ราชกิจจาฯออกประกาศแบงก์ชาติ ให้ธนาคารตั้งเงินสำรองขั้นต่ำ 1% ตามมาตรฐานบัญชีใหม่ รับความผันผวนเงินกองทุน

ค่าเงินบาท
แฟ้มภาพ
ราชกิจจาฯ ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้สถาบันการเงินตั้งเงินสำรองขั้นต่ำ 1% ของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลที่ไม่ด้อยคุณภาพ ช่วยลดความผันผวนระดับเงินกองทุนอย่างฉับพลัน ตาม ธปท.ออกปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสำรอง ตามมาตรฐานบัญชีใหม่ TFRS9 มีผล 1ม.ค. 2563 พร้อมกำหนดสำรองขั้นต่ำปี’63 อยู่ที่ 0.33% ส่วนปี’64 อยู่ 0.67% และปี’65 อยู่ที่ 1%

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่าเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562 ราชกิจจานุเบกษาได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การด่ารงเงินส่ารองขั้นต่่าของสถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดช้ันและการกันเงินสำรองของสถาบันการเงินให้รองรับการบังคับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือ ทางการเงิน (TFRS 9) ที่สภาวิชาชีพบัญชีให้บังคับใช้กับการจัดทำงบการเงินที่เริ่มต้นหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป นั้น

TFRS9 เป็นมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่มีลักษณะเป็น Principle-based ที่การปฏิบัติจึงอาจต้องอาศัยการตีความและการใช้ดุลยพินิจของสถาบันการเงิน เพื่อประเมินการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงด้านเครดิต โดยคาดการณ์จากการข้อมูล หรือแนวโน้มจากผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งทำให้มีความหลากหลายของวิธีการ แบบจำลอง และความแตกต่างของคุณภาพและความเพียงพอ ของข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณ

อีกทั้งมาตรฐานนี้ ยังขึ้นอยู่กับความผันผวนเศรษฐกิจ เช่นหากเศรษฐกิจ ตกต่ำ การกันเงินสำรองมีแนวโน้มจะสูงขึ้น หากมีความผันผวนอย่างฉับพลัน (Cliff effect) เมื่อมีสถานการณ์เกินความคาดหมาย อาจทำให้มีการกันเงินสำรองมากขึ้น เนื่องจากสถานะของลูกหนี้มีความเสี่ยงมากขึ้น จึงต้องเปลี่ยนแปลงการตั้งสำรอง จากผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้า (12-month ECL) เป็นผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุ (Lifetime ECL)

ดังนั้น ธปท.จึงพิจารณา และกำหนดการสำรองขั้นต่ำเพิ่มเติม เพื่อรองรับการกันเงินสำรองตาม TFRS 9 โดยมุ่งเน้นเรื่องความระมัดระวัง (Prudential) และคำนึงถึงเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินเป็นสำคัญ เพื่อให้สถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการเงิน มีเงินสำรองที่เพียงพอรองรับสถานการณ์ที่เกินความคาดหมาย ซึ่งจะช่วยลดความผันผวนของระดับ เงินกองทุนตามสภาวะเศรษฐกิจ (Cyclicality) ทำให้การสำรองของสถาบันการเงินไม่ต่ำเกินไปเมื่อเศรษฐกิจเริ่มกลับเป็นขาลง ทำให้ภาระที่ต้องกันสำรองเพิ่มในทันทีจะน้อยลง เพราะสถาบันการเงินได้สำรองล่วงหน้าไว้ที่ระดับขั้นต่ำแล้ว

ทั้งนี้ โดยหลักการ ธปท.กำหนดหลักเกณฑ์กำกับดูแลเพิ่มเติม เพื่อรองรับการนำมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน (TFRS 9) มาใช้ในการจัดชั้น และกันเงินส่ารอง (Expected Credit Loss : ECL) โดยให้สถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีเงินสำรองที่กันไว้ทั้งหมดที่อัตราขั้นต่ำ 1% ของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลที่ไม่ด้อยคุณภาพ หากเงินสำรองที่กั้นไว้ทั้งหมดต่ำกว่าเงินสำรองขั้นต่ำให้สถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการเงินดำรงกองทุนรองรับส่วนต่างดังกล่าว

โดยการสำรองขั้นต่ำ 1% ของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลที่ไม่ด้อยคุณภาพ สำหรับถือการปฏิบัติในช่วงแรกให้สถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการเงินใช้อัตราสำรองขั้นต่ำไม่ต่ำกว่าอัตรา ดังนี้ ทุกงวดบัญชีการบัญชี ปี 2563ให้สำรองขั้นต่ำที่ 0.33% และทุกงวดบัญชีการบัญชี ปี 2564 สำรองขั้นต่ำ 0.67% และทุกงวดบัญชีการบัญชี ปี 2565 เป็นต้นไป สำรองขั้นต่ำ 1%

คลิกอ่านรายละเอียดประกาศฉบับเต็มที่นี่!!