ค่าเงินบาททรงตัว จับตาตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ

ค่าเงินบาทวันนี้ (23 มิ.ย.66)

ค่าเงินบาททรงตัว นักลงทุนจับตาตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐที่จะประกาสวันนี้ คาดชะลอตัวลง และอาจส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐผ่อนคันเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ย ขณะที่ปัจจัยในประเทศ กกร.คาดเศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัว 3.0-3.5% ผลจากนักท่องเที่ยวดินทางเข้าไทยสูงถึง 20-25 ล้านคน

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า สภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม 2566 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (12/1) ที่ระดับ 33.33/35 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ทรงตัวจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (11/1) ที่ระดับ 33.32/34 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

โดยค่าเงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในเชิงแข็งค่าอย่างต่อเนื่องจากอานิสงส์การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวนายวชิร คุณทวีเทพ ผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีความเชือมั่นหอการค้าไทย (TCC-CI) ประจำเดือน ธ.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 45.5 เพิ่มขึ้นจากระดับ 43.9 ในเดือน พ.ย. 65

สำหรับปัจจัยบวกที่ช่วยหนุนดัชนีความเชื่อมั่น ได้แก่ ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ทรงตัวจากเดือนที่ผ่านมา จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นหลังเปิดประเทศ ส่งผลให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ขณะที่ปัจจัยลบ ยังคงกังวลถึงการส่งออกที่ลดลง ปัญหาค่าครองชีพ และความกังวลต่อสถานการณ์สงครามรัสเซียและยูครน

นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) คงคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3.0-3.5% โดยคาดว่าในปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยสูงถึง 20-25 ล้านคน จากปัจจัยหนุนที่จีนเปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค. 66 ขณะที่ปี 65 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทย 11.1 ล้านคน มากกว่าที่ได้เคยคาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวฟื้นตัวได้ โดยอัตราเข้าพักโรงแรมเดือน ธ.ค. 65 อยู่ที่ 63% เข้าใกล้ระดับปกติที่ 77%

สำหรับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ในขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐในวันนี้ ท่ามกลางการคาดการณ์ที่ว่าดัชนี CPI จะชะลอตัวลง และอาจส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ผ่อนคันเร่งในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ดัชนี CPI ทั่วไปซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะปรับตัวขึ้น 6.5% ในเดือน ธ.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งชะลอตัวลงจากระดับ 7.1% ในเดือน พ.ย.

นอกจากนี้ นางแมรี ดาลี ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาซานฟรานซิสโกเปิดเผยว่า มีความเป็นไปได้ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.5% หรือ 0.25% ในการประชุมนโยบายการเงินวันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ.นี้

นางดาลียังกล่าวว่า เธอคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 4.25%-4.5% นั้น จะปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดที่ 5.00%-5.25% และจะคงอยู่ที่ระดับดังกล่าวต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อฉุดเงินเฟ้อให้กลับสู่เป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2% แต่การที่ดอกเบี้ยจะตรึงอยู่ระดับดังกล่าวนานแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจในอนาคต

โดยนางดาลีคาดการณ์ว่า อัตราว่างงานของสหรัฐซึ่งขณะนี้อยู่ที่ระดับ 3.5% จะเพิ่มขึ้นแตะประมาณ 4.5% หรือ 4.6% และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อซึ่งขณะนี้อยู่ที่ 5.5% จะลดลงสู่กรอบล่างของ 3% ภายในสิ้นปี 2566 ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 33.25-33.46 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 33.35/36 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโรเปิดตลาดเช้านี้ (12/1) ที่ระดับ 1.0762/64 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ปรับตัวแข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (11/1) ที่ระดับ 1.0744/46 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ในขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ว่าตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐจะชะลอตัวลง ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.0742-1.0775 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโ และเปิดตลาดที่ระดับ 1.0764/68 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (12/1) ที่ระดับ 131.82/84 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวแข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (11/1) ที่ระดับ 132.53/55 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 130.85-131.90 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 130.94/97 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ตัวเลขเงินเฟ้อ (CPI) จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ราคานำเข้าและส่งออกเดือน ธ.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือน ม.ค. จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือน ในประเทศอยู่ที่ -10.5/-10 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยงภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -17.5/-14.90 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ