ประเทศไทยบนเวทีโลกในปี 2567: ปัญหาเชิงโครงสร้างและโอกาสในการลงทุน

ประเทศไทยบนเวทีโลกในปี 2567: ปัญหาเชิงโครงสร้างและโอกาสในการลงทุน

ณ คิงส์ทาวน์ แซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ (25 มีนาคม 2567) – Fullerton Markets หนึ่งในบริษัทด้านหลักทรัพย์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วในเอเชียแปซิฟิก ได้มอบบทวิเคราะห์เรื่องความท้าทายของเศรษฐกิจไทยในเวทีโลก รวมถึงโอกาสในการลงทุนที่รออยู่

หากเรามองการประเมินแนวโน้มของเศรษฐกิจไทยในปี 2567 แม้ผิวเผินจะดูเหมือนมีการฟื้นตัว แต่แท้จริงแล้วยังคงมีผลกระทบจากปัญหาเชิงโครงสร้างที่ซุกซ่อนอยู่ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ปัญหาเหล่านี้เป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และจำเป็นต้องมีมาตรการกลยุทธ์เพื่อการฟื้นตัวในระยะยาว

ปัญหานี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับหลายประเทศทั่วโลก ที่ต้องเผชิญกับแรงผลักดันทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลพวงจากการฟื้นตัวของภาคการผลิตที่ซบเซา ถึงแม้จะมีความพยายามตั้งใจในการกระตุ้นการเติบโต แต่ปัญหาโครงสร้างยังคงเป็นอุปสรรค ซึ่งบดบังแนวโน้มด้านเศรษฐกิจของประเทศ

และหนึ่งในเรื่องที่น่ากังวลนั้น เป็นผลมาจากแรงผลักดันที่ลดลงของภาครัฐ ซึ่งรุนแรงขึ้นเนื่องจากความล่าช้าในการออกพระราชบัญญัติงบประมาณปี 2567 โดยความล่าช้านี้ไม่เพียงแต่จะทำลายโครงการต่าง ๆ ที่รัฐบาลริเริ่มเท่านั้น แต่ยังลดทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุน เป็นเหมือนโดมิโน่กระทบทั้งระบบเศรษฐกิจ และผลที่ตามมาของการชะลอตัวลงของการใช้จ่ายจากภาครัฐนั้น นำมาซึ่งความตึงเครียดในภาคการผลิตที่เดิมก็เปราะบางอยู่แล้ว ผนวกกับความท้าทายที่ภาคอุตสาหกรรมต้องเผชิญ ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นมีความซับซ้อนมากขึ้น

อีกประเด็นสำคัญที่น่ากังวล คือการที่ประเทศไทยเริ่มสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกในเวทีโลก แม้ว่าจะพยายามผลักดันด้านการส่งออกมาโดยตลอดก็ตาม ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับแนวโน้มของความต้องการของตลาดโลก รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทานในตลาดได้

นอกเหนือจากการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกแล้ว ปัญหาการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการผลิตที่ล่าช้า ไม่เพียงแต่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังทำให้ช่องว่างทางสังคมกว้างยิ่งขึ้น เพราะเมื่อภาคอุตสาหกรรมซบเซา การลดการจ้างงานจึงตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยปัญหาคนว่างงานนั้นกระทบกับโครงสร้าง และเพิ่มความเปราะบางทางสังคม ซึ่งไม่สามารถใช้วิธีการเดียวมารับมือได้ แต่จำเป็นต้องใช้แนวทางที่หลากหลาย ซึ่งครอบคลุมทั้งมาตรการบรรเทาทุกข์ระยะสั้น และการปฏิรูปโครงสร้างในระยะยาว

เราเชื่อว่าผู้กำหนดนโยบายควรที่จะจัดลำดับความสำคัญกับการส่งเสริมความยืดหยุ่น และฟื้นฟูความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิต ซึ่งรวมถึงการลงทุนในเทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อพัฒนา รวมถึงเสริมสร้างผลผลิตที่หลากหลาย ซึ่งจะสามารถตอบสนองต่ออุปสงค์ที่เปลี่ยนไปของตลาดโลกได้

เมื่อเรามองถึงเรื่องนโยบายการเงิน แม้ว่าธนาคารกลางทั่วโลกอาจเลือกที่จะลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อตอบสนองต่อแนวโน้ม และข้อกังวลทางเศรษฐกิจในภาพรวม แต่การตัดสินใจดังกล่าวขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และวัตถุประสงค์ของนโยบายที่เจาะจงในแต่ละประเทศ และในกรณีของประเทศไทย ความท้าทาย และอุปสรรคที่เศรษฐกิจเผชิญหน้าอยู่อาจแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการนำวิธีการอันเหมาะสมเพื่อการเข้ามาจัดการปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้

หากธนาคารกลางของประเทศไทยดำเนินนโยบายการลดอัตราดอกเบี้ย อาจส่งผลดีทั้งภาคธุรกิจภายในประเทศและการส่งออก เพราะเมื่อดอกเบี้ยลดลง ในทางหนึ่งก็เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการกู้เงินมาทำธุรกิจมากขึ้น ชักนำให้เกิดการลงทุนและเพิ่มการบริโภค ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ นอกจากนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยยังช่วยลดแรงกดดันที่ผู้ส่งออกมีต่อการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ซึ่งนี่จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของไทยต่อการแข่งขันในตลาดโลก

โอกาสในการลงทุน

แม้ว่า Fed ได้บอกเป็นนัย ๆ ว่าอาจลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนมิถุนายน อย่างไรก็ตาม หากเราพิจารณาจากเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่ยังคงแข็งแกร่ง และเหตุการณ์สำคัญอย่างการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯที่กำลังจะมาถึง ทาง Fullerton Markets มองว่าโอกาสที่ Fed จะปรับลดดอกเบี้ยลงจริง ๆ นั้น อาจจะน้อยกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ

และเมื่อพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ แล้ว ส่งผลให้ภาพรวมของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐยังคงมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าต่อไป เมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ รวมไปถึงเงินบาท ซึ่งนี่นับว่าเป็นโอกาสสำหรับเหล่านักลงทุนที่สามารถอาศัยความแตกต่างของค่าเงิน เพื่อกระจายพอร์ตการลงทุนของตนและลงทุนในสินทรัพย์ที่เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ

ในหมู่สินทรัพย์การลงทุนที่มีสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นฐานนั้น สินทรัพย์ประเภทดัชนีเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากเป็นการกระจายเงินลงในที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะการลงทุนในหุ้น พันธบัตร หรือสินทรัพย์อื่น ๆ ซึ่งจะช่วยกระจายความเสี่ยงของนักลงทุนได้เป็นอย่างดี ช่วยลดผลกระทบจากหุ้นแต่ละตัว หรือความผันผวนเฉพาะภาคส่วนได้ ตัวอย่างเช่น ดัชนี S&P 500 ซึ่งประกอบไปด้วยหุ้นขนาดใหญ่จากหลากหลายอุตสาหกรรมกว่า 500 บริษัทในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะให้ผลตอบแทนที่แข่งขันได้ในระยะยาว

นอกเหนือจากดัชนีแล้ว หุ้นสหรัฐฯ ยังเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนชาวไทยในช่วงที่สกุลเงินดอลลาร์แข็งค่า เช่น หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี การดูแลสุขภาพ สินค้าอุปโภคบริโภค และการเงิน เนื่องจากบริษัทในกลุ่มนี้มักมีสาขาที่ดำเนินงานอยู่ทั่วโลก ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากภาวะเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวย และความแข็งแกร่งของเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ

และที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลยก็คือ เหล่ายักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีเช่น Apple, Microsoft และ Amazon  ที่ยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนนวัตกรรม AI และพลิกโฉมรูปแบบอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งได้มอบศักยภาพในการเติบโตให้กับนักลงทุน นอกจากนี้ บริษัทกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยอย่าง Nike และ Starbucks ก็ยังเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน เนื่องจากผลของการให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัว และมีศักยภาพในการแข่งขัน แม้ต้องเผชิญกับอุปสรรค และความท้าทายของเศรษฐกิจโลกก็ตาม

ท่านสามารถติดตามข่าวสาร และบทวิเคราะห์เศรษฐกิจอื่น ๆ โดยทีมนักวิเคราะห์ชั้นนำของ Fullerton Markets ได้ที่ https://www.fullertonmarkets.com

เกี่ยวกับ Fullerton Markets

Fullerton Markets เป็นโบรกเกอร์ที่ได้รับรางวัลการันตีมากมายบนเวทีระดับโลก ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการลงทุน โดย Fullerton Markets ช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการจัดเตรียมเครื่องมือ และองค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งได้รับการวิเคราะห์จากนักวิเคราะห์ชั้นนำของโลก ส่งมอบให้กับลูกค้าของเราแบบครบวงจร