กรมอุตุฯเตือน “พายุโซนร้อนตาลิม” เข้าไทย เหนือ-อีสาน ฝนตกหนัก

เส้นทางพายุโซนร้อน “ตาลิม” (TALIM )
ภาพ : กรมอุตุนิยมวิทยา
อัพเดตล่าสุด 15 ก.ค. เวลา 09.26 น.

กรมอุตุฯ เผยพายุดีเปรสชันบริเวณเกาะลูซอล ของฟิลิปปินส์ เคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้แล้ว คาดทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน  “ตาลิม” (TALIM ) ชี้เส้นทางแนวพายุเข้าไทย ทำให้ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคกลางของไทย มีฝนตกหนัก เสี่ยงท่วมฉับพลัน ต้องเฝ้าระวังใกล้ชิด

วันที่ 14 กรกฎาคม 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา อัพเดตสภาพอากาศและเส้นทางพายุล่าสุด(15/7/66) โดยระบุว่า พายุดีเปรสชันบริเวณเกาะลูซอล ประเทศฟิลิปปินส์ ได้เคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้แล้ว คาดว่าจะทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อนได้ในวันที่ 15 ก.ค.  (หากเป็นพายุโซนร้อน จะได้ชื่อว่า “ตาลิม (TALIM) หมายถึง คม คมมีด” ตั้งชื่อโดยประเทศฟิลิปปินส์)

เมื่อยังอยู่ในทะเล คาดว่าจะเคลื่อนตัวทางตะวันตกเฉียงเหนือไปทางเกาะไหลหลำ ประเทศจีน และจะขึ้นฝั่งรอยต่อระหว่างประเทศจีนตอนใต้และเวียดนามตอนบน หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณ สปป.ลาว และอาจจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ บริเวณ จ.น่าน และภาคเหนือของไทย

เส้นทางพายุโซนร้อน “ตาลิม” (TALIM )

ซึ่งตามแนวเส้นทางของพายุฯ จะส่งผลให้ ภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน (เลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย) มีฝนตกหนัก ได้ และอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากได้ ต้องเฝ้าระวังและติดตามอย่างใกล้ชิด

นอกจากติดตามพายุแล้วยังต้องตามมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ วันนี้เริ่มมีกำลังแรงขึ้น

ประกอบกับจะมีร่องมรสุม (ร่องความกดอากาศต่ำ)เลื่อนลงมาพาดผ่านประเทศไทยตอนบน จึงทำให้ในสัปดาห์หน้านี้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น ช่วงที่ฝนตกเตรียมป้องกันรับมือทั้งฝนตกหนัก และฝนสะสม อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก แต่จะเป็นช่วงที่ดีที่จะได้สำรองน้ำฝนไว้ใช้

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้

เส้นทางพายุโซนร้อน “ตาลิม” (TALIM )

สำหรับจังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

วันที่ 16 กรกฎาคม 2566
ภาคเหนือ: จังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก และ เพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ศรีสะเกษ และ อุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดกาญจนบุรี และ ราชบุรี
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และ ตราด
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต และ กระบี่

วันที่ 17-18 กรกฎาคม 2566
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก และ กำแพงเพชร
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดบึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรีและ สระบุรี
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา และ ภูเก็ต

วันที่ 19-20 กรกฎาคม 2566
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก และ
เพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และ สระบุรี
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา และ ภูเก็ต

เตือนฝนตกหนักช่วง 16-20 ก.ค. 2566
ภาพ : กรมอุตุนิยมวิทยา

แนวเส้นทางพายุโซนร้อน "ตาลิม (TALIM)