76 ปี ประชาธิปัตย์ 8 หัวหน้าพรรค เลือกตั้ง 19 ครั้ง ไม่เคยชนะแลนด์สไลด์

วันที่ 6 เมษายน 2565 พรรคประชาธิปัตย์ก่อตั้งครบรอบ 76 ปี ฝ่ามรสุมขาขึ้น-ขาลง มีทั้งแพ้-ชนะ นำลูกพรรคเข้าสภา-ทำเนียบหลักทะลุหลักร้อย-ต่ำร้อย

ตลอด 7 ทศวรรษ ประชาธิปัตย์เปลี่ยนหัวหน้าพรรคมาแล้ว 8 คน ถือธงนำพรรคเก่าแก่มาแล้วถึง 19 ครั้ง เป็นพรรครัฐบาล 7 ครั้ง เป็นพรรคฝ่ายค้าน 11 ครั้ง บอยคอตเลือกตั้ง 3 ครั้ง

“จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 8 (15 พฤษภาคม 2562) –ปัจจุบัน แม้ยังไม่ได้พิสูจน์ฝีมือในการเลือกตั้งสนามใหญ่ แต่ได้วอร์มอัพในการสู้ศึกสนามเลือกตั้งซ่อม แพ้ 3 ครั้ง ชนะ 2 ครั้ง และไม่ส่งผู้สมัครลง 5 ครั้ง

วันที่ 27 พฤษภาคม 2562
– แพ้เลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 8 เชียงใหม่

วันที่ 23 ตุลาคม 2562
– แพ้เลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 5 นครปฐม

วันที่ 22 ธันวาคม 2562
– ไม่ส่งลงเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 7 ขอนแก่น

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563
– ไม่ส่งลงเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 2 กำแพงเพชร

วันที่ 20 มิถุนายน 2563
– ไม่ส่งเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 4 ลำปาง

วันที่ 9 สิงหาคม 2563
– ไม่ส่งลงเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 5 สมุทรปราการ

วันที่ 7 มีนาคม 2564
– แพ้เลือกตั้งซ่อม ส.ส.นครศรีธรรมราช เขต 3

วันที่ 16 มกราคม 2565
– ชนะเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ชุมพร เขต 1
– ชนะเลือกตั้งซ่อม ส.ส.สงขลา เขต 6

วันที่ 30 มกราคม 2565
– ไม่ส่งลงเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม.เขต 9 หลักสี่-จตุจักร

รายนามหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ทั้ง 8 คน ภาพจากเว็บไซต์ democrat.or.th

หากย้อนกลับไปดูผลงานของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ 7 คนก่อนหน้านี้

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 1 นายควง อภัยวงศ์ วาระการดำรงตำแหน่ง 2489-15 มีนาคม 2511 เป็นหัวหน้าพรรคที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด 22 ปี นำเลือกตั้ง 2 ครั้ง เป็นฝ่ายค้านทั้ง 2 ครั้ง บอยคอตเลือกตั้ง 1 ครั้ง ในปี 2495

  • เลือกตั้ง 26 ก.พ. 2500 ได้ ส.ส. 30 คน จากทั้งสภา 160 คน แบ่งออกเป็น กทม. 4 คน กลาง 1 คน ใต้ 6 คน เหนือ 7 คน อีสาน 12 คน (ฝ่ายค้าน)
  • เลือกตั้ง 15 ธ.ค. 2500 ได้ ส.ส. 39 คน จากทั้งสภา 160 คน แบ่งออกเป็น กทม. 11 คน กลาง 4 คน ใต้ 8 คน เหนือ 13 คน อีสาน 3 คน (ฝ่ายค้าน)
  • เลือกตั้ง 30 ม.ค. 2501 ได้ ส.ส.13 คน จากทั้งสภา 26 คน แบ่งออกเป็น กทม. 12 คน อีสาน 1 คน (ข้อมูลรอยืนยัน)

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 2 ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช วาระการดำรงตำแหน่ง 2511-26 พฤษภาคม 2522 นำประชาธิปัตย์ เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล 1 ครั้ง เป็นพรรคร่วมรัฐบาล 1 ครั้ง เป็นฝ่ายค้าน 2 ครั้ง

  • เลือกตั้ง 10 ก.พ. 2512 ได้ ส.ส. 55 คน จากทั้งสภา 219 คน แบ่งออกเป็น กทม. 21 คน กลาง 4 คน ใต้ 9 คน เหนือ 13 คน อีสาน 8 คน (ฝ่ายค้าน)
  • เลือกตั้ง 26 ม.ค. 2518 ได้ ส.ส. 72 คน จากทั้งสภา 269 คน แบ่งออกเป็น กทม. 23 คน กลาง 12 คน ใต้ 15 คน เหนือ 17 คน อีสาน 5 คน (ร่วมรัฐบาล)
  • เลือกตั้ง 4 เม.ย. 2519 ได้ ส.ส. 114 คน จากทั้งสภา 279 คน แบ่งออกเป็น กทม. 28 คน กลาง 17 คน ใต้ 29 คน เหนือ 15 คน อีสาน 24 คน (แกนนำจัดตั้งรัฐบาล)
  • เลือกตั้ง 22 เม.ย. 2522 ได้ ส.ส. 35 คน จากทั้งสภา 301 คน แบ่งออกเป็น กทม. 1 คน กลาง 3 คน ใต้ 15 คน เหนือ 7 คน อีสาน 9 คน (ฝ่ายค้าน)

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 3 พ.อ.ถนัด คอมันตร์ วาระการดำรงตำแหน่ง 26 พฤษภาคม 2522-3 เมษายน 2525 “พ.อ.ถนัด” เบื้องต้นไม่ปรากฏชื่อเป็นหัวหน้าพรรคในช่วงเวลาที่มีการเลือกตั้งสักครั้งเดียว

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 4 นายพิชัย รัตตกุล วาระการดำรงตำแหน่ง 3 เมษายน 2525-26 มกราคม 2534 เป็นหัวหน้าพรรคคนเดียวที่นำประชาธิปัตย์ร่วมรัฐบาลถึง 3 ครั้ง ตลอดอายุการเป็นหัวหน้าพรรค

  • เลือกตั้ง 18 เม.ย. 2526 ได้ ส.ส. 56 คน จากทั้งสภา 324 คน แบ่งออกเป็น กทม. 8 คน กลาง 2 คน ใต้ 25 คน เหนือ 8 คน อีสาน 13 คน (ร่วมรัฐบาล)
  • เลือกตั้ง 27 ก.ค. 2529 ได้ ส.ส. 100 คน จากทั้งสภา 347 คน แบ่งออกเป็น กทม. 16 คน กลาง 10 คน ใต้ 36 คน เหนือ 10 คน อีสาน 28 คน (ร่วมรัฐบาล)
  • เลือกตั้ง 24 ก.ค. 2531 ได้ ส.ส. 48 คน จากทั้งสภา 357 คน แบ่งออกเป็น กทม. 5 คน กลาง 4 คน ใต้ 16 คน เหนือ 6 คน อีสาน 17 คน (ร่วมรัฐบาล)

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 5 นายชวน หลีกภัย วาระดำรงตำแหน่ง 26 มกราคม 2534-6 พฤษภาคม 2546 เป็นหัวหน้าพรรคถือธงเลือกตั้งมากที่สุด 5 ครั้ง เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล 1 ครั้ง ฝ่ายค้าน 4 ครั้ง

  • เลือกตั้ง 22 มี.ค. 2535 ได้ ส.ส. 44 คน จากทั้งสภา 360 คน แบ่งออกเป็น กทม. 1 คน กลางไม่ได้เลย ใต้ 26 คน เหนือ 5 คน อีสาน 12 คน (ฝ่ายค้าน)
  • เลือกตั้ง 13 ก.ย. 2535 ได้ ส.ส. 79 คน จากทั้งสภา 360 คน แบ่งออกเป็น กทม. 9 คน กลาง 9 คน ใต้ 36 คน เหนือ 8 คน อีสาน 17 คน (แกนนำจัดตั้งรัฐบาล)
  • เลือกตั้ง 2 ก.ค. 2538 ได้ ส.ส.86 คน จากทั้งสภา 391 คน แบ่งออกเป็น กทม. 7 คน กลาง 7 คน ใต้ 46 คน เหนือ 12 คน อีสาน 14 คน (ฝ่ายค้าน)
  • เลือกตั้ง 17 พ.ย. 2539 ได้ ส.ส. 123 คน จากทั้งสภา 393 คน แบ่งออกเป็น กทม. 29 คน กลาง 14 คน ใต้ 47 คน เหนือ 21 คน อีสาน 12 คน (ฝ่ายค้าน)
  • เลือกตั้ง 6 ม.ค. 2544 ได้ ส.ส. 130 คน จากทั้งสภา 500 คน แบ่งออกเป็น กทม. 9 คน กลาง 18 คน ใต้ 48 คน เหนือ 18 คน อีสาน 5 คน บัญชีรายชื่อ 32 คน (ฝ่ายค้าน)

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 6 นายบัญญัติ บรรทัดฐาน วาระดำรงตำแหน่ง 6 พฤษภาคม.2546-15 มีนาคม 2548 เป็นหัวหน้าพรรคที่ดำรงตำแหน่งสั้นที่สุด นำแพ้เลือกตั้ง 1 ครั้ง-เป็นฝ่ายค้าน

  • เลือกตั้ง 6 ก.พ. 2548 ได้ ส.ส. 96 คน จากทั้งสภา 500 คน แบ่งออกเป็น กทม. 4 คน กลาง 7 คน ใต้ 52 คน เหนือ 5 คน อีสาน 2 คน บัญชีรายชื่อ 26 คน (ฝ่ายค้าน)

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 7 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ วาระดำรงตำแหน่ง 15 มีนาคม 2548-24 มีนาคม 2562 เป็นฝ่ายค้าน 2 ครั้ง ฝ่ายรัฐบาล 1 ครั้ง บอยคอตเลือกตั้ง 2 ครั้ง (ปี 2549 และ ปี 2557)

  • เลือกตั้ง 23 ธ.ค. 2550 ได้ ส.ส. 164 ที่นั่ง จากทั้งสภา 480 ที่นั่ง แบ่งออกเป็น กทม. 27 คน กลาง 35 คน ใต้ 49 คน เหนือ 15 คน อีสาน 5 คน บัญชีรายชื่อ 33 คน (ฝ่ายค้าน)
  • เลือกตั้ง 3 ก.ค. 2554 ได้ ส.ส. 160 เก้าอี้ จากทั้งสภา 500 เก้าอี้ แบ่งออกเป็น กทม. 23 คน กลาง 25 คน ใต้ 50 คน เหนือ 13 คน อีสาน 4 คน บัญชีรายชื่อ 44 คน (ฝ่ายค้าน)
  • เลือกตั้ง 24 มี.ค. 2562 ได้ ส.ส. 52 ที่นั่ง จากทั้งสภา 500 ที่นั่ง แบ่งออกเป็น กทม.ไม่ได้เลย กลาง 8 คน ใต้ 22 คน เหนือ 1 คน อีสาน 2 คน บัญชีรายชื่อ 19 คน (ร่วมรัฐบาล)

พรรคประชาธิปัตย์เคยขึ้นสู่จุดสูงสุด-ต่ำสุด ทว่า ยังไม่เคยชนะเลือกตั้งแบบแลนด์สไลด์-จัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว ?