ทำไมฉันเป็นทุกข์ แต่ทุกคนมีความสุขกันดี หาคำตอบในเทศกาลอ่านเต็มอิ่ม พรุ่งนี้ (18 ก.พ.)

ทำไมฉันเป็นทุกข์ แต่ทุกคนมีความสุขกันดี คำตอบในเทศกาลอ่านเต็มอิ่ม พรุ่งนี้

“ทำไมฉันจึงเป็นทุกข์ ขณะที่ทุกคนก็มีความสุขกันดี” หาคำตอบไปกับ “ดุจดาว วัฒนปกรณ์” นักจิตบำบัดด้วยศิลปะการเคลื่อนไหว วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 14.00-15.00 ที่มิวเซียมสยาม

สำนักพิมพ์มติชน ผนึกกำลังพันธมิตรชั้นนำ ร่วมกันสร้างสรรค์ความสนุกคู่ความรู้ จัดงาน “Knowledge Book Fair 2024 เทศกาลอ่านเต็มอิ่ม” วันที่ 16-18 กุมภาพันธ์นี้ ที่มิวเซียมสยาม เทศกาลหนังสือเพื่อการเรียนรู้ที่ดีที่สุด สนุกที่สุด และเต็มอิ่มที่สุด

สำหรับกิจกรรมภายในงาน เตรียมพบกับกองทัพความรู้ทั้งด้านประวัติศาสตร์ในมุมมองที่ไม่เคยรู้ โบราณคดีที่ไม่เคยสัมผัส ศิลปวัฒนธรรมใกล้ตัว วรรณกรรมคลาสสิกที่ไม่เคยตาย และสมทบด้วยเรื่องราวความรักในหลากมุม ตลอดจนมุมองการถ่ายภาพ

ทำไมฉันจึงเป็นทุกข์

หนึ่งในกิจกรรมไฮไลต์ของเทศกาลอ่านเต็มอิ่ม คือ “BookHealing : ทำไมฉันจึงเป็นทุกข์ ขณะที่ทุกคนก็มีความสุขกันดี” ต่อข้อถามที่ว่า คุณเคยรู้สึกสงสัยบ้างไหมว่าทำไมใจของเราจึงรู้สึกเศร้าหมอง คุณเคยรู้สึกบ้างหรือเปล่าว่าความรู้สึกด้านลบในใจนั้นเกิดขึ้นได้แสนง่ายดาย แต่กว่าจะรักษาให้เลือนหายไปได้ช่างยากเย็น

วิทยากรโดย “ดุจดาว วัฒนปกรณ์” ผู้ก่อตั้งบริษัท Empathy Sauce และนักจิตบำบัดด้วยศิลปะการเคลื่อนไหว วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 14.00-15.00 ที่มิวเซียมสยาม

ดุจดาว กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สิ่งที่จะได้จากการเข้ามาฟังทอล์ก คือ สามารถมีความรู้สึกที่เป็นมิตรมากขึ้นกับสิ่งที่เคยมองว่าเป็นความทุกข์

เดิมทีหลายคนมองความทุกข์ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรมีและรังเกียจเดียดฉันท์ แต่จริง ๆ การที่เรามาเข้าใจธรรมชาติของมัน ว่าความทุกข์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ มีที่มาที่ไป จึงมีความเข้าใจอะไรบางอย่างที่อยากจะชวนมอง เพื่อมองสิ่งที่เป็นต้นตอแห่งความทุกข์ได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น

สุดท้ายอาจรู้สึกว่าตัวเองก็ไม่ได้แย่มากขนาดนั้นในโลกใบนี้ หรือสิ่งที่เผชิญอยู่ก็ไม่ได้แย่มากขนาดนั้น และอาจได้รับมุมมองที่จะนำไปเยียวยา พร้อมกับทำความเข้าใจกับตัวเองในเรื่องบางอย่างได้

อยากให้ใจดีกับตัวเองมากขึ้น

ดุจดาว กล่าวว่า จริง ๆ ทุกคนก็มีความทุกและเหมาะที่จะเข้ามาฟังกิจกรรมนี้ หรือใครที่คิดว่าอยากหาวิธีจัดการความทุกตัวเองก็สามารถมาฟังได้

คาดหวังว่าคนที่มาฟัง เมื่อกลับไปจะใจดีกับตัวเองมากขึ้น จริง ๆ คนเราเจอความทุกข์ได้อยู่แล้ว แต่หลายคนเวลาเจอเขาอาจจะซ้ำเติมและทุบตีตัวเอง ซึ่งอาจเพิ่มทุกข์ให้มากขึ้นหรือเปล่า จึงอยากให้ใจดีกับตัวเองมากขึ้นและได้ความเข้าอกเข้าใจตัวเองมากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น บางคนทุกข์เรื่องความสัมพันธ์ อาจจะได้ความเข้าใจในความสัมพันธ์ที่เผชิญอยู่ ว่ามันอาจไม่แย่ขนาดนั้น หรือใครที่กำลังรับมือวิธีคิดของตัวเองอยู่ และทุกข์มาก ก็อยากให้ได้ความเข้าใจในวิธีคิดของตัวเองมากขึ้น

หนังสือเปลี่ยนมุมมอง

ดุจดาว กล่าวถึงหนังสือเรื่อง “ทำไมฉันจึงเป็นทุกข์ ขณะที่ทุกคนก็มีความสุขกันดี” ว่า เมื่ออ่านแล้วรู้สึกว่าหนังสือทำงานกับเเง่มุมเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เรามีต่อความคิดและอารมณ์ของตนเองบางอย่าง ก็เปลี่ยนมุมมองอยู่เหมือนกัน มีการอธิบายและยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม ทำให้เรารู้สึกจับต้องได้

เพราะบางทีนักจิตวิทยาอาจอธิบายเป็นหลักการ การอ่านอะไรแบบนั้นอาจได้ความรู้ แต่อาจไม่รู้เรื่อง แต่เล่ม ทำไมฉันจึงเป็นทุกข์ ขณะที่ทุกคนก็มีความสุขกันดี เหมือนเรื่องเล่าที่มีคนมาเล่าให้ฟัง

บางมุมเราก็ไม่คิด เปิดมาบางหน้าก็รู้สึกว่าจริง มีบางเรื่องที่เราเคยมองข้ามไป มุมนี้เราไม่เคยใส่ใจกับมัน ถ้ามุมไหนที่เรามีหลักคิดที่ไม่เข้าใจมันก็อาจทำให้เราทุก ทำไมฉันจึงเป็นทุกข์ ขณะที่ทุกคนก็มีความสุขกันดี จึงเหมือนกับหนังสือ “เส้นผมบังภูเขา”

จิตบำบัดด้วยศิลปะการเคลื่อนไหว

หลายคนอาจสงสัยว่า จิตบำบัดด้วยศิลปะการเคลื่อนไหว คืออะไร ดุจดาว กล่าวว่า จิตบำบัดเดิมทีจะเป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้บำบัดกับผู้ให้การบำบัด แต่มีอีกหลายคนที่ไม่สามารถใช้ภาษาพูดหรือบรรยายความคิดความรู้สึกตัวเองได้ เช่น เด็ก หรือผู้ที่มีพัฒนาการด้านการใช้ภาษาบกพร่อง เป็นต้น

จึงเกิดการใช้ “ศิลปะ” ซึ่งมีอนุภาพในการสื่อสารที่ดีมาก ไร้ขอบเขต และไม่มีม่านของภาษามากั้น โดยศิลปะมีหลายแขนง แต่ละแขนงก็สามารถเป็นตัวเเทนภาษาได้ ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพ ดนตรี และเทคนิคการละคร เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมี “ศิลปะการเคลื่อนไหว” ที่สามารถใช้เป็นตัวเชื่อมแทนภาษาเพื่อให้ผู้บำบัดและผู้รับการบำบัดได้พูดคุยกัน เหมือนเครื่องมือที่ทำให้คน ๆ นั้นเข้าใจตัวเองมากยิ่งขึ้น

ดังนั้น บำบัดเคลื่อนไหว จึงไม่ได้ทำแค่ภาษาพูด แต่ทำภาษากายด้วย ซึ่งเป็นภาษาพื้นฐานและภาษาแรกของมนุษย์ทุกคน และค่อนข้างมีอานุภาพสูง เพราะประสบการณ์และความทรงจำล้วนอยู่ในร่างกายเรา

ใครก็อยากได้ Knowledge

ดุจดาว กล่าวถึงงาน Knowledge Book Fair 2024 เทศกาลอ่านเต็มอิ่ม ว่า ชอบตั้งแต่ชื่องานแล้ว แค่คำว่า Knowledge ใคร ๆ ก็อยากได้ เพราะมันคือองค์ความรู้ซึ่งมีหลากหลายมิติ แค่เดินเข้าไปและคว้ามันขึ้นมา ก็คงจะได้แนวทางที่ไปปรับใช้กับสิ่งที่เราอยากรู้หรืออยากทำเป็น ชัดเจนมากว่ามางานนี้เพื่อได้ความรู้

Knowledge ไม่ได้หมายถึงสิ่งที่เราจะรู้เพื่อให้ฉลาด แต่มันอาจเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นที่ทำให้ชีวิตเราสมดุล หรือทำอะไรได้อย่างเสถียรราบรื่น ถ้ารู้สึกว่าตัวเองมีอะไรหล่นหายก็ลองแวะมาดูที่งาน Knowledge Book Fair 2024 เทศกาลอ่านเต็มอิ่ม ของมติชน

แล้วพบกันที่ “Knowledge Book Fair 2024 เทศกาลอ่านเต็มอิ่ม” บุ๊กแฟร์จาก 16 สำนักพิมพ์ นำโดยสำนักพิมพ์มติชน พร้อมกิจกรรมมากมายทั้งฟังทอล์ก วอล์กทัวร์ เวิร์กช็อป ชมคอลเล็กชั่นพิเศษหลักฐานประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญจากการปฏิวัติ 2475 พร้อมฟังดนตรีในสวนกับ 50 ร้านอาหารดัง ถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 ที่มิวเซียมสยาม