
เช็กชื่อ 56 โรคติดต่อเฝ้าระวัง มีอะไรบ้าง ก่อนเพิ่มโควิด-19 เข้าไปในลิสต์วันพรุ่งนี้
วันที่ 30 กันยายน 2565 กรณีกระทรวงสาธารณสุข ประกาศให้ยกเลิกโรคโควิด-19 (COVID-19) จากรายชื่อโรคติดต่ออันตราย และให้โรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวังแทน ตั้งแต่เมื่อวันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา หลังจากประกาศให้โรคดังกล่าว เป็นโรคติดต่ออันตรายมานานกว่า 2 ปี 6 เดือน
- ครม.เคาะแล้ว ซื้อสินค้าลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 5 หมื่นบาท เริ่ม 1 ม.ค. 67
- สินมั่นคงฯ : คปภ.เกาะติดกระบวนการฟื้นฟูกิจการ-ส่งสัญญาณเตือน ปชช.
- MOTOR EXPO 2023 ยอดขายรถ 4 วันแรกทะลุ 8,300 คัน
“ประชาชาติธุรกิจ” รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ “โรคติดต่อเฝ้าระวัง” ซึ่งจะมีการบรรจุชื่อ “โควิด-19” เพิ่มเข้าไปในลิสต์ พรุ่งนี้วันแรก
โรคติดต่อเฝ้าระวัง คืออะไร ?
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 นิยามคำว่า “โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง” หมายถึง โรคติดต่อที่ต้องมีการติดตาม ตรวจสอบ หรือจัดเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
เปิดชื่อ 56 โรคติดต่อเฝ้าระวัง
กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2562 โดยกำหนดให้ 55 โรคต่อไปนี้เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง ดังนี้
- กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง (Lymphogranuloma Venereum หรือ Granuloma Inguinale)
- การติดเชื้อในโรงพยาบาล (Health care-associated infection หรือ hospital-acquired infection)
- ไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal meningitis)
- ไข้ดำแดง (Scarlet fever)
- ไข้เด็งกี่ (Dengue Fever)
- ไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya fever)
- ไข้มาลาเรีย (Malaria)
- ไข้ไม่ทราบสาเหตุ (Pyrexia of Unknown origin หรือ Fever of Unknown Origin)
- ไข้สมองอักเสบชนิดญี่ปุ่น (Japanese Encephalitis)
- ไข้สมองอักเสบไม่ระบุเชื้อสาเหตุ (Unspecified encephalitis)
- ไข้หวัดนก (Avian Influenza)
- ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
- ไข้หัด (Measles)
- ไข้หัดเยอรมัน (Rubella)
- ไข้เอนเทอริค (Enteric fever)
- ไข้เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus)
- คอตีบ (Diphtheria)
- คางทูม (Mumps)
- ซิฟิลิส (Syphilis)
- บาดทะยัก (Tetanus)
- โปลิโอ (Poliomyelitis)
- แผลริมอ่อน (Cancroid)
- พยาธิทริคิเนลลา (Trichinosis)
- เมลิออยโดสิส (Melioidosis)
- พยาธิใบไม้ตับ (Liver fluke)
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ (Eosinophilic meningitis)
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบไม่ระบุเชื้อสาเหตุ (Unspecified meningitis)
- เริมของอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนัก (Anogenital Herpes)
- โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัสชนิด เอ บี ซี ดี และ อี (Viral hepatitis A, B, C, D and E)
- โรคตาแดงจากไวรัส (Viral conjunctivitis)
- โรคติดเชื้อไวรัสซิกา (Zikavirus disease)
- โรคติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสซูอิส (Streptococcus suis)
- โรคเท้าช้าง (Elephantiasis Lymphatic Filariais)
- โรคบรูเซลโลสิส (Brucellosis)
- โรคปอดอักเสบ (Pneumonitis หรือ Pneumonia)
- โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)
- โรคมือเท้าปาก (Hand Foot and Mouth disease)
- โรคเรื้อน (Leprosy)
- โรคลิซมาเนีย (Leishmaniasis)
- โรคเลปโตสไปโรสิส (Leptospirosis)
- โรคสครับไทฟัส (Scrub typhus)
- โรคสุกใส หรืออีสุกอีใส (Varicella, Chickenpox)
- โรคอัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกเฉียบพลัน (Acute Flaccid Paralysis : AFP)
- โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute diarrhea)
- โรคเอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome : AIDS)
- โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax)
- วัณโรค (Tuberculosis)
- ไวรัสตับอักเสบไม่ระบุเชื้อสาเหตุ (Hepatitis)
- หนองใน (Gonorrhea)
- หนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis : NGU)
- หูดอวัยวะเพศและทวารหนัก (Condyloma Acuminata หรือ Venereal Warts)
- อหิวาตกโรค (Cholera)
- อาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (Adverse Event Following Immunization : AEFI)
- อาหารเป็นพิษ (Food poisoning)
- ไอกรน (Pertussis)
จากนั้น ปี 2565 กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศดังกล่าวเพิ่มเติมอีก 2 ฉบับ โดยฉบับที่ 2 ประกาศให้ โรคฝีดาษวานร หรือ โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง มีผลตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป
ฉบับที่ 3 ซึ่งเป็นฉบับล่าสุด ประกาศให้ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป