คำถามปวดใจ-ยุโรปอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่ง ก๊าซธรรมชาติ จากรัสเซียไหวหรือ

ก๊าซธรรมชาติ
FILE - Pipes of the gas storage plant Reckrod are pictured near Eiterfeld, central Germany. (AP Photo/Michael Probst, File)

ชาติยุโรปรู้ซึ้งแล้วว่า ช่วงเวลา 10 วันที่รัสเซียแจ้งปิดซ่อมบำรุงท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีม 1 นาน 10 วัน เป็นช่วงระทึกและตึงเครียดว่ารัสเซียจะยอมกลับมาส่งก๊าซธรรมชาติให้อีกหรือไม่

วันที่ 22 กรกฎาคม 2565 สำนักข่าว เอพี รายงานวิเคราะห์สถานการณ์พลังงานของยุโรปที่ต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย และเห็นผลชัดช่วงปิดท่อก๊าซนอร์ดสตรีม 1 ตั้งแต่วันที่ 11 ก.ค. ถึงวันที่ 21 ก.ค. แม้รัสเซียเริ่มส่งก๊าซให้ตามกำหนดแล้ว แต่ปริมาณที่ส่งมา 40% ยังห่างไกลจากศักยภาพเต็ม จนหวั่นวิตกกันว่า ยุโรปจะเอาตัวรอดอย่างไรในช่วงฤดูหนาว

สหภาพยุโรปใช้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจ หรือแซงก์ชั่นต่อรัสเซีย และอาจถูกรัสเซียตอบโต้ด้วยพลังงาน ก๊าซธรรมชาติ ที่ถือไพ่เหนือกว่า

นายโรเบิร์ต ฮาเบ็ก รองนายกรัฐมนตรีเยอรมนี กล่าวว่า ปริมาณก๊าซที่ลดลงนั้นเป็นคำพูดทางการเมืองที่ชัดเจนและยืนยันได้ว่า ยุโรปไม่อาจพึ่งพาการขนส่งเช่นนี้ได้

ก๊าซธรรมชาติ
Nord Stream 1 Baltic Sea pipeline and the transfer station of the OPAL gas pipeline in Lubmin, Germany,, July 21, 2022. (AP Photo/Markus Schreiber)

ท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีม 1 คืออะไร

ท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีม 1 เป็นท่อส่งก๊าซธรรมชาติหลักของยุโรป ลำเลียงก๊าซจากรัสเซียไปยังยุโรป ผ่านใต้ทะเลบอลติก เข้าสู่ประเทศเยอรมนี และนับเป็นพลังงานหลักของเยอรมนี

นายเคลาส์ มุลเลอร์ หัวหน้าหน่วยงานกำกับดูแลเครือข่ายของเยอรมนี กล่าวว่า ก๊าซพรอม ผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติในรัสเซียที่ใหญ่ที่สุดในโลก แจ้งลดปริมาณการส่งก๊าซนอร์ดสตรีม 1

จากเดิมที่เคยส่งประมาณ 800 จิกะวัตต์ชั่วโมงเหลือประมาณ 530 จิกะวัตต์ชั่วโมง คิดเป็น 40% ของปริมาณที่เคยได้รับ

แม้ท่อส่งนอร์ดสตรีม 1 กลับมาเปิดใช้แล้ว ยุโรปจำเป็นต้องสำรองก๊าซสำหรับไว้ใช้ในฤดูหนาว คิดเป็นถัง LNG จำนวน 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เทียบแล้วคิดเป็นถังแอลพีจี 120 ถัง

สำหรับท่อส่งก๊าซอื่นที่ยุโรปใช้อยู่ มีอีก 3 เส้นทาง คือผ่านโปแลนด์ และผ่านเบลารุส ซึ่งปิดไปแล้ว ส่วนที่ผ่านยูเครนและสโลวะเกีย ยังคงส่งได้แต่ในปริมาณที่ลดลง โดยผ่านไปยังตุรกีแล้วเข้าบัลแกเรีย

ส่วนก๊าซที่เหลือมาจากนอร์เวย์ แอฟริกาเหนือ และอาร์เซอร์ไบจาน

ก๊าซธรรมชาติ
The sun rises behind the landfall facility of the Nord Stream 1  in Lubmin, Germany, Thursday, July 21, 2022. (AP Photo/Markus Schreiber)

ทำไมก๊าซรัสเซียจึงสำคัญมาก

รัสเซียจัดหาก๊าซธรรมชาติของยุโรปประมาณ 40% กระทั่งเปิดฉากบุกยูเครน จึงลดลงเหลือประมาณ 15% ส่งผลให้ราคาพุ่งทะลุฟ้าและสะเทือนอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยพลังงานอย่างหนัก ไม่ว่าการหลอมเหล็กเพื่อผลิตรถยนต์ ทำขวดแก้ว พาสเจอไรซ์นมและชีส

บริษัทต่าง เตือนว่าพวกเขามักจะไม่สามารถเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานอื่นในชั่วข้ามคืน เช่น น้ำมันเชื้อเพลิงหรือใช้ไฟฟ้าเพื่อผลิตความร้อน บางกรณี อุปกรณ์ที่ยึดโลหะหลอมเหลวหรือแก้วจะเสียหายหากปิดความร้อน

ปัญหานี้ส่งผลต่อราคาพลังงานที่สูง อีกทั้งด้วยอัตราเงินเฟ้อที่สูงเป็นประวัติการณ์ ทำให้เกิดภาวะถดถอยในยุโรป โดยผู้บริโภคมีการใช้จ่ายน้อยลงเนื่องจากต้นทุนค่าอาหาร เชื้อเพลิง และสาธารณูปโภคสูงขึ้น

รัสเซียตัดส่งก๊าซให้เนเธอร์แลนด์
REUTERS/Maxim Shemetov/File Photo

เกมของปูตินคืออะไร

แม้รัสเซียลดปริมาณน้ำมันและก๊าซในการส่งออกลง แต่กลับมีรายได้เพิ่มขึ้นช่วง 5 เดือนแรกของปีเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าของรายได้ปกติ จากการส่งออกก๊าซไปยังยุโรปตลอดช่วงฤดูหนาวโดยคิดเป็น 95,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 3.5 ล้านล้านบาท

ดังนั้น ปูตินจึงมีเงินสดในมือและอาจคำนวณได้ถึงบิลเก็บเงินที่แสนเจ็บใจ และรู้ว่า ความถดถอยทางพลังงาน อาจสลายการสนับสนุนของชาวยุโรปที่มีต่อยูเครน และหันไปสนับสนุนการเจรจาข้อตกลง ตามที่ปูตินต้องการ

นายฟาตีห์ บิโรล ผู้อำนวยการบริหารไออีเอ กล่าวว่าจากสิ่งที่เราได้เห็นในปีที่ผ่านมา นับว่าไม่ฉลาดเลยที่จะไม่รวมความเป็นไปได้ที่รัสเซียจะตัดสินใจละทิ้งรายได้จากการส่งออกก๊าซไปยังยุโรปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจทางการเมือง

ก๊าซธรรมชาติ
Russian President Vladimir Putin gestures as he delivers a speech during a youth forum in Moscow, Russia, Wednesday, July 20, 2022. (Alexey Maishev, Sputnik, Kremlin Pool Photo via AP)

เมื่อวันที่ 20 ก.ค. นายปูตินกล่าวว่า การส่งก๊าซผ่านท่อนอร์ดสตรีม จะลดลงอีกจาก 60 ล้านเป็น 30 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน หรือประมาณ 1 ใน 5 ของกำลังการผลิต เพราะท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีม 1 มีเครื่องหนึ่งไม่ทำงาน ทำให้หากอะไหล่กังหันที่ส่งซ่อมไปแคนาดายังไม่ได้กลับมา ซึ่งแค่นาดาแจ้งว่าส่งชิ้นส่วนกลับแล้ว แต่เยอรมนีปฏิเสธที่จะบอกว่าอะไหล่ชิ้นนี้อยู่ที่ใด

นายปูตินกล่าวเตือนชาติยุโรปด้วยว่า หากมีแผนจะไล่บี้ราคาน้ำมันรัสเซียตามมาตรการแซงก์ชั่น เรื่องนี้จะสะเทือนต่อเสถียรภาพของตลาดน้ำมันโลก และราคาจะยิ่งพุ่งขึ้นไปอีก

“เราได้ยินเรื่องแนวคิดเพี้ยน ๆ มาว่าจะมีการจำกัดควบคุมวอลุ่มน้ำมันรัสเซีย และตั้งเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย ผลจะออกมาเหมือนเดิม คือราคาจะเพิ่มแบบพุ่งทะลุฟ้า” นายปูตินกล่าว

รัสเซียจะหยุดส่งก๊าซให้ยุโรปหรือไม่

นับจากถูกแซงก์ชั่น รัสเซียก็ตัดการส่งก๊าซไปยังประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปแล้ว 6 ประเทศ และลดปริมาณการส่งอีก 6 ประเทศ ขณะที่ชาติสมาชิกสหภาพยุโรป 27 ประเทศต่างต้องลดการสำรองก๊าซธรรมชาติก่อนฤดูหนาวที่มีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมาก

เป้าหมายปริมาณการสำรองก๊าซของยุโรปอยู่ที่เพียง 65% เมื่อเทียบกับเป้าหมายสำรองให้ได้ 80% ภายในวันที่ 1 ..นี้

The Gazprom gas pumping station  REUTERS/Viktor Korotayev//File Photo

ชาวยุโรปจะทำอะไรได้บ้าง ?

สหภาพยุโรปหันไปใช้ก๊าซธรรมชาติเหลวหรือ LNG ที่มีราคาแพงกว่า ซึ่งมาโดยเรือจากสถานที่ต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกาและกาตาร์ เฉพาะเยอรมนีกำลังดำเนินการก่อสร้างท่าเรือนำเข้า LNG อย่างรวดเร็วบนชายฝั่งทะเลเหนือ แต่ยังต้องใช้เวลาหลายปีในการดำเนินการ

ถึงอย่างไร LNG เพียงอย่างเดียวไม่สามารถสร้างช่องว่างได้ โรงงานส่งออก LNG ของโลกกำลังดำเนินการอย่างเต็มประสิทธิภาพท่ามกลางตลาดพลังงานที่ตึงตัว และไม่มีก๊าซให้ใช้แล้ว การระเบิดที่สถานีปลายทางของสหรัฐในเมืองฟรีพอร์ต รัฐเทกซัส ที่ส่งก๊าซส่วนใหญ่ไปยังยุโรป ทำให้อุปทานของยุโรป 2.5% ออฟไลน์ในชั่วข้ามคืน

การอนุรักษ์และแหล่งพลังงานอื่น ๆ เป็นกุญแจสำคัญช่น เยอรมนีเปิดโรงงานถ่านหินนานขึ้น โดยสร้างระบบประมูลก๊าซที่มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ และรีเซตอุณหภูมิในอาคารสาธารณะ

Nord Stream 1 Baltic Sea pipeline (Jens Buettner/dpa via AP)

วิกฤตดังกล่าวทำให้สหภาพยุโรปเสนอให้รัฐสมาชิกลดการใช้ก๊าซโดยสมัครใจ 15% ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาการขาดแคลนก๊าซอย่างรุนแรงหรือมีความต้องการสูงเป็นพิเศษ โดยจะหารือเกี่ยวกับมาตรการในการประชุมฉุกเฉินของรัฐมนตรีพลังงานในวันอังคารหน้า

ผู้คนหยุดฤดูหนาวนี้ได้หรือไม่ ?

บิโรลแนะนำให้ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปรณรงค์ให้ประชาชนอนุรักษ์บ้านและวางแผนที่จะแบ่งปันก๊าซในกรณีฉุกเฉิน โดยผู้นำยุโรปจำเป็นต้องเตรียมพร้อมสำหรับความเป็นไปได้นี้ในตอนนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการตอบโต้

ฤดูหนาวปีนี้อาจกลายเป็นบททดสอบประวัติศาสตร์ของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของยุโรปที่ไม่อาจลงเอยล้มเหลว ในที่นี้ไม่ใช่เฉพาะเรื่องพลังงานเท่านั้น

………