
สถาบันโรคติดเชื้อแห่งชาติ ประเทศญี่ปุ่น เผยผลทดลองเบื้องต้นพบ ยา 3 ตัวที่อาจใช้ต้านและรักษาโรคฝีดาษลิงได้
วันที่ 5 สิงหาคม 2565 นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก กล่าวถึง การค้นพบของสถาบันโรคติดเชื้อแห่งชาติ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งพบยา 3 ตัวที่อาจสามารถต้าน-รักษาโรคฝีดาษลิง โดยทั้ง 3 ตัวเป็นยาที่มีการใช้รักษาโรคอื่นในมนุษย์อยู่แล้ว
- ชัชชาติ สั่งกรุงเทพธนาคม ยุติแผนนำสายไฟฟ้า-สายสื่อสารลงดิน 1.9 หมื่นล้าน
- ครม.แต่งตั้ง ปลัดกระทรวง-อธิบดี 3 กระทรวงสำคัญ
- คนละครึ่งเฟส5 รับ 800 บาท ลงทะเบียน ยืนยันสิทธิวันไหน ช่องทางใด
นพ.ธีระวัฒน์ระบุว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนายาและวัคซีนของสถาบันโรคติดเชื้อแห่งชาติ ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า จากการประเมินเบื้องต้น ยา 3 ตัว คือ
1. ยาทาน Atovaquone ซึ่งจำหน่ายภายใต้ชื่อแบรนด์ Mepron เป็นยาต้านจุลชีพชนิดควิโนนสำหรับการป้องกันและรักษาโรคปอดบวมจากเชื้อ Pneumocystis jirovecii
2. ยาทาน Mefloquine จำหน่ายภายใต้ชื่อทางการค้าว่า Lariam เป็นยาที่ใช้ป้องกันหรือรักษาโรคมาลาเรีย
3. ยาทาน Molnupiravir ที่ใช้รักษาโควิด-19
โดยยาทั้ง 3 ตัว มีคุณสมบัติในการต้านไวรัสฝีดาษวานร และน่าจะมีศักยภาพในการใช้เป็นการรักษาได้
อย่างไรก็ตาม นพ.ธีระวัฒน์ย้ำว่า ยาทั้ง 3 ตัวยังไม่ได้รับรองในการใช้ในฝีดาษลิง แต่ควรต้องมีการศึกษาต่ออย่างด่วน
พร้อมแนะนำว่า ในประเทศไทยอาจนำการตรวจหาเชื้อจากการแยงจมูกแบบโควิดมาใช้ตรวจหาผู้ป่วยฝีดาษลิง เนื่องจากไวรัสแพร่ออกทางน้ำลายและละอองฝอยได้พร้อมกับที่มีอาการไม่สบาย โดยยังไม่เกิดผื่นตุ่มแผลที่ผิวหนัง