ส่องโมเดลแก้จนประเทศจีน ผ่านบทบาทของมหาวิทยาลัยกว่างซี

นายเชี่ยว เจียน ชวง (Xiao Jian Zhuang) รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยกว่างซี
นายเชี่ยว เจียน ชวง (Xiao Jian Zhuang) รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยกว่างซี

ส่องโมเดลแก้จนประเทศจีน ผ่านบทบาทของมหาวิทยาลัยกว่างซี กับการฟื้นฟูเศรษฐกิจชนบทในมณฑลกว่างซีจ้วง ด้วยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมตั้งทีมบริการ-คัดเลือกคนประจำหมู่บ้านเข้าช่วยเหลือ

วันที่ 25 มกราคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้ลงนามร่วมกับมหาวิทยาลัยกว่างซี แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมมือการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการแก้ไขปัญหาความยากจนของทั้งสองประเทศ ทั้งเรื่องของเทคโนโลยี บุคลากร ฯลฯ เนื่องจากที่ผ่านมา ไทยได้ใช้โมเดลจากจีน เพื่อเป็นแนวทางบรรเทาความยากจนในประเทศ เพราะจีนถือเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน สามารถยกระดับคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจจนขึ้นไปอยู่อันดับต้น ๆ ของโลก 

ม.กว่างซี ฟื้นฟูเศรษฐกิจชนบทจีน

มหาวิทยาลัยกว่างซีในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งประเทศจีนที่มีการสร้างวิชาการในระดับโลกและเป็นมหาวิทยาลัยที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาของจีนกับเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงมหาวิทยาลัยมีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ในการช่วยขจัดปัญหาความยากจนและทำงานเพื่อฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจในชนบทของประเทศจีน

นายเชี่ยว เจียน ชวง (Xiao Jian Zhuang) รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยกว่างซี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบทางทรัพยากรที่มี ดำเนินการด้านการแก้ปัญหาความยากจนด้วยความรู้ความสามารถ การศึกษา และเทคโนโลยี และมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการสร้างความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมของประเทศจีน

​มหาวิทยาลัยกว่างซีให้ความสำคัญกับ “การช่วยขจัดปัญหาความยากจนอย่างมีเป้าหมายและมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูและพัฒนาชนบท” มาอย่างต่อเนื่อง และพยายามมองหาวิธีการที่ได้ผลมาใช้ ทั้งการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการฝึกอบรมบุคลากรเพื่อให้ทำงานด้านการพัฒนาได้อย่างเต็มที่ โดยมหาวิทยาลัยมีบทบาทในการให้การสนับสนุนเชิงกลยุทธ์ การกำหนดแนวทางสู่ความสำเร็จ และจัดการฝึกอบรมทางวิชาการเพื่อให้การฟื้นฟูพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้งความรู้ความสามารถของทรัพยากรบุคคล วัฒนธรรม ระบบนิเวศ และองค์กร 

จัดตั้งทีมบริการ เพื่อเกษตรกร

นายเชี่ยว เจียน ชวงกล่าวต่อว่า เริ่มจากคัดเลือกคนให้ไปประจำอยู่ที่หมู่บ้านที่เป็นเป้าหมายในการให้ความช่วยเหลือ และเป็นตัวเชื่อมโยงและประสานประโยชน์โดยใช้ทรัพยากรของสถานศึกษา และส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพสูง เช่นพริกป่น Napo หนอนหม่อนไหม ฟาร์มเลี้ยงวัว และฟาร์มหมู

จากนั้นจัดตั้ง “ทีมบริการ” นำโดยทีมส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรของ สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรและปศุสัตว์ ของมหาวิทยาลัยกว่างซี ให้ไปเข้าร่วมทำงานกับสายการผลิตเพื่อช่วยส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมท้องถิ่น และจะทำการคัดเลือกผู้มีความรู้ความสามารถในเชิงเทคนิคและมีความเป็นมืออาชีพมาช่วยดำเนินการส่งเสริมด้านเทคโนโลยีอย่างเข้มข้น รวมทั้งด้านการฝึกอบรมบุคลากร

นอกจากนั้นยังมีคณะทำงานพิเศษที่เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยกว่างซีที่ทำงานในระดับภูมิภาค ที่จะเป็นทีมที่ให้บริการด้านเทคนิคและนำเสนอนวัตกรรมและผลักดันความเป็นผู้ประกอบกิจการในระดับประเทศ ระดับเมือง และระดับหมู่บ้าน ซึ่งเป็นการสร้างทีมบริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทำงานอย่างแข็งขันทั้งในระดับประเทศและระดับชุมชนได้ตลอดทั้งปี

นำองค์ความรู้สู่ชนบท

จากนั้นได้ฝึกอบรมเกษตรกรคนรุ่นใหม่ ที่จะนำไปสู่การสร้างผู้นำเกษตรกรในชนบทและกระตุ้นให้เกิดการผลิตเกษตรกรชนบทรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพสูงออกมาจำนวนมาก

พร้อมทั้งสร้างสังคมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อช่วยบรรเทาและขจัดปัญหาความยากจน มหาวิทยาลัยกว่างซีได้ร่วมมือกับเขตปกครองพิเศษกว่างซีจ้วงในการสร้าง “ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ในเมืองกว่างซี โดยความร่วมมือระหว่างทีมผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในกว่างซีและทีมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (บัณฑิต) ที่ประจำอยู่ตลอดทั้งปี

มีการทำวิจัยเพื่อที่จะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรม เพื่อปิดช่องว่างระหว่างเกษตรกรและทีมผู้เชี่ยวชาญ ระหว่างภาคการผลิตและการทำวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ และระหว่างการจ้างงานและการศึกษาให้ขยับเข้าใกล้กันมากขึ้น สิ่งนี้จะกำจัดความแตกต่างเรื่องของเวลา และขจัดต้นทุนการให้บริการทางเทคนิคสำหรับภาคการเกษตร ภาคชนบทและเกษตรกร ในขณะเดียวกันก็สามารถส่งเสริมการพัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมให้เกิดขึ้นได้ 

ใช้ทีมงานพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการเป็นผู้ให้บริการที่เหมาะสมกับแต่ละอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และให้การสนับสนุนอย่างแข็งขันในการสร้างความสำเร็จร่วมกันในการทำงานเพื่อขจัดความยากจน เช่นตัวอย่างในปี พ.ศ. 2566 ได้จัดตั้งทีมทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับชนบทขึ้นมา 87 ทีม โดยมีการออกไปให้บริการถึงที่ทั้งสิ้น 1,775 วัน ตอบปัญหาทางออนไลน์ 310 ครั้ง ให้การอธิบายเพื่อการส่งเสริมอีก 72 ครั้ง โดยมีพื้นที่การดำเนินงานทั้งหมด 204,263 เอเคอร์ มีโซลูชั่นด้านเทคโนโลยีทั้งหมด 6 ชิ้นงาน และมีการจัดกิจกรรมฝึกอบรมอีก 170 ครั้ง มีบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมทั้งสิ่ง 7921 คน 

​ในปี 2566 มหาวิทยาลัยกว่างซีจะเน้นในเรื่องของพริกไทยเฉสวน อำเภอนาโป เมืองไป่เซอ การเพาะเห็ดอำเภอหรงสุ่ย และฟาร์มลี้ยงโคเนื้อ เมืองตู้อัน โดยจะสร้างให้เกิดเคสที่เป็นแบบอย่างและถูกต้องตามแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมท้องถิ่นอำเภอนาโปนั้น

มหาวิทยาลัยกว่างซีได้สร้างฐานสาธิตการทำพริกป่นเพื่อเป็นการแนะแนวทางให้กับเกษตรกรผู้ปลูกพริกในเมือง Dashi Shan ที่ไม่เพียงช่วยแก้ปัญหาเรื่องรายได้ให้เกษตรกรเท่านั้น แต่ยังช่วยป้องกันระบบนิเวศวิทยาอีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นทีรับรู้กันอย่างกว้างขวางในอำเภอนาโป

หนุนเกษตรกรปลูกพืช-เลี้ยงสัตว์

มหาวิทยาลัยกว่างซี ได้ทำการวิจัยและพัฒนาโครงการเพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ได้ดำเนินการช่วยเหลือ บูรณาการและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการผสมพันธุ์อย่างครบวงจรให้กับวัวและแกะ เช่นการเพาะพันธุ์โคและแกะในระบบนิเวศ เทคโนโลยีการขุนแบบผสมอาหารเต็มรูปแบบ การนิจฉัยโรคอย่างรวดเร็ว และการใช้ปุ๋ยชีวภาพร่วมกับอุจจาระปัสสาวะของสัตว์ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและเสริมประสิทธิภาพการผสมพันธุ์วัวและแกะในระดับประเทศสำหรับเมือง RongShui

ทีมเพาะเห็ดได้ของมหาวิทยาลัยกว่างซีได้ให้การแนะนำแก่เกษตรกรในการที่จะพัฒนาพันธุ์พืชที่เหมาะกับการเพาะเชื้อเห็ดชนิดที่บริโภคได้ในพื้นที่ป่าของท้องถิ่น และได้ริเริ่มให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เป็นตามแนวทางของอุตสาหกรรม พวกเขาได้ให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาการปลูกเห็ดหลินจือ บนพื้นที่กว่า 7,000 เอเคอร์ โดยมีผลผลิตรวมทั้งหมดราว 1550 ตันต่อปี มีมูลค่าประมาณทั้งสิ้นกว่า 140 ล้านหยวน 

โครงการนี้มี หน่วยงานกว่า 30 แห่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปลูกและจัดจำหน่ายเห็นหลินจือ รวมทั้งวิสาหกิจชั้นนำอีก 4 แห่ง สหกรณ์ 3 แห่ง และมีพนักงานทั้งสิ้นกว่า 1,000 คน รัศมีการครอบคลุมของอุตสาหกรรมนี้ได้ขับเคลื่อนกว่า 2,400 ครัวเรือนในประเทศ

โดยมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่า 5,000 หยวนต่อปีต่อครัวเรือน หรือประมาณ 25,211 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 25 ม.ค. 67) โครงการนี้ยังได้รับรางวัลในฐานะเคสตัวอย่างของการให้ความช่วยเหลืออย่างเฉพาะกิจให้กับสถาบันการศึกษาระดับสูงในปีที่ 6 ของกระทรวงการศึกษาของประเทศจีน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

รองอธิการบดี ม.กว่างซีกล่าวอีกว่า ประสบการณ์ในการแก้ปัญหาความยากจนอย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

​การศึกษานับเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาความยากจน การดำเนินการของประเทศจีนในการให้ความช่วยเหลือเพื่อแก้ปัญหาความยากจนตามเป้าที่วางไว้และการส่งเสริมอย่างเข้มช้นในการฟื้นฟูภาคชนบทที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะเพื่อขจัดปัญหาความยากจนและช่วยให้ครัวเรือนในชนบทเกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ นำมาซึ่งผลผลิตการเกษตรที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นประสบการณ์อันมีค่าในการขจัดปัญหาความยากจน

อย่างไรก็ตาม​กว่า 40 ปีของการปฏิรูปประเทศและเปิดประเทศของจีน มีประชากรกว่า 770 ล้านคนที่ถูกยกระดับให้พ้นจากภาวะความยากจน คิดเป็นสัดส่วนกว่า 70% ของการลดปัญหาความยากจนของประชากรโลกที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน นับเป็นปรากฎการณ์ในประวัติศาสตร์การแก้ปัญหาความยากจนของมนุษยชาติ​ความสำเร็จที่เห็นได้ชัดเจนในการบรรเทาปัญหาความยากจนมาจากความเป็นผู้นำที่เข้มแข็งของพรรคคอมมูนิสต์แห่งประเทศจีน จิตวิญญาณแห่งการพึ่งพาตนเองและความขยันขันแข็งของชนชาติจีน 

การมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งที่ก่อร่างสร้างขึ้นมาตั้งแต่การสร้างประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยในการปฏิรูปและการเปิดประเทศ ความรวดเร็วและความมุ่งมั่นในการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความดิ้นรนต่อสู้และทั้งพรรคและประชาชนกลุ่มน้อยทั้งหลายในประเทศ

จากเงื่อนไขของความเป็นประเทศจีนที่เราเผชิญอยู่ เราได้ใช้โอกาสนี้ในการมุ่งขจัดปัญหาความยากจน นำมาตรการใหม่ที่แตกต่างออกไปจากเดิมมาใช้อย่างต่อเนื่อง ดำเนินนโยบายที่ใช้แล้วได้ผลมาอย่างสม่ำเสมอ ทำงาน สร้างระบบสถาบันและทำการขจัดปัญหาความยากจนด้วยหนทางแบบจีน สร้างทฤษฎีต่อต้านความยากจนที่เป็นแบบฉบับจีนโดยเฉพาะ

ไทยใช้กลไกมหา’ลัยพัฒนาชุมชน

อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับบริบทของประเทศไทย นโยบายของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จะใช้กลไกของมหาวิทยาลัยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชนต่าง ๆ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยกว่างซี โดยไทยได้เดินหน้าโครงการพลิกโฉมสถาบันอุดมศึกษา (Re-inventing University) โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยกลุ่ม 3 กลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ซึ่งมีมากกว่า 40 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัยในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ