OR กำไรปี’63 หดตัว 19% สูญเงิน 2 พันล้าน

หุ้นOR ปตท.ค้าปลีก

“OR” กำไรสุทธิปี’63 เหลือ 8,791 ล้านบาท ลดลง 2,105 ล้านบาท หดตัว 19.3% เฉพาะงวดไตรมาส 4/63 มีกำไร 2,923 ล้านบาท หดตัว 15.3% จากไตรมาสก่อนหน้า เหตุค่าเสื่อมราคา-ค่าตัดจำหน่ายสูงขึ้นจากการขยายสถานีบริการ-ร้านคาเฟ่อเมซอน และผลขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ตามมาตรฐานบัญชีใหม่

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ รักษาการแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) ว่า ในปี 2563 บริษัทมีกำไรสุทธิ 8,791 ล้านบาท ลดลง 2,105 ล้านบาท หรือติดลบ 19.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เฉพาะงวดไตรมาส 4/63 มีกำไรสุทธิ 2,923 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50.1% จากช่วงเดียวกันปีก่อน แต่หดตัว 15.3% จากไตรมาสก่อนหน้า โดยรายได้ขายและบริการ 428,804 ล้านบาท ลดลง 25.7% จากปีก่อน (หรือลดลง 148,330 ล้านบาท)

หลักๆ มาจากค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายที่สูงขึ้นจากการขยายสถานีบริการและร้านคาเฟ่อเมซอน รวมถึงการจัดประเภทค่าใช้จ่ายตามมาตรฐานบัญชีใหม่ นอกจากนี้มีผลขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ทางการเงินเพิ่มขึ้น จกการเริ่มใช้มาตรฐานการายงานทางการงิน(TFRS9) ตั้งแต่เดือน ม.ค.63 โดยรวมแล้วส่งผลให้กำไรสุทธิต่อหุ้นอยู่ที่ 0.98 บาท ปรับลดลง 19%

โดยรายได้กลุ่มธุรกิจน้ำมัน

1.ราคาขายเฉลี่ยผลิตภัณฑ์น้ำมันปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งเป็นผลจากสงครามราคาระหว่างกลุ่มประทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (OPEC) และประเทศรัสเซีย ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของอุปทานน้ำมันทั่วโลก รวมทั้งอุปสงค์ของน้ำมันทั่วโลกก็ลดลงจากการระบาดโควิด-19
2.ปริมาณขายในกลุ่มผลิตภัณฑ์หลักปรับลดลง ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำมันอากาศยานดีเซลและเบนซิน จากผลกระทบของการระบาดโควิด-19 สำหรับในประเทศไทยเพื่อระงับและป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 รัฐบาลไทยจึงได้ออกมาตรการจำกัดการเดินทางและเวลาในการปิด-ปิดร้านค้า ส่งผลกระทบต่อปริมาณการขายในช่วงเดือน เม.ย.63

อย่างไรก็ตามปริมาณการขายก็เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นตามลำดับเมื่อรัฐบาลไทยเริ่มผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ในเดือน พ.ค.63 โดยไตรมาส 4/63 ปริมาณการขายปรับตัวเพิ่มเกือบเทียบเท่าสถานการณ์ปกติก่อนภาวะโควิด-19 ยกเว้นผลิตภัณฑ์น้ำมันอากาศยานที่ยังได้รับผลกระทบจากข้อจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ และปริมาณเที่ยวบินทั่วโลกที่ลดลง และ LPG ภาคครัวเรือนจากสภาพเศรษฐกิจไทยที่ยังชะลอตัว

ส่วนรายได้กลุ่มธุรกิจ Non-Oil ลดลง โดยหลักจากรายได้ของร้านค้าสะดวกซื้อ สำหรับรายได้กลุ่มธุรกิจต่างประเทศลดลงเช่นกัน สาหตุจากผลกระทบของการระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลต่อราคาขายผลิตภัณฑ์และปริมาณขายที่ลดลง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์น้ำมันอากาศยาน

สำหรับ EBITDA ในปี 2563 อยู่ที่ 17,619 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.6% จากปีก่อน บางส่วนเป็นผลจากการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการงิน (TFRS16) เรื่องสัญญาเช่า ทำให้ต้องจัดประเภทค่าเช่าที่เข้าเงื่อนไตามมาตรฐนบัญชี จากเดิมจัดอยู่ในประเภทค่าใช้จ่ายดำเนินงานไปเป็นค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ส่งผลให้ EBITDA เพิ่มขึ้นประมาณ 1,361 ล้านบาท แม้ว่ากำไรขั้นต้นปรับลดลง 948 ล้านบาท (-2.8%) โดยหลักจากธุรกิจน้ำมันในผลิตภัณฑ์น้ำมันอกาศยานที่ปริมาณขายลดลง

ขณะที่กำไรขั้นต้นเฉลี่ยของน้ำมันอากาศยานปรับเพิ่มขึ้น ในด้านค่าใช้จ่ายดำเนินงานสุทธิและรายได้อื่นปรับลดลง 1,587 ล้านบาท (-9,2%) โดยหลักจากค่าใช้จ่ายที่ลดลงผันแปรตามปริมาณขายที่ลดลง เช่น ค่าจ้างเติมน้ำมันอากาศยาน ค่าขนส่ง ค่าโฆษณาส่งเสริมการขาย เป็นต้น ส่งผลให้ปี 2563 มี EBITDA margin รวมที่ 4.1%