อัพเดต เงินสมทบ ม.33-39-40 ยื่นลดหย่อนภาษีปี’66 ได้เท่าไหร่

ประกันสังคม

ปี 2565 ที่ผ่านมา รัฐบาลมีการลดอัตราการส่งเงินสมทบทั้ง 3 มาตรา ทำให้ยอดที่ใช้ลดหย่อนภาษีประจำปีจะลดลงจากเดิม

วันที่ 17 มีนาคม 2566 สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เผยแพร่ว่า ผู้ประกันตนทุกมาตรา (มาตรา 33, 39, และ 40) สามารถลดหย่อนภาษีจากการส่งเงินสมทบได้ โดยปี 2565 ที่ผ่านมา รัฐบาลมีการลดอัตราการส่งเงินสมทบทั้ง 3 มาตรา ทำให้ยอดที่ใช้ลดหย่อนภาษีประจำปีได้จะลดลงจากเดิม รายละเอียดลดหย่อนภาษี ได้เงินคืนเท่าไหร่ พร้อมกับใช้เอกสารอะไร และยื่นเมื่อไหร่ มีดังนี้

รีบขอหนังสือรับรองส่งเงินสมทบ

มาตรา 33 สามารถขอเอกสารได้ที่สถานประกอบการที่ตนเองทำงานอยู่ โดยนายจ้างจะออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งจะแสดงยอดประเภทเงินได้พึงประเมินที่จ่าย และจำนวนเงินสมทบประกันสังคมที่หักไว้ เพื่อใช้สำหรับยื่นเสียภาษีประจำปี

แต่สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 และ 40 ต้องใช้หนังสือรับรองการนำส่งเงินสมทบ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีประจำปี โดยให้นำบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง ติดต่อสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาทุกแห่ง (ยกเว้นสำนักงานประกันสังคมสำนักงานใหญ่ บริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

กำหนดการยื่นภาษี-ช่องทางยื่นภาษี

โดยกำหนดการยื่นภาษีเงินที่ได้ในปี 2565 ยื่นได้ 2 ช่องทาง ได้แก่

1. ยื่นภาษีเอกสาร ยื่นได้ถึง 31 มีนาคม 2566 2566

2. ยื่นภาษีออนไลน์ ยื่นได้ถึง 10 เมษายน 2566

สถานที่สำหรับการยื่นภาษี

  • ยื่นภาษีด้วยตัวเองที่กรมสรรพากร หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
  • ยื่นภาษีออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th
  • ยื่นภาษีผ่านแอปพลิเคชั่น RD Smart Tax โดยต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรก่อนจึงจะสามารถยื่นผ่านแอปพลิเคชั่นได้

ลดหย่อน/ได้เงินคืนเท่าไหร่ ?

ผู้ประกันตนมาตรา 33 สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 6,300 บาท (จากปกติสูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท)

ผู้ประกันตนมาตรา 39 สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 3,585 บาท (จากปกติสูงสุด 5,184 บาท)

ผู้ประกันตนมาตรา 40 สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 2,880 บาท (จากปกติสูงสุด 3,600 บาท)

สรุปอัตราเงินสมทบที่ส่งปี 2565

ปี 2565 ที่ผ่านมา รัฐบาลมีการลดอัตราการส่งเงินสมทบทั้ง 3 มาตรา ทำให้ยอดที่ใช้ลดหย่อนภาษีประจำปีจะลดลงจากเดิม รายละเอียดดังนี้

– มาตรา 33

  • มกราคม 2565 : ไม่มีประกาศปรับลด อัตราปกติคือ 5% หรือสูงสุด 750 บาท ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง
  • กุมภาพันธ์ 2565 : ไม่มีประกาศปรับลด อัตราปกติคือ 5% หรือสูงสุด 750 บาท ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง
  • มีนาคม 2565 : ไม่มีประกาศปรับลด อัตราปกติคือ 5% หรือสูงสุด 750 บาท ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง
  • เมษายน 2565 : ไม่มีประกาศปรับลด อัตราปกติคือ 5% หรือสูงสุด 750 บาท ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง
  • พฤษภาคม 2565 : ประกาศปรับลดลดเหลือ 1% หรือสูงสุด 150 บาท ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง
  • มิถุนายน 2565 : ประกาศปรับลดลดเหลือ 1% หรือสูงสุด 150 บาท ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง
  • กรกฎาคม 2565 : ประกาศปรับลดลดเหลือ 1% หรือสูงสุด 150 บาท ทั้งนายจ้าง และลูกจ้าง
  • สิงหาคม 2565 : ไม่มีประกาศปรับลด อัตราปกติคือ 5% หรือสูงสุด 750 บาท ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง
  • กันยายน 2565 : ไม่มีประกาศปรับลด อัตราปกติคือ 5% หรือสูงสุด 750 บาท ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง
  • ตุลาคม 2565 : ประกาศปรับลดลดเหลือ 3% หรือสูงสุด 450 บาท ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง
  • พฤศจิกายน 2565 : ประกาศปรับลดลดเหลือ 3% หรือสูงสุด 450 บาท ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง
  • ธันวาคม 2565 : ประกาศปรับลดลดเหลือ 3% หรือสูงสุด 450 บาท ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง

– มาตรา 39

  • มกราคม 2565 : ไม่มีประกาศปรับลด อัตราปกติคือ 432 บาท
  • กุมภาพันธ์ 2565 : ไม่มีประกาศปรับลด อัตราปกติคือ 432 บาท
  • มีนาคม 2565 : ไม่มีประกาศปรับลด อัตราปกติคือ 432 บาท
  • เมษายน 2565 : ไม่มีประกาศปรับลด อัตราปกติคือ 432 บาท
  • พฤษภาคม 2565 : ประกาศปรับลดเหลือเดือนละ 240 บาท
  • มิถุนายน 2565 : ประกาศปรับลดเหลือเดือนละ 240 บาท
  • กรกฎาคม 2565 : ประกาศปรับลดเหลือเดือนละ 240 บาท
  • สิงหาคม 2565 : ไม่มีประกาศปรับลด อัตราปกติคือ 432 บาท
  • กันยายน 2565 : ไม่มีประกาศปรับลด อัตราปกติคือ 432 บาท
  • ตุลาคม 2565 : ประกาศปรับลดเหลือเดือนละ 240 บาท
  • พฤศจิกายน 2565 : ประกาศปรับลดเหลือเดือนละ 240 บาท
  • ธันวาคม 2565 : ประกาศปรับลดเหลือเดือนละ 240 บาท

– มาตรา 40

  • มกราคม 2565 : ประกาศปรับลด 40% ทั้ง 3 ทางเลือก ทางเลือกที่ 1 เหลือ 42 บาท ทางเลือกที่ 2 เหลือ 60 บาท ทางเลือกที่ 3 เหลือ 180 บาท
  • กุมภาพันธ์ 2565 : ประกาศปรับลด 40% ทั้ง 3 ทางเลือก ทางเลือกที่ 1 เหลือ 42 บาท ทางเลือกที่ 2 เหลือ 60 บาท ทางเลือกที่ 3 เหลือ 180 บาท
  • มีนาคม 2565 : ประกาศปรับลด 40% ทั้ง 3 ทางเลือก ทางเลือกที่ 1 เหลือ 42 บาท ทางเลือกที่ 2 เหลือ 60 บาท ทางเลือกที่ 3 เหลือ 180 บาท
  • เมษายน 2565 : ประกาศปรับลด 40% ทั้ง 3 ทางเลือก ทางเลือกที่ 1 เหลือ 42 บาท ทางเลือกที่ 2 เหลือ 60 บาท ทางเลือกที่ 3 เหลือ 180 บาท
  • พฤษภาคม 2565 : ประกาศปรับลด 40% ทั้ง 3 ทางเลือก ทางเลือกที่ 1 เหลือ 42 บาท ทางเลือกที่ 2 เหลือ 60 บาท ทางเลือกที่ 3 เหลือ 180 บาท
  • มิถุนายน 2565 : ประกาศปรับลด 40% ทั้ง 3 ทางเลือก ทางเลือกที่ 1 เหลือ 42 บาท ทางเลือกที่ 2 เหลือ 60 บาท ทางเลือกที่ 3 เหลือ 180 บาท
  • กรกฎาคม 2565 : ประกาศปรับลด 40% ทั้ง 3 ทางเลือก ทางเลือกที่ 1 เหลือ 42 บาท ทางเลือกที่ 2 เหลือ 60 บาท ทางเลือกที่ 3 เหลือ 180 บาท
  • สิงหาคม 2565 : ไม่มีประกาศปรับลด อัตราปกติทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาท/เดือน ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาท/เดือน ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาท/เดือน
  • กันยายน 2565 : ไม่มีประกาศปรับลด อัตราปกติทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาท/เดือน ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาท/เดือน ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาท/เดือน
  • ตุลาคม 2565 : ไม่มีประกาศปรับลด อัตราปกติทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาท/เดือน ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาท/เดือน ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาท/เดือน
  • พฤศจิกายน 2565 : ไม่มีประกาศปรับลด อัตราปกติทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาท/เดือน ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาท/เดือน ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาท/เดือน
  • ธันวาคม 2565 : ไม่มีประกาศปรับลด อัตราปกติทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาท/เดือน ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาท/เดือน ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาท/เดือน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทร.สายด่วน 1506 ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือระบบสนทนาออนไลน์ เฟซบุ๊ก messenger เพจสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน – Social Security Office