ตั้งรัฐบาลช้า 10 เดือน ประยุทธ์ รักษาการนานสุด

สภา

ข้อเสนอ Worst Case Scenario ของ “กันณวีร์ สืบแสง” เลขาธิการพรรคเป็นธรรม เล่นเกมยื้อตั้งรัฐบาล 10 เดือน จนกว่า ส.ว.ลากตั้ง 250 คนจะหมดวาระในเดือนพฤษภาคม 2567 กลางที่ประชุม 8 พรรคร่วมรัฐบาล 312 เสียง กลายเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ทั้งในแวดวงนักเลือกตั้ง นักธุรกิจ-ตลาดทุน และแม่ค้าร้านตลาด

วันที่ 25 กรกฎาคม 2566 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ที่อยู่รักษาการมาแล้ว 3 เดือน 36 วัน กล่าวก่อนเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ล่าช้าออกไป 10 เดือนว่า “ไม่ควรล่ะมั้ง”

นายธนกร วังบุญคงชนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวก่อนหน้านี้ว่า พล.อ.ประยุทธ์เป็นห่วงเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล อยากให้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ให้ได้อย่างเร็ววัน เพื่อเดินหน้าประเทศต่อไป เดินหน้าในสิ่งที่พล.อ.ประยุทธ์ได้วางรากฐานไว้กับประเทศ

ขณะที่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ตนไม่ขอแสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้ ต้องขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง และอยู่ที่ 8 พรรคการเมืองว่าสามารถดำเนินการได้เสร็จสิ้นโดยเร็วได้เมื่อไหร่ ตามที่ได้บอกว่าประชาชนได้เลือกมาแล้ว ก็อยู่ที่ 8 พรรคการเมือง ซึ่งต้องถือว่าสถานการณ์การจัดตั้งรัฐบาลอยู่ตรงนี้ หลักใหญ่ขณะนี้เป็นหน้าที่ของ 8 พรรค ที่จะต้องไปจัดตั้งรัฐบาล เพราะฉะนั้นต้องเป็นหน้าที่ที่ต้องทำให้เสร็จสิ้น

“การจัดตั้งรัฐบาลก็เป็นหน้าที่ของ 8 พรรค 312 เสียง พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีส่วนอะไรเข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ เพราะฉะนั้นเป็นหน้าที่ของ 8 พรรค ที่จะต้องไปดำเนินการ พรรคประชาธิปัตย์เป็นอะไรก็ได้ พรรคทำหน้าที่เต็มที่ ไม่ต้องกังวล เพราะเราทราบดีว่าหน้าที่ในการที่จะเป็นอะไรต้องทำอะไรอย่างไรบ้าง” นายจุรินทร์กล่าว
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิเสธที่จะตอบคำถามและกล่าวสั้น ๆ ว่า “รอให้เกิดความแน่นอนก่อน”

Advertisment

หากย้อนกลับไปรัฐบาลในอดีตนับตั้งแต่รัฐบาลยุค ม.ร.ว.เสนีย์ สมัยแรก จนถึงรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ สมัยที่ 2 รัฐบาลไหนรักษาการนานที่สุด

  • รัฐบาลประยุทธ์ 2 เข้ารับตำแหน่ง 9 กรกฎาคม 2562 ยุบสภา 20 มีนาคม 2566-เลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 ยังอยู่ระหว่างเป็นรัฐบาลรักษาการ 3 เดือน 36 วัน
  • รัฐบาลประยุทธ์ 1 เข้ารับตำแหน่ง 24 สิงหาคม 2557-เลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 ช่วงเปลี่ยนผ่านจาก คสช.-รัฐบาลประยุทธ์ 1 ระยะเวลา 3 เดือน 16 วัน
  • รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ เข้ารับตำแหน่ง 5 สิงหาคม 2554 ยุบสภาวันที่ 9 ธันวาคม 2556 คสช.รัฐประหารวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 หรือเป็นรัฐบาลรักษาการ-ไม่มีรัฐบาลตัวจริง 4 เดือน 45 วัน
  • รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เข้ารับตำแหน่ง 17 ธันวาคม 2551 ประกาศยุบสภาวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 เป็นรัฐบาลรักษาการ 2 เดือน 26 วัน
  • รัฐบาลนายสมชาย เข้ารับตำแหน่ง 18 กันยายน 2551 พ้น 2 ธันวาคม 2551 เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน รักษาการ 15 วัน
  • รัฐบาลนายสมัคร เข้ารับตำแหน่ง 29 มกราคม 2551 พ้น 9 กันยายน 2551 เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากตำแหน่งเพราะเป็นพิธีกรรายการทีวี ช่วงเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี 9 วัน
  • รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ เข้ารับตำแหน่งวันที่ 1 ตุลาคม 2549 พ้น 29 มกราคม 2551-เลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 รักษาการ 37 วัน
  • รัฐบาลทักษิณ 1 เข้ารับตำแหน่งวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 อยู่ครบวาระ วันที่ 5 มกราคม 2548 ไม่มีรัฐบาลอำนาจเต็ม 1 เดือน 35 วัน
  • รัฐบาลทักษิณ 2 เข้ารับตำแหน่งวันที่ 9 มีนาคม 2548 ยุบสภาวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 คมช. รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ไม่มีรัฐบาลอำนาจเต็ม 6 เดือน 24 วัน
  • รัฐบาลนายชวน 1 เข้ารับตำแหน่ง 23 กันยายน 2535 ยุบสภาวันที่ 19 พฤษภาคม 2538 เป็นรัฐบาลรักษาการ 1 เดือน 25 วัน
  • รัฐบาลนายชวน 2 เข้ารับตำแหน่งวันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 ยุบสภาวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 เป็นรัฐบาลรักษาการ 2 เดือน 30 วัน
  • รัฐบาลชวลิต เข้ารับตำแหน่ง 25 พฤศจิกายน 2539 ลาออก 8 พฤศจิกายน 2540 เนื่องจากประสบวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ปี 2540 ใช้เวลา 1 วันเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี
  • รัฐบาลนายบรรหาร เข้ารับตำแหน่งวันที่ 13 กรกฎาคม 2538 ยุบสภาวันที่ 28 กันยายน 2539 เป็นรัฐบาลรักษาการ 1 เดือน 28 วัน
  • รัฐบาลอานันท์ 1 เข้ารับตำแหน่งวันที่ 2 มีนาคม 2534 ยุบสภาและจัดการเลือกตั้งในวันที่ 22 มีนาคม 2535 เป็นรัฐบาลรักษาการไม่เกิน 16 วัน
  • รัฐบาลอานันท์ 2 หลังเกิดเหตุการณ์พฤษภา 35 เข้ารับตำแหน่งวันที่ 10 มิถุนายน 2535 ยุบสภาวันที่ 30 มิถุนายน 2535 มีรัฐบาลรักษาการ 2 เดือน 23 วัน
  • รัฐบาลสุจินดา เข้ารับตำแหน่งวันที่ 7 เมษายน 2535 ประกาศลาออกวันที่ 24 พฤษภาคม 2535 เนื่องจากเหตุการณ์พฤษภา 35 นายมีชัย ฤชุพันธุ์ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นผู้รักษาราชการแทนชั่วคราว 17 วัน
  • รัฐบาลชาติชาย 1 เข้ารับตำแหน่งวันที่ 4 สิงหาคม 2531 ประกาศลาออกวันที่ 9 ธันวาคม 2533 แล้วจัดตั้งรัฐบาลใหม่ทันที
  • รัฐบาลชาติชาย 2 เข้ารับตำแหน่งวันที่ 9 ธันวาคม 2533 โดน รสช. รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 รัฐบาลอยู่ในช่วงสุญญากาศเพียง 8 วัน
  • รัฐบาลเปรม 1 เข้ารับตำแหน่งวันที่ 3 มีนาคม 2523 ยุบสภาวันที่ 19 มีนาคม 2526-เลือกตั้งวันที่ 18 เมษายน 2526 รักษาการ 1 เดือน 12 วัน
  • รัฐบาลเปรม 2 เข้ารับตำแหน่ง 30 เมษายน 2526 ยุบสภาวันที่ 2 พฤษภาคม 2529 เนื่องจากสภาไม่อนุมัติ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก-เลือกตั้งวันที่ 27 กรกฎาคม 2529 รักษาการ 2 เดือน 34 วัน
  • รัฐบาลเปรม 3 เข้ารับตำแหน่ง 5 สิงหาคม 2529 ยุบสภา 29 เมษายน 2531-เลือกตั้งวันที่ 24 กรกฎาคม 2531 รัฐบาลรักษาการ 3 เดือน 30 วัน
  • รัฐบาลเกรียงศักดิ์ 1 เข้ารับตำแหน่ง 11 พฤศจิกายน 2520 สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งวันที่ 21 ธันวาคม 2521 ภายหลังรัฐธรรมนูญปี 2521 ประกาศใช้-เลือกตั้ง 22 เมษายน 2522 ช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล 4 เดือน 32 วัน
  • รัฐบาลเกรียงศักดิ์ 2 เข้ารับตำแหน่ง 12 พฤษภาคม 2522 ลาออกวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2523 เนื่องจากประสบกับวิกฤตน้ำมันและผู้ลี้ภัย ใช้เวลา 3 วัน
  • รัฐบาลธานินทร์ เข้ารับตำแหน่ง 8 ตุลาคม 2519 พ้นจากตำแหน่ง 20 ตุลาคม 2520 โดนคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินรัฐประหารตัวเอง เป็นช่วงสุญญากาศ 22 วัน
  • รัฐบาลเสนีย์ 1 เข้ารับตำแหน่ง 17 กันยายน 2488 พ้น 31 มกราคม 2489 ไม่มีรัฐบาลใหม่ 1 เดือน 24 วัน
  • รัฐบาลเสนีย์ 2 เข้ารับตำแหน่ง 15 กุมภาพันธ์ 2518 พ้น วันที่ 6 มีนาคม 2518 เพราะ ส.ส.ลงมติไม่ไว้วางใจในการแถลงนโยบาย เปลี่ยนไปเป็น “ม.ร.ว.ผู้น้อง” ใน 9 วัน
  • รัฐบาลเสนีย์ 3 เข้ารับตำแหน่ง 20 เมษายน 2519 ลาออก 25 กันยายน 2519 เนื่องจากเกิดการประท้วงที่จอมพลถนอมกลับประเทศมาบวชที่วัดบวรนิเวศวิหาร รอยต่อรัฐบาล 13 วัน
  • รัฐบาลเสนีย์ 4 เข้ารับตำแหน่ง 25 กันยายน 2519 พ้น 6 ตุลาคม 2519 โดนคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินรัฐประหาร ตั้งรัฐบาลภายใน 2 วัน
  • รัฐบาลคึกฤทธิ์ เข้ารับตำแหน่ง 14 มีนาคม 2518 ยุบสภา 12 มกราคม 2519 เลือกตั้งวันที่ 4 เมษายน 2519 ช่วงเปลี่ยนรัฐบาล 2 เดือน 39 วัน นักการเมืองรอไม่ได้ จนต้องจับประชาชนเป็นตัวประกัน
  • ธปท.จี้ทุกภาคส่วนผนึกกำลังเปลี่ยนเกมธุรกิจสู่ ESG รับมือกีดกันทางการค้า
  • ครม.ไฟเขียว หยุดยาว 6 วัน เพิ่มจันทร์ 31 ก.ค. 66 หยุดพิเศษ
  • จับตาวาระ ครม. เพิ่มวันหยุดพิเศษ 31 ก.ค. 66 กกต.ส่งกลับแต่งตั้งลูกวิรัช