เทรนด์บูมเมอแรงปี 2567 องค์กรดึงคนเก่ามาทำงาน แก้ปัญหาขาดคน

พนักงาน
Photo by: [email protected] on unsplash

กระแสบูมเมอแรง ปี 2567 องค์กรดึงคนเก่ามาทำงาน แก้ปัญหาขาดคน โดย 72% ของพนักงานเปิดกว้างที่จะกลับไปทำงานกับบริษัทเก่า

บทความบน Harvard Business Publishing ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ระบุว่า ปัจจุบันมากกว่า 1 ใน 4 ของการจ้างงานใหม่ทั้งหมด แท้จริงแล้วเป็นพนักงานบูมเมอแรง ซึ่งคือคนทำงานที่กลับมาหานายจ้างเก่าหลังจากออกไปทำงานที่อื่น

ปรากฏการณ์นี้อาจแสดงถึงภัยคุกคามต่อความพยายามในการรักษาพนักงานไว้ เนื่องจากพนักงานใหม่อาจมีแนวโน้มที่จะกลับไปหานายจ้างคนก่อนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังแสดงถึงโอกาสด้วย เนื่องจากพนักงานเก่าอาจเหมาะสมกับองค์กรในฐานะผู้ที่มีความสามารถ

พนักงาน 72% เปิดกว้างกลับไปทำงานกับที่เก่า

นอกจากนั้น จากการทำรายงานสํารวจเงินเดือนประจำปี 2567 โดยบริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดหางานระดับโลก “โรเบิร์ต วอลเตอร์ส” ระบุว่า การจ้างงานพนักงานกลุ่มบูมเมอแรงเป็นทางเลือกหนึ่งที่หลายองค์กรในประเทศไทยนำมาใช้ในการจัดการกับปัญหาการขาดแคลนทักษะ โดย 72% ของพนักงานเปิดกว้างที่จะกลับไปทำงานกับบริษัทเก่า ในขณะที่ 80% ของนายจ้างเต็มใจที่จะรับพนักงานเก่ากลับมาทำงาน

นอกจากนั้น พนักงาน 54% แม้ว่าจะได้งานใหม่แล้ว แต่ยังเปิดกว้างที่จะพิจารณาข้อเสนอซื้อตัวกลับของนายจ้างเก่า หากยื่นข้อเสนอที่โดนใจ โดยให้น้ำหนักกับปัจจัยที่จะทำให้อยู่ต่อ ดังนี้

Advertisment
  • ให้เงินเดือนเพิ่มขึ้น (93%)
  • เลื่อนตำแหน่งให้ (57%)
  • มีความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น (40%)
  • มีโบนัสที่ดี (33%)
  • ทำงานโดยไม่ต้องเข้าออฟฟิศ (21%)

ข้อดีของการจ้างพนักงานบูมเมอแรง

  • เรียนรู้เร็ว พนักงานเก่าที่กลับเข้าร่วมองค์กรจะมีประสิทธิผลได้เร็วกว่าพนักงานใหม่คนอื่น ๆ เพราะพวกเขารู้ข้อมูลธุรกิจเป็นอย่างดี
  • คุ้นเคยกับวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมในการทำงานของบริษัท
  • นำมุมมองใหม่มาสู่ธุรกิจ อดีตพนักงานสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกอันมีค่า เช่น การเสนอมุมมองที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการพัฒนาองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพวกเขาทำงานให้กับคู่แข่ง
  • มีความภักดีและมีประสิทธิภาพทำงานสูง มีความพึงพอใจและมีความมุ่งมั่นมากกว่าพนักงานใหม่จากภายนอก และมีแนวโน้มที่จะได้รับการเลื่อนตำแหน่งมากกว่าบริษัทที่ไม่ใช่บริษัทบูมเมอแรง
  • ช่วยองค์กรลดต้นทุนการจ้างงาน เนื่องจากพนักงานบูมเมอแรงรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ ช่วยลดต้นทุนการฝึกอบรม และลดเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้