ความเสี่ยงจากการถูกไถ่ถอนตราสารหนี้คืนก่อนกำหนด

ถอนตราสารหนี้
คอลัมน์ : คุยฟุ้งเรื่องการเงิน
ผู้เขียน : Actuarial Business Solutions (ABS)

ความเสี่ยงจากการถูกไถ่ถอนตราสารหนี้คืนก่อนกำหนด แปลความหมาย คือ การมีความเสี่ยงที่มีการจ่ายเงินต้นคืนมาให้กับนักลงทุนก่อนกำหนดที่ควรจะเป็น สมมุติว่านักลงทุนมีแผนว่าอยากจะได้เงินต้นคืนในอีก 10 ปีข้างหน้า แต่วันดีคืนดีผ่านไปแค่ 5 ปี คนขอกู้เอาเงินต้นมาคืนให้ถึงหน้าบ้าน

ซึ่งปกติเขาก็จะเอามาคืนให้ตอนดอกเบี้ยในตลาดตก จะไปกู้เงินต้นในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่า แล้วเอาเงินก้อนนั้นมาจ่ายคืนเงินก้อนที่คิดอัตราดอกเบี้ยแพง prepayment risk แบบนี้ก็จะทำให้นักลงทุนเกิด reinvestment risk แฝงตามมาด้วย

หรือเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า cash flow risk ซึ่งโดยหลักการแล้วมันก็คือความเสี่ยงที่เราจะมี cash flow pattern และ timing of cash flow ที่ไม่ได้ตามที่เราคาดหวัง (expected) ไว้ ยกตัวอย่างเช่น เราตระเตรียมล่วงหน้าไว้แล้วว่าควรจะมีเงินเข้าเงินออกตอนนั้นตอนนี้

แต่ในตราสารบางตัวที่เราเลือกลงทุนนั้น คนที่ออกตราสารมีสิทธิที่จะคืนเงินต้นให้กับนักลงทุนได้ ซึ่งทางเลือกในที่นี้เรียกว่า call option โดย prepayment risk หรือ cash flow risk จึงสามารถเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า call risk นั่นเอง

การที่จะทำไม่ว่าจะเป็น hedging ความเสี่ยง หรือทำ risk management (ALM) นั้น ส่วนใหญ่ actuary จะไม่นิยมลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงประเภทนี้มากนัก ถึงแม้ว่าจะให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าก็ตาม ทั้งนี้ก็แล้วแต่กรณีไป

ตราสารแบบเรียบ ๆ ง่าย ๆ ธรรมดา จะถูกเรียกว่า plain vanilla bonds ซึ่งถ้าคนออกตราสารใส่เครื่องเข้าไปด้วย เราจะเรียกตราสารนั้นว่า embedded bonds

embedded bonds = plain vanilla bonds+option

– ราคาของ embedded call option = plain vanilla bonds-call premium

– ราคาของ embedded put option = plain vanilla bonds+put premium

ถ้าพ่วง call option เข้าไปใน bonds คนออกตราสารจะมีสิทธิเรียกตราสารคืนได้จาก investor ได้ ลองไปดูตัวอย่างและมุมมองของแต่ละองค์ประกอบ

มุมมองของคนขายตราสาร

ใน call option จะมีราคาตัวหนึ่งที่เขียนเอาไว้ว่าคนซื้อ call option จะสามารถมีสิทธิซื้อตราสารคืนได้ในราคาเท่าไหร่ เราเรียกราคาตัวนี้ว่า strike price

เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดต่ำ ราคาตราสารก็จะสูง ซึ่งหมายความว่า คนออกตราสารสามารถใช้ strike price ซึ่งจะมีราคาต่ำกว่าราคาตราสารในตลาดขณะนั้น เพื่อซื้อตราสารคืนจากนักลงทุนได้

คนคนนี้มีสิทธิในการควบคุม cash flow pattern หรือ timing of cash flow ได้ แต่เมื่อได้อะไรบางอย่างมา ก็ต้องยอมเสียอะไรไป แน่นอนว่าเขาต้องยอมให้อัตราผลตอบแทนของตราสารตัวนี้สูงกว่าตราสารอื่น ๆ ที่ไม่ได้พ่วงสิทธิตัวนี้เข้าไปด้วย

risk premium ตัวนี้เรียกว่า call premium ซึ่งคนขายตราสารจะเป็นคนจ่ายแฝงเข้าไปในตราสารแล้ว

มุมมองของคนซื้อตราสาร

ได้เงินต้นคืนก่อนกำหนด

อดได้ดอกเบี้ยต่อในอนาคต แต่ว่าได้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าตราสารอื่น ๆ เนื่องจากได้รับ call premium แฝงเข้ามาด้วย

ถ้าพ่วง put option เข้าไป คนซื้อตราสาร investor จะมีสิทธิขายคืนตราสารให้คนออกตราสารได้ลองไปดูตัวอย่าง และมุมมองของแต่ละองค์ประกอบ

มุมมองของคนซื้อตราสาร

ใน put option จะมีราคาตัวหนึ่งที่เขียนว่าคนซื้อ put option จะสามารถมีสิทธิขายตราสารคืนได้ในราคาเท่าไหร่ เราเรียกราคาตัวนี้ว่า strike price

เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดสูง ราคาตราสาร market price จะต่ำ ซึ่งก็หมายความว่า นักลงทุนสามารถใช้ strike price ซึ่งจะมีราคาสูงกว่าราคาตราสารในตลาดขณะนั้น เพื่อขายตราสารคืนให้แก่ผู้ออกได้ คนคนนี้ต้องการมีสิทธิในการควบคุม cash flow pattern หรือ timing of cash flow และก็เช่นเดียวกัน คนซื้อตราสารจะต้องยอมซื้อตราสารที่พ่วงสิทธิตัวนี้ ในราคาที่แพงกว่า

risk premium ตัวนี้เรียกว่า put premium ซึ่งคนซื้อตราสารจะเป็นคนจ่ายแฝงเข้าไปในตราสารแล้ว

มุมมองของคนขายตราสาร

ต้องหาเงินไปคืนคนซื้อตราสารก่อนกำหนด

สามารถขายตราสารในราคาที่สูงกว่าตราสารอื่น ๆ เนื่องจากได้รับ put premium แฝงเข้าไปด้วย