
อัพเดทสถานะวัคซีนคนไทย Made in Thailand ทั้ง 4 ชนิด พัฒนาถึงไหนแล้ว ?
วันที่ 22 เมษายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานะ 4 วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แก่ Chula-Cov19, HXP-GPOVac, Baiya SARS-Cov-2-Vax และ Covigen โดยแต่ละชนิดมีความคืบหน้า ดังนี้
1. Chula-Cov19
- ผู้พัฒนา ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาวัคซีน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ชนิดวัคซีน mRNA
- ความคืบหน้าในการทดสอบในมนุษย์ ระยะที่ 2
- รัฐบาลสนับสนุน 2,715.59 ล้านบาท (งบกลางปี 2563 ที่ 398.79 ล้านบาท / งบเงินกู้ปี 2564 ที่ 2,316.8 ล้านบาท)
- สถานะการผลิตในประเทศ พร้อมผลิต

2. HXP-GPOVac
- ผู้พัฒนา องค์การเภสัชกรรม
- ชนิดวัคซีน Inactivated (เชื้อตาย)
- ความคืบหน้าในการทดสอบในมนุษย์ ระยะที่ 2
- รัฐบาลสนับสนุน 445.63 ล้านบาท (1. งบเงินกู้ปี 2563 ที่ 238.68 ล้านบาท 2.งบสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 238.68 ล้านบาท และ 3. งบหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) 150 ล้านบาท)
- สถานะการผลิตในประเทศ พร้อมผลิต

3.Baiya SARS-Cov-2-Vax
- ผู้พัฒนา บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ชนิดวัคซีน พัฒนามาจากต้น Nicotiana benthamiana
- ความคืบหน้าในการทดสอบในมนุษย์ ระยะที่ 1
- รัฐบาลสนับสนุน 1,469 ล้านบาท (งบเงินกู้ปี 2563 ที่ 160 ล้านบาท และงบเงินกู้ปี 2564 ที่ 1,309 ล้านบาท)
- สถานะการผลิตในประเทศ พร้อมผลิต

4. Covigen
- ผู้พัฒนา บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด
- ชนิดวัคซีน DNA
- ความคืบหน้าในการทดลองในมนุษย์ ระยะที่ 1
- รัฐบาลสนับสนุน 650 ล้านบาท มาจากงบเงินกู้ปี 2563 ทั้งหมด
- สถานะการผลิตในประเทศ ไม่ระบุ