เทียบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจตั้งแต่ “ช้อปช่วยชาติ-ช้อปดีมีคืน e-Refund” ด้าน “บล.เอเซียพลัส” ชี้มาตรการคืนภาษีรอบล่าสุด กรมสรรพากรสูญเสียรายได้ราว 1-2 หมื่นล้านบาท แต่ช่วยเกิดวงเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจราว 1-2 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP ที่ 0.54-1.09% สูงกว่าช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด รายงานว่า ประชุมคณะระฐมนตรี (ครม.) วันนี้ ลุ้นมีความคืบหน้ามาตรการ E-REFUND โดยปลัดกระทรวงการคลัง ระบุว่าในการประชุม ครม. ในวันนี้จะมีการพิจารณาเห็นชอบมาตรการกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชนและประชาชนผ่านโครงการ E-REFUND ที่จะ
เปิดให้ผู้เสียภาษีสามารถซื้อสินค้าได้ภายในมูลค่าไม่เกิน 50,000 บาท
และนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้ในปี 2568 โดยเบื้องต้นไทม์ไลน์ที่รัฐบาลวางไว้ของช่วงเวลาการใช้จ่ายคือ ต้นปี 2567 ซึ่งฝ่ายวิจัยฯ คาดว่านโยบายดังกล่าวอาจเป็นคลื่นลูกใหม่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยปี 2567 ให้โตมากกว่าค่าเฉลี่ย CONCENSUS ที่ทำช่วงการเติบโตไว้ระหว่าง 3.2-3.5%
ขณะที่เม็ดเงินดำเนินโครงการนี้ คาดว่าจะทำให้ทางกรมสรรพากร สูญเสียรายได้ราว 1-2 หมื่นล้านบาท ขณะที่ประสิทธิภาพของโครงการ E-REFUND คาดว่าจะช่วยเกิดวงเงินเดินสะพัดในระบบเศรษฐกิจราว 1-2 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP น่าจะอยู่ที่ราว 0.54-1.09% ซึ่งมีแนวโน้มสูงกว่าช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกินอื่น ๆ ร่วมด้วย
โดยฝ่ายวิจัยฯ คาดว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้ประโยชน์ หากนโยบายดังกล่าวเกิดขึ้นจริง คือ กลุ่มท่องเที่ยว (CENTEL ERW), กลุ่มอุปโภคบริโภค (CPAXT, HMPRO, COM7, CRC, CPALL, BJC, CBG, DOHOME, DCC) และกลุ่มคาดหวังเศรษฐกิจฟื้นตัว (KBANK, BBL, TISCO, TIDLOR, MTC, SAWAD) เป็นต้น
สรุปประเด็นนโยบาย E-REFUND คาดรู้ความคืบหน้าหลังการประชุม ครม.วันนี้ คาดเป็นอีกหนึ่งนโยบายหลักที่ช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตสู่ระดับ 5%