 50 ปี 14 ตุลา เจ้าฝันถึงโลกสีใด เลขบูท R04

12 ตุลาคม 2566

  • 17.00-18.00 น. นำชมนิทรรศการ 50 ปี 14 ตุลา เจ้าฝันถึงโลกสีใด โดย รศ.ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

14 ตุลาคม 2566

  • เสวนา 50 ปี 14 ตุลา เจ้าฝันถึงโลกสีใด และนำชมนิทรรศการ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข และ รศ.ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
  • เสวนา 16.00-17.00 น.
  • นำชมนิทรรศการ 17.00-18.00 น.

21 ตุลาคม 2566

  • 16.00-17.00 น. นำชมนิทรรศการ 50 ปี 14 ตุลา เจ้าฝันถึงโลกสีใด โดย รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ

3. กิจกรรม PUBAT X สมาคมป้ายยาหนังสือ เลขบูท R05

  • Book Blind Date กิจกรรมแลกหนังสือที่ไม่รู้ว่าหนังสือที่ห่อไว้นั้นคือเรื่องอะไร
  • Books Crossword Puzzle ปริศนาอักษรไขว้จากชื่อหนังสือ
  • Books Cover Challenge ประลองความจำด้วยการทายชื่อหนังสือจากหน้าปกต่าง ๆ โดยไม่มีชื่อหนังสือบอกเอาไว้บนปก

4. โครงการ “The Book Teller”

การแข่งขันเพื่อคัดสรร 10 นักพูดที่ดีที่สุด พวกเขาจะเลือกหนังสือ 1 เล่ม ที่เป็นหนังสือในฝันของพวกเขา มาบอกเล่า แบ่งปัน พูดคุย หรือนำเสนอด้วยกลวิธีใด ๆ ก็ได้ เพื่อให้ผู้ฟังอยากอ่านหรืออยากทำความรู้จักหนังสือในฝันของพวกเขา

รูปแบบการแข่งขันเริ่มตั้งแต่เปิดรับออดิชั่นทาง TikTok จนถึงการแข่งขันในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ วันที่ 23 ตุลาคม 2566 เวลา 14.00-16.00 น. ที่จะเปลี่ยนเวทีกลางเป็นสนามแบตเทิล ให้ผู้เข้าแข่งขันประชันกัน สวมบทบาทนักขาย นักป้ายยาหนังสือที่ยอดเยี่ยมที่สุด ไปจนถึงการประกาศให้โลกรู้ในรอบสุดท้ายว่า เพราะเหตุใด หนังสือเล่มนั้น ๆ จึงควรค่าแก่การเป็นหนังสือในฝันของพวกเขา!

5. กิจกรรมโซนโต๊ะก็คือโต๊ะ Art Market เลขบูท A15 และ A35

รวมสินค้าจากศิลปินอิสระที่มีผลงานโดดเด่น ช็อปงานแฮนเมดเท่ ๆ ไม่ซ้ำใคร และเพลิดเพลินกับงาน DIY มากมายที่จะช่วยค้นหาความเป็นตัวคุณ

วันที่ 12-17 ต.ค. 2566

ZONE เลขบูท A15
พบกับร้าน Fairy Dust x Secret Garden/Erdy/Pinponcrafts x hue/2an./Seiji606/MINIFAAH x Playtone Studio/โรงเล่น

ZONE เลขบูท A35
พบกับร้าน CIRCUS DE LALELO/krobear/TataHandmade/Flick Billy Club/NIDLE & THINGS/Jaisayy x Cielyarn/Diynekomaru

วันที่ 18-23 ตุลาคม 2566

ZONE เลขบูท A15
พบกับร้าน pammy pallete/Smiletime & zky.studio/ปกผ้าคุณแม่/Memiann/Plariex/AoMMaRaMiE/Lamoon/Rangers

ZONE เลขบูท A35
พบกับร้าน TREE RA CHIN/LADYKD_HANDMADE/Chibel.litter craft/Mistletoe/Paerytopia/I H Y x Longhon/Caftsoul artisan

กิจกรรมบนเวทีที่น่าสนใจ

นอกจากกิจกรรมไฮไลต์ตลอด 12 วันของการจัดงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ รวบรวมกิจกรรมการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการเปิดตัวหนังสือต่าง ๆ ไว้มากมายตลอด 12 วัน อาทิ

จุดเปลี่ยนชีวิตศิลปิน จากหนังสือ Coming of Age 40 Years of GMM GRAMMY

กิจกรรมที่แจกลายเซ็นให้แฟนคลับผู้จับจองเป็นเจ้าของหนังสือ Coming of Age 40 Years of GMM GRAMMY โดยศิลปินจากหนังสือ Coming of Age 40 Years of GMM Grammy ทั้งหมด 6 รอบ ดังนี้

  • วันที่ 12 ตุลาคม 2566 เวลา 17.00-19.00 น. งานเปิดตัวหนังสือและกิจกรรมแจกลายเซ็นศิลปิน เป๊ก-ผลิตโชค อายนบุตร, เนม-ปราการ ไรวา (Getsunova) และ MONICA
  • วันที่ 16 ตุลาคม 2566 เวลา 17.00-19.00 น. กิจกรรมแจกลายเซ็นศิลปิน New Country, TIGGER และ PERSES
  • วันพุธที่ 18 ตุลาคม 2566 เวลา 16.00-18.00 น. กิจกรรมแจกลายเซ็นศิลปิน ไมค์ ภิรมย์พร หญิงลี ศรีจุมพล ตรี ชัยณรงค์ และ มิ้วส์ อรภัสญาน์
  • วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม 2566 เวลา 18.00-20.00 น. กิจกรรมแจกลายเซ็นศิลปิน กวาง AB Normal
  • วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม 2566 เวลา 19.00-21.00 น. กิจกรรมแจกลายเซ็นศิลปิน Toru & Peak
  • วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม 2566 เวลา 17.00-19.00 น. กิจกรรมแจกลายเซ็นศิลปิน The White Hair Cut

ส่องกิจกรรมอื่นบนเวทีกลาง

นอกจากกิจกรรมใหญ่ของ GMM Grammy และ The Cloud แล้ว ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ น่าสนใจ ดังนี้

วันศุกร์ 13 ตุลาคม 2566

  • เวลา 15.00-16.00 น. Content that Sells เขียนคอนเทนต์ให้ตรงใจ ดึงดูดคนได้ในไม่กี่วินาที โดย แบงค์ Content Shifu (สิทธินันท์ พลวิสุทธิศักดิ์)

วันเสาร์ 14 ตุลาคม 2566

  • เวลา 10.00-11.00 น. เรื่องราวที่ยิ่งใหญ่ แรงบันดาลใจ จากหนังสือ สู่นักเรียนทุนชีฟนิ่ง ในสหราชอาณาจักร โดย นางสาวสิรินภา จ้องสุวรรณ และ นางสาวเมลาลินทร์ มหาวงศ์ตระกูล นักเรียนทุนชีฟนิ่ง ประเทศไทย
  • เวลา 13.00-14.00 น. 140 ปี ไปรษณีย์ไทย ส่งทุกความสัมพันธ์ สู่ทุกความสำเร็จ โดยบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (พบกับแสตมป์ชุดฉลอง 140 ปี ไปรษณีย์ไทย และสินค้าไฮไลต์)
  • เวลา 17.00-18.00 น. ห้องสมุดอ่านเปลี่ยนโลก โดย ครูจุ๊ย กุลธิดา/รักชนก ศรีนอก

วันอาทิตย์ 15 ตุลาคม 2566

  • เวลา 10.00-11.00 น. จาก จันทราอุษาคเนย์ สู่ “ศรีเทพ” มรดกโลก ในโลกวรรณกรรม โดย คุณวรรธนวรรณ จันทรจนา นามปากกา “วรรณวรรธน์”
  • เวลา 18.00-19.00 น. ชาวก้าวไกลอ่านหนังสืออะไรกับลูก โดย ทนายแจม-ศศินันท์ ธรรมนิธินันท์

วันจันทร์ 16 ตุลาคม 2566

  • เวลา 19.00-20.00 น. Book Talk : ทำไมเราถึงต้องอ่าน ผู้บริสุทธิ์ในสังคมไทยยุคปัจจุบัน โดย ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ

วันอังคาร 17 ตุลาคม 2566

  • เวลา 15.00-16.00 น. เสวนา “เสรีภาพไม่ใช่การตามใจ” โดย
    • คุณรัชนี ธงไชย แม่แบบการศึกษาทางเลือกและครูใหญ่ โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก ชุมชนที่เต็มเปี่ยมไปด้วยเสรีภาพแห่งการเรียนรู้ ความรัก และชีวิตใหม่ของเด็กยากไร้
    • คุณทิชา ณ นคร (ป้ามล) ผู้อำนวยการศูนย์ฝึก และอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก หน่วยงานราชการมีสังกัดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม
    • นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
  • เวลา 16.00-17.00 น. Crisis of Trust โดย ศ.ดร.วรภัทร โตธนะเกษม และ ดร.ภากร ปีตธวัชชัย

วันพุธ 18 ตุลาคม 2566

  • เวลา 18.00-20.00 น. ชีวิตที่ดีคืออะไร โดย นิ้วกลม, ธนา เธียรอัจฉริยะ, กระทิง พูนผล, ท้อฟฟี่ แบรดชอว์

วันพฤหัสบดี 19 ตุลาคม 2566

  • เวลา 16.00-17.00 น. บันทึกคนทำสารคดี โดย ชนินทร์ ชมะโชติ

วันเสาร์ 21 ตุลาคม 2566

  • เวลา 12.00-13.00 น. Best Seller All Time โชคดีที่มึงได้อ่าน และมั่งคั่งทั้งชีวิต โดย น้าเน็ก (เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา) และ คุณพอล (ภัทรพล ศิลปาจารย์)
  • เวลา 13.00-14.00 น. Book Talk : ธี่หยด… แว่วเสียงครวญคลั่ง : ความหลอนจากหนังสือสู่ภาพยนตร์ โดย
    • กฤตานนท์ ผู้เขียน
    • สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์ ผู้เขียนบทภาพยนตร์
    • ทวีวัฒน์ วันทา ผู้กำกับ
    • มิ้ม รัตนวดี วงศ์ทอง นักแสดง
    • จูเนียร์ กาจบัณฑิต ใจดี นักแสดง
  • เวลา 19.00-20.00 น. เสวนาพิเศษ พร้อมเปิดตัวหนังสือ “People Transformation : เตรียมคนให้พร้อมเพื่อโอกาส และความท้าทาย ปี 2024” โดย
    • คุณวรวัจน์ สุวคนธ์ รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
    • ดร.ธารินี สุรัตพิพิธ ผู้เขียนหนังสือ People Transformation
    • คุณจารุวรรณ เวชตระกูล บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์วิช

วันอาทิตย์ 22 ตุลาคม 2566

  • เวลา 14.00-15.00 น. สมาคมใหหนำแห่งประเทศไทย เปิดตัวหนังสือ อัตลักษณ์ไหหลำ และศาลเจ้าจีนไหหลำในประเทศไทย โดย
    • คุณมานะผล ภู่สมบุญ นายกสมาคมใหหนำแห่งประเทศไทย
    • คุณวรพจน์ เพียรอภิธรรม อุปนายก และประธานคณะกรรมการจัดทำหนังสืออัตลักษณ์
    • คุณสิทธิพร หาญญานันท์ อุปนายกและประธานจัดงาน
    • คุณปภพ สิทธิผล บรรณาธิการบริหาร และผู้เรียบเรียงหนังสืออัตลักษณ์ไหหลำ

วันจันทร์ 23 ตุลาคม 2566

  • เวลา 14.00-16.00 น. “The Book Teller” ภายใต้แนวคิด Dream of Speech นี่สิ! หนังสือในฝันของฉัน

นอกจากกิจกรรมที่เวทีกลางแล้ว ยังมีกิจกรรมอบรมสัมมนาต่าง ๆ ที่ห้อง MR 203 และ MR 205 ในวันที่ 14, 19 และ 21 ตุลาคม 2566 โดยดูรายละเอียดตารางอบรมสัมมนาได้ที่นี่

งานเริ่มวันไหน เปิด-ปิดกี่โมง ?

งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 28 จะจัดขึ้นในวันที่ 12-23 ตุลาคม 2566 ณ ชั้น LG ฮอลล์ 5-7 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยเวลาเปิด-ปิด เป็นดังนี้

  • จันทร์-พฤหัสบดี 11.00-22.00 น.
  • ศุกร์-อาทิตย์ 10.00-23.00 น.

โดยวันแรกของการจัดงาน (12 ตุลาคม 2566) สามารถเข้างานได้ตั้งแต่ 11.00 น. เป็นต้นไป และวันอื่น ๆ สามารถเข้างานได้ตามเวลาข้างต้น

สำหรับการเดินทาง สามารถเดินทางมาที่ศูนย์สิริกิติ์ได้ทั้งรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ลงสถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ทางออก 3 หรือนั่งรถประจำทางสาย 136 (คลองเตย-หมอชิต) และสาย 185 (รังสิต-คลองเตย) มาลงป้ายศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

หากนำรถส่วนตัวมา สามารถจอดได้ที่ชั้นใต้ดิน B1 B2 และรถจักรยานยนต์สามารถจอดได้ที่ชั้น LM

และสำหรับบริการขนส่งนั้น ผู้จัดงานระบุว่า ภายในงานมีบริการขนส่งโดย บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด โดยจะให้บริการที่บูท A46