ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท กระทบต่างจังหวัดมากกว่าเมืองหลัก-เมืองรอง

แรงงาน
Photo by Josue Isai Ramos Figueroa on Unsplash

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดข้อมูล ระบุธุรกิจในพื้นที่ต่างจังหวัด ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท มากกว่าธุรกิจพื้นที่จังหวัดเมืองหลัก-เมืองรอง

วันที่ 23 พฤษภาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยข้อมูลการสำรวจ “หากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศเป็น 400 บาท กระทบธุรกิจอย่างไร ?” โดยระบุว่า กิจการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด น่าจะได้รับผลกระทบมากกว่าเมืองหลักและเมืองรอง

จากข้อมูลพบว่า 3 พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด-น้อยที่สุด จากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดยเทียบการเปลี่ยนแปลงจากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับเมื่อ 1 ม.ค. 2567 เป็นเปอร์เซ็นต์ ดังนี้

3 พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด

  1. ปัตตานี ยะลา นราธิวาส (เดิม 330 บาท) +21%
  2. แพร่ น่าน พะเยา ตรัง (เดิม 338 บาท) +18%
  3. 16 จังหวัดทั่วประเทศ (เดิม 340 บาท) +18%

3 พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

  1. ภูเก็ต (เดิม 370 บาท) +8%
  2. กรุงเทพฯและปริมณฑล (เดิม 363 บาท) +10%
  3. ชลบุรีและระยอง (เดิม 361 บาท) +11%

ขณะที่มิติการใช้แรงงานเข้มข้น พบว่า ธุรกิจที่ใช้แรงงานมากและจ่ายค่าแรงอิงตามค่าจ้างขั้นต่ำในสัดส่วนสูง อาจได้รับผลกระทบมากกว่าธุรกิจอื่น ๆ โดยจากข้อมูลพบว่า สัดส่วนลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างน้อยกว่า 400 บาท มีดังนี้

  • การเกษตร 89% (9.9 แสนคน)
  • บริการอื่น ๆ (ความงาม ร้านซักรีด ฯลฯ) 66% (2.7 แสนคน)
  • โรงแรม/ร้านอาหาร 49% (5.6 แสนคน)
  • ก่อสร้าง 48% (7.4 แสนคน)

Advertisment