หลังม่าน “มูเคช อัมบานี” นักธุรกิจที่รวยที่สุดในวงการกีฬา

ความนิยมในกีฬาตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทำให้วงการนี้กลายเป็นธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุน เหล่ามหาเศรษฐีที่เข้ามาคลุกคลีมีทั้งผู้ที่รักแบบจริงจัง แต่ก็มีอีกกลุ่มที่เข้ามาเพื่อลงทุนหาผลประโยชน์ด้วย ในบรรดานักธุรกิจที่เข้ามาลงทุนในทีมกีฬาทั้งหลาย มีอยู่หนึ่งรายที่น่าสนใจในแง่ระดับทรัพย์สินที่ครอบครองเมื่อเทียบกับทีมกีฬาที่เขาเข้ามาลงทุนด้วย

หากพูดถึงนักธุรกิจที่เข้ามาลงทุนด้านกีฬาและเป็นคนที่แฟนกีฬารู้จัก ก็อาจต้องเป็นคนอย่างโรมัน อับราโมวิช หรือตระกูลศรีวัฒนประภา แต่ในความเป็นจริงแล้วหากจัดอันดับนักธุรกิจในวงการกีฬาที่รวยที่สุด เป็นอีกครั้งที่อันดับ 1 ในปี 2019 ต้องยกให้กับ มูเคช อัมบานี มหาเศรษฐีชาวอินเดีย ผู้ติดอันดับบุคคลที่รวยที่สุดลำดับที่ 13 ของโลก

จากการจัดอันดับครั้งล่าสุดในปี 2019 นิตยสารฟอร์บสจัดให้อัมบานีเป็นที่ 1 ในรายชื่อเจ้าของทีมที่ร่ำรวยที่สุดในวงการกีฬาจากทรัพย์สินที่เขาถือครองรวมแล้วประเมินว่ามีมูลค่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐของโลก (มีชื่อ อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา และครอบครัวที่ถือครองทีมเลสเตอร์ซิตี้ติดอันดับ 17 ด้วย) ส่วนทีมที่มูเคชถือครองเป็นทีมคริกเก็ตในพรีเมียร์ลีกอินเดียที่ชื่อว่า “มุมไบ อินเดียนส์”

หนึ่งในทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในลีก แต่ดูเหมือนว่าผลงานของทีมเมื่อปีก่อนจะไม่ได้พุ่งทะยานเหมือนสถานะทางการเงินของอัมบานี และบริษัทของเขาก่อนจะไปทำความรู้จักกับทีมกีฬาที่มีเจ้าของรวยที่สุดในแวดวงนี้ คงต้องพูดถึงหนุ่มใหญ่นามว่า มูเคช อัมบานี มหาเศรษฐีอันดับ 13 ของโลกกันก่อน

มูเคช อัมบานี เป็นผู้ถือหุ้นส่วนมากของบริษัท รีไลแอนซ์ อินดัสทรีส์ (Reliance Industries) บริษัทด้านปิโตรเคมี, ก๊าซ และน้ำมัน มีบริษัทในเครือที่ทำธุรกิจอีกหลายด้าน ซึ่งทำรายได้ต่อปีรวมแล้วแตะหลัก 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ อ้างอิงจากข้อมูลของนิตยสารฟอร์บส

อัมบานี ในวัย 61 ปีบริหารงานบริษัทต่อจากพ่อที่เป็นผู้ก่อตั้งเมื่อปี 1966 ซึ่งเริ่มจากประกอบกิจการสิ่งทอก่อนขยายธุรกิจมาสู่พลังงาน ค้าปลีก และการสื่อสารโทรคมนาคม ไม่นานมานี้บริษัทของอัมบานีประสบความสำเร็จจากโครงการด้านการสื่อสารที่เสนอบริการโทร.ฟรีในประเทศ ให้บริการดาต้าข้อมูลโทรศัพท์มือถือราคาถูก หุ้นของบริษัทพุ่งทะยานขึ้น 35 เปอร์เซ็นต์ และนั่นทำให้มูลค่าทรัพย์สินของอัมบานีเพิ่มมากขึ้นไปด้วย โดยฟอร์บสรายงานว่ามูลค่าทรัพย์สินรวมของอัมบานีเพิ่มจาก 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐมาเป็น 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาครอบครัวตระกูลของมหาเศรษฐีวัย 61 ปีรายนี้เองที่ตกเป็นข่าวดังจ้างบียอนเซ่ นักร้องซูเปอร์สตาร์แถวหน้าของวงการดนตรีโลกมาให้ความบันเทิงในงานแต่งงานอิชา อัมบานี ลูกสาวคนเดียวในบรรดา

บุตรทั้ง 3 รายของเขา มีรายงานข่าวว่างานแต่งงานครั้งนี้ใช้งบประมาณมากถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในปี 2019 ก็เพิ่งจัดวิวาห์ให้นายอาเกช บุตรชายไปอย่างอลังการด้วย

สำหรับทีมมุมไบ อินเดียนส์ เป็นทีมคริกเก็ตที่ก่อตั้งเมื่อปี 2008 พร้อมกับตัวลีก และเป็นอีกหนึ่งทีมที่ประสบความสำเร็จมากเป็นอันดับต้น ๆ (ในลีกมี 8 ทีม) ตั้งแต่เริ่มเปิดฉากทัวร์นาเมนต์ ลีกแข่งไปแล้ว 11 ฤดูกาล มุมไบคว้าแชมป์ไปได้ 3 ครั้ง เป็นทีมที่ได้แชมป์มากที่สุดเท่ากับทีมเชนไน ซูเปอร์ คิงส์

อย่างไรก็ตาม ผลงานในปี 2018 ที่ผ่านมาซึ่งเป็นปีที่บริษัทและตัวมูเคชก้าวทะยานในเชิงการเงินขึ้นมา ทีมมุมไบลงแข่งในฐานะแชมป์เก่าแต่แพ้ไปเกินครึ่งหนึ่งของโปรแกรมลงแข่งทั้งหมดของปี จบฤดูกาลในอันดับ 5 เป็นอีกหนึ่งฤดูกาลที่น่าผิดหวังสำหรับทีมของมหาเศรษฐีอันดับต้น ๆ ของอินเดียคนภายนอกอาจสงสัยว่ามหาเศรษฐีระดับนี้มาเป็นเจ้าของทีมกีฬาประเภทที่อยู่นอกเหนือจากกลุ่มกระแสหลัก (ตามมุมมองแบบตะวันตก) แต่ความจริงแล้วอินเดียประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลกมีกีฬาคริกเก็ตเป็นกิจกรรมที่คนคลั่งไคล้กันมาก

และได้รับความนิยมมากที่สุด เทียบได้กับที่ชาวบริติชส่วนใหญ่อยู่คู่กับวัฒนธรรมของฟุตบอลมาช้านาน ความนิยมในอินเดียสะท้อนผ่านสารคดีเกี่ยวกับความนิยมของ

คริกเก็ตลีกที่ฉายในระบบวิดีโอสตรีมมิ่งชื่อดังของโลก คริกเก็ต อินเดียน พรีเมียร์ลีก ก็เป็นลีกที่มียอดผู้ชมเฉลี่ยติดอันดับต้น ๆ ของการจัดอันดับยอดผู้ชมลีกกีฬาทั้งหมด

มูเคชไม่ได้เป็นเพียงมหาเศรษฐีที่โลดแล่นในวงการคริกเก็ต อินเดียอย่างเดียว แต่เขายังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งฟุตบอลอินเดียนซูเปอร์ลีก หนึ่งในลีกฟุตบอลระดับสูงของอินเดียที่ยังคงพัฒนาระบบและโครงสร้างอย่างต่อเนื่อง

ช่วงปีที่ผ่านมา บริษัทรีไลแอนซ์ รีเทล ของมูเคช ถูกจับตาในแง่อัตราการเติบโต เป็นบริษัทจากอินเดียเพียงแห่งเดียวที่ติดลิสต์การจัดอันดับโดยเดล็อตต์ องค์กรวิจัยและปรึกษาด้านการเงินที่จัดลำดับให้เป็นบริษัทค้าปลีกที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกในอันดับ 6 นำหน้าอเมซอนและไนกี้

แน่นอนว่าการเติบโตครั้งนี้น่าจะส่งผลต่อเกมการกีฬาตามไปด้วย อย่างน้อยก็เห็นได้จากชื่อในหน้าสื่อระดับโลกอย่างฟอร์บสอีกครั้ง ปรากฏการณ์เหล่านี้แสดงให้เห็นว่านักลงทุนเอเชียในการกีฬามาแรงต่อเนื่องไม่แพ้ฝั่งตะวันออกกลางหรือยุโรปทีเดียว