นิด้าโพล เผยผลสำรวจ การใส่ชุดนักเรียนยังควรมีต่อไป

นิด้าโพล นักเรียน โรงเรียน

นิด้าโพลเผยผลสำรวจเรื่อง สิทธิ เสรีภาพ และกฎระเบียบในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระบุ ชุดนักเรียนมีเพื่อส่งเสริมความมีระเบียบวินัย-การใส่ชุดนักเรียนยังควรมีอยู่ต่อไป

วันที่ 26 มิถุนายน 2566 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “สิทธิ เสรีภาพ และกฎระเบียบในโรงเรียน” สำรวจระหว่างวันที่ 21-23 มิถุนายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพ และกฎระเบียบในโรงเรียน

จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเครื่องแบบนักเรียน พบว่า 5 อันดับสูงสุดเป็นดังนี้

  • ร้อยละ 80.53 ระบุว่า เพื่อส่งเสริมความมีระเบียบวินัย
  • ร้อยละ 35.65 ระบุว่า เป็นการบ่งบอกถึงสถานศึกษาของนักเรียน
  • ร้อยละ 23.82 ระบุว่า เพื่อความปลอดภัยของนักเรียน
  • ร้อยละ 21.76 ระบุว่า ทำให้ผู้ปกครองประหยัด
  • ร้อยละ 20.23 ระบุว่า เป็นการป้องกันการแอบอ้างเป็นนักเรียน

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิดยกเลิกการบังคับใส่เครื่องแบบนักเรียนไปโรงเรียน พบว่า

  • ร้อยละ 59.47 ระบุว่า การบังคับให้ใส่เครื่องแบบนักเรียนไปโรงเรียนควรมีต่อไป
  • ร้อยละ 20.69 ระบุว่า ในรอบสัปดาห์ควรอนุญาตให้ใส่ชุดอื่น ๆ (ชุดไปรเวต) ไปโรงเรียนได้บ้าง
  • ร้อยละ 5.88 ระบุว่า สมควรให้นักเรียนได้มีอิสระที่จะเลือกว่าจะใส่เครื่องแบบนักเรียนไปโรงเรียนหรือไม่
  • ร้อยละ 5.04 ระบุว่า ควรให้เรื่องการใส่เครื่องแบบนักเรียนอยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหารแต่ละโรงเรียน
  • ร้อยละ 4.50 ระบุว่า ควรให้เรื่องการใส่เครื่องแบบนักเรียนเป็นไปตามประชามติของนักเรียนในแต่ละโรงเรียน
  • ร้อยละ 4.27 ระบุว่า สมควรยกเลิกการใส่เครื่องแบบนักเรียนไปโรงเรียน
  • ร้อยละ 0.15 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อถามถึงจำนวนวันจากผู้ที่ระบุว่าในรอบสัปดาห์ควรอนุญาตให้ใส่ชุดอื่น ๆ (ชุดไปรเวต) ไปโรงเรียนได้บ้าง (จำนวน 271 หน่วยตัวอย่าง) พบว่า

  • ร้อยละ 47.60 ระบุว่า 1 วันต่อสัปดาห์
  • ร้อยละ 37.64 ระบุว่า 2 วันต่อสัปดาห์
  • ร้อยละ 14.02 ระบุว่า 3 วันต่อสัปดาห์
  • ร้อยละ 0.74 ระบุว่า 4 วันต่อสัปดาห์

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการเรียนวิชาด้านคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรมในโรงเรียน พบว่า

  • ร้อยละ 72.52 ระบุว่า เห็นด้วยมาก
  • ร้อยละ 18.24 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย
  • ร้อยละ 5.04 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย
  • ร้อยละ 3.59 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย
  • ร้อยละ 0.61 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อกฎระเบียบของโรงเรียน พบว่า

  • ร้อยละ 69.16 ระบุว่า กฎระเบียบของโรงเรียนมีเพื่อส่งเสริมความมีระเบียบวินัย
  • ร้อยละ 46.49 ระบุว่า กฎระเบียบของโรงเรียนมีเพื่อให้นักเรียนตระหนักในสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ
  • ร้อยละ 36.41 ระบุว่า สิทธิเสรีภาพของนักเรียนควรอยู่ภายใต้กฎระเบียบของโรงเรียน
  • ร้อยละ 12.29 ระบุว่า กฎระเบียบของโรงเรียนสำคัญกว่าสิทธิเสรีภาพของนักเรียน
  • ร้อยละ 9.31 ระบุว่า กฎระเบียบของโรงเรียนเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของนักเรียน
  • ร้อยละ 4.05 ระบุว่า สิทธิเสรีภาพของนักเรียนสำคัญกว่ากฎระเบียบของโรงเรียน
  • ร้อยละ 2.44 ระบุว่า กฎระเบียบของโรงเรียนเป็นเครื่องหมายของการกดขี่/อำนาจนิยม
  • ร้อยละ 0.31 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ