
ราคาน้ำมันดิบปรับลด หลังธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งภายในสิ้นปีนี้
วันที่ 21 กันยายน 2566 หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน บมจ.ไทยออยล์ ระบุว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบ ดังนี้ ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัส และเบรนต์ปรับตัวลดลง 1% หลังธนาคารกลางสหรัฐ (FED) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ จากการประชุมเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 66 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ธนาคารยืนยันว่า อาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งภายในสิ้นปีนี้ไปอยู่ที่ระดับ 5.50%-5.75% ส่งผลให้ตลาดน้ำมันยังได้รับแรงกดดันต่อเนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ
- ในหลวง พระราชินี เสด็จฯส่วนพระองค์ ทรงร่วมแข่งเรือใบ จ.ภูเก็ต
- เช็กที่นี่ เงินอุดหนุนบุตร 600 บาท เดือนธันวาคม 2566 เงินเข้าวันไหน
- เปิดตัว “คอร์ทยาร์ด บาย แมริออท กรุงเทพฯ สุวรรณภูมิ” ห่างสนามบิน 10 นาที
โดยราคาน้ำมันเวสต์เทกซัสซื้อขายเมื่อ 20 ก.ย. 2566 อยู่ที่ 90.28 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง -0.92 เหรียญสหรัฐ และราคาน้ำมันเบรนต์อยู่ที่ 93.53 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง -0.81 เหรียญสหรัฐ
สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐ (EIA) เปิดเผยตัวเลขน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 15 ก.ย. 66 ปรับลดลง 2.1 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 418.5 ล้านบาร์เรล ซึ่งปรับลดลงน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ว่าจะปรับลดลง 2.2 ล้านบาร์เรล
นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) มีแนวโน้มหยุดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังอัตราเงินเฟ้อชะลอตัว โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของอังกฤษประจำเดือน ส.ค.66 ปรับตัวลดลง 0.1% เทียบกับเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ 6.7 % ซึ่งต่ำสุดในรอบ 18 เดือน
ราคาน้ำมันเบนซิน
ราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังอุปทานน้ำมันเบนซินจากจีนและไต้หวัน ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ตลาดยังได้รับแรงกดดันจาก ราคาเอทานอลที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้อุปสงค์น้ำมันเบนซินจากฟิลิปปินส์ปรับตัวลงลง หลังจากรัฐบาลกำหนดให้ผลิตน้ำมันเบนซิน โดยใช้เอทานอลผสม 10%
ราคาน้ำมันดีเซล
ราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังอุปทานจากจีนอาจลดลง เนื่องจากตลาดคาดว่าอุปสงค์ในประเทศจีนมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากสต็อกน้ำมันดีเซลของท่าเรือฟูไจราห์ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 18 ก.ย. 66 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 9.7% สู่ระดับ 18.3 ล้านบาร์เรล