มหิดลชี้ ผลวิจัยเด็กทุนกรุงไทยการไฟฟ้า สามารถนำไปสู่โมเดลการพัฒนาคนที่ยั่งยืน

หลายองค์กรที่ทำงานด้าน ESG ในบ้านเรามีไม่กี่แห่งที่จะเน้นการทำงานด้านการให้โอกาสทางการศึกษาที่ต่อเนื่องและจริงจัง เนื่องจากต้องใช้งบประมาณที่จำนวนมาก ต้องมีบุคลากรและกระบวนการทำงานที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่ไม่มั่นคงและเห็นความสำคัญ 

ปี 2565 สหประชาชาติประจำประเทศไทยได้ลงนามในกรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน วาระปี พ.ศ. 2565-2569 (UNSDCF) กับรัฐบาลไทย   เพื่อให้บรรลุความมุ่งหมายอันสูงที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง  โดยหนึ่งในเรื่องความยั่งยืนคือด้านการศึกษา 

 ซึ่งเล่าสุด เพื่อให้เกิดการถอดบทเรียนสำคัญของการทำงานด้านการศึกษา ผศ.ดร.สราวุธ เวชกิจ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าทีมวิจัย โครงการทุนการศึกษา บริษัท กรุงไทยการไฟฟ้า จำกัด ได้มาร่วมถอดผลลัพธ์ของการดำเนินงานวิจัยที่กรุงไทยการไฟฟ้า ว่ามีนัยสำคัญต่อภาคเอกชนหรือองค์กรที่ทำงานด้านการให้ทุนการศึกษา ว่า 

  ตลอดระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา เด็กไทย 1 ใน 5 คน จะไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษา ซึ่งผลจากการศึกษาของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเมื่อปี 2561 รายงานว่า เหตุผลหลักของการด้อยโอกาสทางการศึกษา คือ ปัญหาความยากจน ซึ่งโครงการฯ นี้จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการสร้างโอกาสให้กลับคืนมา

Advertisment

สำหรับตัวเลขนักเรียนในโครงการฯ จำนวน 3,994 คน จากทั้ง 77 จังหวัด มีนักเรียนสำเร็จการศึกษาแล้วทั้งหมด 1,825 คน คาดการณ์ว่าในปี 2569 จะมีนักเรียนและนักศึกษาสำเร็จการศึกษาประมาณ 2,200 คน โดยตลอดระยะเวลา 22 ปี โครงการฯ ได้ใช้งบประมาณไปแล้วมากกว่า 412 ล้านบาท  และเป็นการปรับอัตราทุนที่ต่อเนื่องตามสถานการณ์จริงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งในการทำงานด้านนี้น้อยที่จะมีการปรับอัตราทุนให้กับผู้รับทุนเพราะถือเป็นรายจ่ายขององค์กร สะท้อนว่าวิสัยทัศน์ของผู้บริหารนั้นเข้มแข็งมาก 

จากงบประมาณดังกล่าว ได้แบ่งเป็นค่าเล่าเรียนเพียง 60% เท่านั้น ส่วนอีก 40% เป็นความทุ่มเทที่ผู้บริหารได้ตัดสินใจแล้วว่า นอกจากจะให้การศึกษาแล้ว เราจะทำเพิ่มเติมนอกเหนือจากนั้น เพื่อทำให้วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เรื่องการพัฒนาคน บรรลุวัตถุประสงค์ให้ได้  ทั้งการจัดกิจกรรมและลงพื้นที่เข้าไปติดตามผล

ขณะที่โครงการทุนการศึกษาฯ อยู่ภายใต้เงื่อนไขและความคิดเสมอว่า จะทำอย่างไรให้นักเรียนที่ได้ทุนไปแล้ว มีกระบวนการที่จะให้นักเรียนสามารถพัฒนาตัวเองได้ ซึ่งเด็กทุกคนต้องทำความเข้าใจว่า Comfort Zone หรือ Fair Zone คืออะไร และจะก้าวข้ามความกลัวแปรเปลี่ยนเป็นความรู้ได้อย่างไร รวมถึงจะก้าวเข้าสู่ Growth Zone หรือการนำความรู้ที่ได้สั่งสมมานั้น สร้างโอกาสและการเติบโตไปได้อย่างไร ซึ่งโครงการฯ ได้มีการดำเนินกระบวนการต่างๆ ในการพัฒนาการศึกษาของนักเรียน ผ่านการติดต่อสื่อสารและจากการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ทุ่มเททำมาอย่างต่อเนื่องและมีพัฒนาการเติบโตอย่างไม่มีสิ้นสุด  

ก่อนหน้าที่โครงการทุนกรุงการไฟฟ้าจะเกิดขึ้นในปี 2544 ผู้บริหารใช้ประสบการณ์ส่วนตัวในการให้ความช่วยเหลือทางการศึกษามาตั้งแต่ปี 2525 ให้ทุนการศึกษาและติดตามผลด้วยตัวเองกับนักเรียนทุนในชุมชนแออัดคลองเตย ซึ่งให้ตั้งแต่เอนุบาลจนเรียนจบ 25  ทำให้มีประสบการณ์ก่อนแล้วว่าการสร้างคนหนึ่งคนต้องทำอะไรบ้าง ไม่ใช่แค่ให้เงินแต่ต้องมีกิจกรรมอื่นเสริมเข้ามา โครงการนี้จึงดำเนินการด้วยผู้มีประสบการณ์และมีความตั้งใจอย่างยิ่ง 

Advertisment

ในเรื่องปัจจัยนำเข้า ท่านมีเครือข่ายที่ดี มีการประสานงานกับคุณครู กับโรงเรียน ได้นักเรียนแล้วยังไม่พอ ท่านยังลงพื้นที่ด้วยตัวเอง ไปพูดคุยกับนักเรียน กับผู้ปกครองถึงเงื่อนไขในการรับทุนต่อไปจนจบ นี่คือความใส่ใจที่จะทำยังไงให้นักเรียนอยู่ในโครงการให้ได้ 

สำหรับกระบวนการในทุกกิจกรรมของโครงการฯ พบว่ามีการวางแผนและ Action Plan ทั้งยังมีการเก็บข้อมูลนำไปประมวลผล เพื่อให้ปีต่อไปมีการแก้ปัญหาจากปีที่ผ่านมา ซึ่งทำอย่างนี้มาตลอดทุกปี และสุดท้ายด้านผลผลิตก็จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ เด็กมีทัศนคติที่ดี สิ่งเหล่านี้อาศัยส่วนประกอบที่เกิดจากกระบวนการทำงานและระยะเวลาทั้งหมด เพื่อให้ผู้รับทุนเกิดความตระหนัก  รับรู้ได้และรู้สึกถึงความห่วงใยของผู้บริหารด้วยตัวของเขาเอง และรับรู้ได้ว่าเขาเข้ามาที่นี้ไม่ใช่ได้รับแค่เงินทุนในการเรียนต่อ แต่ยังได้รับความปรารถนาดีและความเป็นครอบครัวกลับไป” ผศ.ดร.สราวุธ เผย 

ขณะเดียวกันผลวิจัยนี้ ยังก่อเกิดประโยชน์แก่ภาคการศึกษา ภาคสังคม และภาคธุรกิจที่สามารถนำผลวิจัยไปขยายผลให้เกิดองค์ความรู้เพื่อช่วยเหลือแก่สังคมและประเทศชาติได้ ทั้งยังพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าการดำเนินงานด้านการศึกษาให้ได้ผลผลัพธ์ จะต้องใช้ระยะเวลาและต้องอาศัยหลายปัจจัยที่จะส่งผลให้เกิดคุณภาพ จนเกิดผลที่สามารถวัดได้   

กว่า 22 ปีที่มีภาคเอกชนที่จริงจังช่วยเหลือสังคมในการผลิตคนให้อยู่ในระบบการศึกษามาแล้วกว่า 2 พันคน ภายใต้โครงการ ทุนการศึกษากรุงไทยการไฟฟ้ามีความตั้งใจและทุ่มเทจนเกิดผลสำเร็จ หากนี้คือ Role Model ที่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งให้กับสังคม  เพื่อที่จะสามารถนำไปต่อยอดได้ในอนาคต”