
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ระดมผู้บริหาร อัยการ สำนักการตรวจเงินแผ่นดิน อัยการ กฤษฎีกา 3 สมาคมเอกชน สนธิกำลังศึกษา-ฟังความเห็นนโยบายรัฐบาล เติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet
การประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2566 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาและดำเนินการรับฟังความเห็นเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ตามที่คณะกรรมการเฝ้าระวังและประเมินสภาวการณ์ทุจริต เสนอโดยมีองค์ประกอบคณะกรรมการ 30 คน ดังนี้
-
- น.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานกรรมการ
- นางสุวณา สุวรรณจูฑะ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นรองประธานกรรมการ
- รศ.มนตรี โสคติยานุรักษ์
- รศ.สิริลักษณา คอมันตร์
- รศ.อัจนา ไวความดี
- รศ.อิสระ เสรีวัฒนวุฒิ
- ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน หรือผู้แทน
- อัยการสูงสุด หรือผู้แทน
- เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือผู้แทน
- เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือผู้แทน
- เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือผู้แทน
- ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน
- เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย หรือผู้แทน
- ประธานสภาอุตสาหกรรม หรือผู้แทน
- ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน
- คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- นายภูมิศิริ ดำรงวุฒิ
- นางสาวภาณี เอี้ยวสกุล
- นายสุทธินันท์ สาริมาน
- เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.
- รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.
- ผู้อำนวยการสำนักมาตรการเชิงรุกและนวัตกรรม โดยมีผู้อำนวยการสำนักเฝ้าระวังและประเมินสภาวการณ์ทุจริต เป็นกรรมการและเลขานุการ
- นางจันทน์ทิพย์ อนุกูล ผู้อำนวยการกลุ่มเฝ้าระวังและประเมินสถาวการณ์ทุจริต เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
- น.ส.กรองกานต์ ปานดำ เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มสำรวจการรับรู้การทุจริต เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
- นายยุทธนา จาวรุ่งฤทธิ์ ผู้ช่วยเลขานุการ
- น.ส.ปารวี ธีระกุล ผู้ช่วยเลขานุการ
- นายนฤดม ศรีนาวา ผู้ช่วยเลขานุการ
- นายธนกร ชีวะโกเศรษฐ ผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการ
1.รวบรวม และดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต ตลอดจนจัดทำข้อเสนอแนะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.เสนอความเห็น เพื่อให้มีการเสนอมาตรการ ความเห็น หรือข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณา
3.ประสานความร่วมมือกับคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หน่วยงานภายนอก และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet
4.เสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะบุคคล เพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการคณะนี้กำหนดและเห็นสมควร
5.ดำเนินการรับฟังความเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเสนอมาตรการ ความเห็น หรือข้อเสนอแนะ เพื่อป้องกันการทุจริตต่อนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet
6.ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมาย
ทั้งนี้ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาและดำเนินการรับฟังความเห็นเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet อย่างเป็นทางการนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างรอให้ พล.ต.อ.วัชรพล ประสานราชกิจ ประธาน ป.ป.ช. ลงนาม