ราชกิจจาออกประกาศแบงก์เฉพาะกิจต้องอยู่ในกำกับดูแลของธปท.มีผลบังคับใช้ใน90วัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 21 พ.ย. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้ออกประกาศเรื่อง “พระราชบัญญัติ
ธุรกิจสถาบันการเงิน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑” ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลปัจจุบัน โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ โดยมีใจความว่า

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้
เพื่อให้การกำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอันจะเป็นประโยชน์ต่อความมั่นคง
ทางการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้

ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคาแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทาหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๒๐/๑ มาตรา ๑๒๐/๒ และมาตรา ๑๒๐/๓ ของหมวด ๗ การกำกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑

“มาตรา ๑๒๐/๑ นอกจากหลักเกณฑ์ตามที่กาหนดในมาตรา ๑๒๐ วรรคสอง และในกฎหมายจัดตั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอานาจตามพระราชบัญญัตินี้ประกาศกาหนดหลักเกณฑ์โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นถือปฏิบัติหรือปฏิบัติเพิ่มเติมจากที่กฎหมายจัดตั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจกาหนดในเรื่องดังต่อไปนี้ด้วย

(๑) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการ ผู้จัดการ และผู้มีอำนาจในการจัดการ
อำนาจหน้าที่ของกรรมการ และการขอความเห็นชอบการดารงตำแหน่งของกรรมการที่มิใช่กรรมการ
โดยตำแหน่งและผู้มีอำนาจในการจัดการ
(๒) การดำรงเงินกองทุนและสินทรัพย์
(๓) การลงทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(๔) การกำกับดูแลความเสี่ยงและการคุ้มครองผู้บริโภค
(๕) ข้อห้ามในการให้สินเชื่อ
(๖) การจัดชั้นสินทรัพย์และการกันเงินสำรอง
(๗) การบริหารสินทรัพย์และการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
(๘) การจัดทำบัญชีและการรายงาน

มาตรา ๑๒๐/๒ ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจใดมีฐานะหรือการดำเนินงานอยู่ในลักษณะ
อันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของรัฐ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบ
ของรัฐมนตรีเสนอผู้มีอำนาจตามกฎหมายจัดตั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจพิจารณาดำเนินการในเรื่อง
ดังต่อไปนี้
(๑) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแก้ไขฐานะหรือการดำเนินงาน หรือระงับการดำเนินการทั้งหมด
หรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวภายในเวลาที่กำหนด
(๒) สั่งให้ผู้จัดการหรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจหยุดการปฏิบัติหน้าที่
ภายในเวลาที่กำหนด
(๓) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจลดทุนหรือเพิ่มทุน

มาตรา ๑๒๐/๓ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะแต่งตั้งพนักงาน
ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ตรวจการสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
เป็นการทั่วไปหรือเป็นการเฉพาะก็ได้
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๘๕ ยกเว้น (๓) (๔) และ (๖) มาตรา ๘๖ มาตรา ๘๗ มาตรา ๘๘ มาตรา ๑๓๔ มาตรา ๑๓๕ มาตรา ๑๓๖ และมาตรา ๑๓๘ มาใช้บังคับกับการตรวจสอบกิจการ สินทรัพย์ และหนี้สินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ บริษัทลูก และบริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ”

มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๒๕ แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๒๕ สถาบันการเงินใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๐ มาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๒ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๗ หรือมาตรา ๘๔ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ข้อกาหนด หรือหลักเกณฑ์ที่กาหนดตามมาตรา ๓๘ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๐ วรรคสาม มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ หรือมาตรา ๘๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่หรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง”

มาตรา ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๓๑/๑ แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินพ.ศ. ๒๕๕๑
“มาตรา ๑๓๑/๑ กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอานาจในการจัดการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติหรือไม่ควบคุมดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
ตามมาตรา ๑๒๐ หรือมาตรา ๑๒๐/๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท”

มาตรา ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๕๕/๑ แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินพ.ศ. ๒๕๕๑
“มาตรา ๑๕๕/๑ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๕๔ และมาตรา ๑๕๕ มาใช้บังคับกับการล่วงรู้และเปิดเผยข้อมูลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ”

มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๑ ๕๖ แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๑๕๖ ความผิดตามมาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๔ มาตรา ๑๒๕ มาตรา ๑๒๘
มาตรา ๑๓๑/๑ มาตรา ๑๓๒ วรรคสอง และมาตรา ๑๓๙ ให้คณะกรรมการที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอานาจเปรียบเทียบได้”
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ เพื่อกาหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจประกาศ
กำหนดหลักเกณฑ์ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติหรือปฏิบัติเพิ่มเติมและแต่งตั้งผู้ตรวจการ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และแก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษกรณีที่มี
การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กาหนด เพื่อให้การกำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพ ทาให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความมั่นคงทางการเงินและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ อันจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ จึงจาเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

 

 

 

ที่มา มติชนออนไลน์