ดอลลาร์ยังคงแข็งค่า หลังตลาดแรงงานยังคงตึงตัว หนุนเฟดเพิ่มอัตราดอกเบี้ย

ดอลลาร์
ภาพ : pixabay

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า สภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันอังคารที่ 11 เมษายน 2566 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (11/4) ที่ระดับ 34.34/36 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันจันทร์ (10/4) ที่ระดับ 34.29/30 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ โดยการอ่อนค่าของค่าเงินบาทปัจจัยหลักมาจากการเข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์

เนื่องจากตลาดยังคงให้ความสนใจกับตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่ถึงแม้ว่าจะลดลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ รวมถึงการที่อัตราการว่างงานของสหรัฐลดลง แสดงให้เห็นถึงกาวะดึงตัวของตลาดแรงงาน นักลงทุนจึงได้มีการดาดการณ์ว่าทาง FED อาจมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในการ

ประชุมครั้งถัดไป ช่วงวันที่ 2-3 พฤษภาคม ทางด้านธนาคารโลกได้มีการปรับเพิ่มการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก จากเดิมที่เคยประเมินไว้ในเดือนมกราคมที่ระดับ 1.7% เพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 2% ทั้งนี้ที่ปรับการคาดการณ์สูงขึ้นเนื่องมาจากเศรษฐกิจโลกได้รับอานิสงส์จากการเปิดประเทศของจีนที่ทำให้เศรษฐกิจจีนขยายตัว 5.1% ในปี 2023 ทางด้านตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐเมื่อคืนที่ผ่านมา (10/4) กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ ได้มีการเปิดผยตัวเลขสต๊อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งในเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้น 0.1% เมื่อเทียบรายเดือน สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการเปิดเผยเสถียรภาพระบบการเงินไทย ประจำไตรมาส 1/2566 โดยกล่าวว่าระบบการเงินไทยยังคงมีเสถียรภาพอยู่ แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีปัญหารายด้านที่อาจจะกระทบเสถียรภาพการเงินของไทย คือทางภาคครัวเรือนมีปัญหาด้านความสามารถในการชำระหนี้ของกลุ่มเปราะบาง จากการที่ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากเงินเฟ้อ ทางภาคธุรกิจ จากปัญหาต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่ความต้องการซื้อยังคงชะลอตัว ทางระบบธนาคารพาณิชย์ที่การแข่งขันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น อาจกดดันความสามารถในการทำกำไรทางด้านตลาดการเงินยังคงต้องติดตามพฤติกรรม search for yield และความผันผวนในตลาดการเงินโลก ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 34.21-34.39 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ ระดับ 34.22/23บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร เปิดตลาดเช้าวันนี้ (10/4) ที่ระดับ 1.0877/78 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร อ่อนค่าจากระดับเปิดตลาดเมื่อวันจันทร์ (10/4) พี่ระดับ 1.0908/09 ดอลาร์สหรัฐ/ยูโร ตามการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์จากการตึงตัวของตลาดแรงงานในสหรัฐ นอกจากนี้ยังมีการเปิดเผยตัวเลขยอดค้าปลีกรายเดือนของยุโรปหดตัว 0.8% ตามที่ตลาดคาดการณ์ ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.086-1.0914 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.0913/14 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (11/4) ที่ระดับ 133.51/52 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันจันทร์ (10/4) ที่ระดับ 133.34/38 เยนดอลลาร์สหรัฐ จากการที่ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากการตึงตัวของตลาดแรงงาน ทั้งนี้ในคืนที่ผ่านมา (10/4) ค่าเงินเยนได้อ่อนค่าไปแตะระดับ 133.87 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ หลังจากถ้อยแถลงของนายดาซูโอะ อูเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางคนใหม่ของญี่ปุ่น ที่ว่าทางญี่ปุ่นจะยังคงดำเนินนโยบายผ่อนคลายแบบพิศษต่อไปเพื่อกระตุ้นค่าจ้างในตลาดแรงานให้เติบโต รวมถึงการดำเนินนโยบายแบบ Normalization นั้น อาจสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น เนื่องจากตอนนี้เศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนที่สูง ทั้งนี้นายอูเอดะจะมีการกำหนดนโยบายทางการเงินอย่างเหมาะสมเพื่อให้เงินเฟ้อบรรลุกรอบเป้าหมายที่ 2% ภายในกรอบเวลาที่กำหนด โดยระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 133.00-133.69 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 133.07/08 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

Advertisment

ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภคและผู้ผลิตของจีน (11/4), ยอดค้าปลีกเดือนกุมภาพันธ์ (11/4) และดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมเดือนมีนาคมจากสหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐ (NFIB) (11/4)

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ -10.25/-9.6 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยงภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -11.2/-9.5 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ